ค่ายไทยเบฟฯ รื้อใหญ่ยกแผง!!! โยกแม่ทัพรวดเดียว 8 ตำแหน่ง
ถือเป็นการปรับโครงสร้างผู้บริหารครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบ 7 ปี ในยุคเจ้าสัวน้อย “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” ขึ้นมากุมบังเหียนในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ตั้งแต่ปี 2547 และมีการทยอยดึงมืออาชีพมือดีเข้ามาเสริมทัพมากมายอย่างต่อเนื่อง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 เมษายน 2554)
'เสี่ยเจริญ'ดันธุรกิจใหม่ ยึดตลาดอาเซียน!
เสี่ยเจริญประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ทุ่มให้ธุรกิจนอนแอลกอฮอล์ยิ่งใหญ่เทียบธุรกิจน้ำเมาที่เติบโตแบบยั่งยืน พร้อมปั้น“ไทยเบฟ ลอจิสติกส์” เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบที่ดีและมีคุณภาพแทนการซื้อหุ้น'เป๊ปซี่' ผลักดันบริษัทใหม่ที่ 'เจริญ'เทคโอเวอร์ในยูนนานรุกคืบขยายแบรนด์ 'ช้าง'ยึดตลาดอาเซียน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2553)
ช้างระเบิดศึกน้ำดื่ม สงคราม Brand & Place แรงกว่าเดิม
การประกาศลงสนามน้ำดื่มมูลค่า 18,000 ล้านบาท อย่างเต็มตัวของแบรนด์ช้าง ที่ส่งประกวดโดยค่ายไทยเบฟฯ แน่นอนว่าทำให้อุณหภูมิการแข่งขันของตลาดน้ำดื่มร้อนปุดๆ ขึ้นมาทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกมการโต้ตอบเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของบรรดาบิ๊ก 4 ในวงการอย่างสิงห์ คริสตัล เนสท์เล่ เพียวไลฟ์ น้ำทิพย์ เพราะงานนี้ผู้เล่นหน้าใหม่ตั้งเป้าขอเป็นเบอร์หนึ่งในเวลา 3-5 ปี จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งแล้วประมาณ 4-5% ยังคงห่างจากสิงห์ที่เป็นเจ้าตลาดด้วยส่วนแบ่งมากกว่า 20% อยู่พอสมควร ขณะที่แบรนด์อันดับ 2 และ 3 อย่างคริสตัล กับเนสท์เล่ มีส่วนแบ่งไล่เลี่ยกันประมาณ 10%
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 เมษายน 2553)
ไทยเบฟ งัดไลฟ์สไตล์มาร์เกตติ้งรีแบรนด์ 'เบียร์ช้าง' 2 ปีทวงบัลลังก์คืน
เบียร์ช้าง ทวงบัลลังก์ตลาดเบียร์จากค่ายเบียร์สิงห์ เริ่มนับถอยหลังเพื่อกลับมาอีกครั้ง จากนี้ไป 2 ปี กวาดแชร์ 42% สอยคู่แข่งร่วงจากการวางหมากทำตลาดด้วยไลฟ์สไตล์มาร์เกตติ้ง ควบกลยุทธ์ 1 แบรนด์ เจาะแยกสินค้า 3 ตลาดตามกลุ่มผู้บริโภค ที่เข้าถึงสถานการณ์ตลาดเบียร์เปลี่ยนไป ตามพฤติกรรมเปลี่ยนตามโลกยุคใหม่
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ตุลาคม 2552)
ไทยเบฟ ลดจุดอ่อนปั้นเรือธง "ช้างดราฟท์"รับฟองเบียร์แสนล้านเปลี่ยนขั้วเน้น "นุ่ม" แทน "แรง"
"ไทยเบฟเวอเรจ" ล้มแชมป์ "สิงห์ คอร์เปอเรชั่น" ได้เพราะเปิดเกมลงมาเล่นในตลาดเบียร์ที่มี "รสเข้ม" และ "ดีกรีสูง"เข้ามาทำตลาดที่มีแบรนด์สิงห์ครองตลาดกว่า 90% โดยการเปิดตัว "เบียร์ช้าง"ลงตลาดครั้งแรกนั้น หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับคู่แข่งโดยตรง โดยเลือกวางตำแหน่งแบรนด์ที่ไม่ชนกับเจ้าตลาดอย่าง "เบียร์สิงห์" ที่สำคัญยังเข้าไปในช่องว่างตลาดที่ยังไม่มีแบรนด์ใดหยิบเรื่องราคามาเป็นหัวรบในการบุกตลาด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กุมภาพันธ์ 2552)
“แม่โขง" แบรนด์ไทยในเวทีโลก
*“เจริญ”พลิกตำราเหล้าไทยฉบับ “แม่โขง”
*หลังปรับยุทธวิธีการตลาดใหม่ทั้งหมด
*ชูจุดขายจากเหล้ารัมไทย เป็น ค็อกเทล
*สานฝันสู่อินเตอร์ตามรอยเบียร์ช้าง
*รอจังหวะย้อนรอยเข้ามาชิงเค้กกับเหล้าบิ๊กแบรนด์ในไทย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2551)
ศึกมิวสิก และสปอร์ตมาร์เกตติ้ง เกมรบใหม่ เบียร์ช้าง vs เบียร์สิงห์
เกมรบในสมรภูมิฟองเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท ในปัจจุบันที่มีการต่อกรกันระหว่าง สิงห์ คอร์เปอร์เรชั่น ของตระกูลภิรมย์ภักดี กับไทยเบฟเวอเรจ ตระกูลสิริวัฒนภักดี นับว่าการตลาดภายใต้กลยุทธ์มิวสิค มาร์เก็ติ้ง และสปอตมาร์เกตติ้ง เป็นกลไกสำคัญของการตลาดการสร้างแบรนด์ยุคใหม่ และเป้าหมายต่อไป ในการโกอินเตอร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มิถุนายน 2551)
"เจริญ" ผ่าทางตัน ปรับยุทธศาสตร์รับสารพัดมรสุม
“ราชันย์น้ำเมา” โดนสารพัดมรสุมกระหน่ำ จนต้องปรับกระบวนรบครั้งใหญ่ ปรับกรอบแนวคิดด้วยการดึงผู้บริหารภายนอกจากทุกวงการ ขยายรูปแบบธุรกิจ ปรับกรอบความคิด ให้ทันการรูปแบบการแข่งขันใหม่ ล่าสุด เทกฯโออิชิ จับ “ตัน” ลุยธุรกิจเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ควบคู่กับการปรับแนวรบธุรกิจอสังหาฯ จับตาการจัดทัพใหม่ครั้งนี้ จะพาอาณาจักร “เจริญ” เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
ทำไมช้างไลท์ จะไม่ประสบความสำเร็จ
ขึ้นปีใหม่ได้เพียง 3 วัน ในวันอังคารที่ 3 มกราคม 2549 วันที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เริ่มจะทำงานกันดีนัก ... เจริญ สิริวัฒนภักดี ก็ได้รับนัดเจรจากับประธานตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยเขาบินมาเพื่อชวนเสี่ยเจริญเข้าตลาดที่สิงคโปร์โน่น ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ได้คุยกันแล้ว แถมได้เปิดให้นักข่าวเข้าร่วมฟังการเจรจา ถ่ายภาพ และให้สัมภาษณ์หลังการเจรจาสิ้นสุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มกราคม 2549)