ได้เวลา ค่ายเหล้านอก เปิดเกมยึดตลาดไวท์ สปิริต
จากเดิมตลาดวิสกี้ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดต่อเนื่องมาหลายปี แต่วันนี้ สังเวียนการแข่งขันของค่ายเหล้านอกได้เปลี่ยนไป โดยผู้เล่นในตลาดหันไปให้ความสำคัญกับการทำตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นมากขึ้น ปรากฎการ์ณที่เกิดขึ้น เมื่อเร็วๆนี้ค่ายยักษ์ใหญ่ของวงการนำเข้าเหล้านอก ก็เริ่มจัดทัพสินค้าสู้ศึกครั้งใหม่ในตลาดไวท์ สปิริต หรือวิสกี้สีขาว รองรับกระแสวัฒนธรรมการดื่มค็อกเทลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วโลก ซึ่งทำให้วอดก้าทั่วโลกเติบโตเฉลี่ยต่อปี 5%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
ค่ายเหล้านอกพาเหรดต้อนรับ"ไวท์สปิริต"พุ่ง
ค่ายนำเข้าเหล้านอก รับเทรนด์การดื่มคอกเทลในตลาดโลกบูม แห่เสริมกำลังเซ็กเมนต์ไวท์ สปิริต (White Spirit) ที่กำลังมาแรง เดินหน้าขยายช่องทางการขาย มุ่งลูกค้าผู้หญิงเป็นกลุ่มหลัก พร้อมชูกลยุทธ์การตลาดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมนักดื่มผ่านสื่อบาร์เทนเดอร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 พฤษภาคม 2549)
ริชมอนเด้ เตรียมบุกหนักวิสกี้เซกเมนต์แสตนดาร์ด
แม้ว่าตลาดวิสกี้เซกเมนต์สแตนดาร์ดปีนี้ จะมีอัตราการเติบโตเพียง 2% แต่ริชมอนเด้ (บางกอก) ค่ายนำเข้าเหล้านอกก็เตรียมจะโหมตลาดเซกเมนต์สแตนดาร์ดอย่างต่อเนื่อง โดยมีเบนมอร์เป็นหัวหอก ซึ่งหลังจากแนะนำสู่ตลาดเพียง 1 ปี และมีทะลุเกินเป้ายอดขาย 2 แสนลัง ส่งผลทำให้ปีนี้ ค่ายริชมอนเด้ วางแผนเตรียมรีโพซิชั่นนิ่งแบรนด์สเปรย์ รอยัล เร็วๆนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 เมษายน 2549)
เบนมอร์ ลุ้นตลาดภาคเหนือ ชูกลยุทธ์“Push and Pull”ย้อนรอยสูตรสำเร็จฮันเดรด ไพเพอร์ส
ก้าวรุกที่ริชมอนเด้ให้ความสำคัญกับการทำตลาดเบนมอร์ในภาคเหนือตอนบนและตอนล่างรวม 16 จังหวัด นอกจากจะเป็นไปตามลายแทงของข้อมูลเอซีล นีลเส็นที่รายงานว่าวิสกี้ เซกเมนท์สแตนดาร์ดมียอดขายเป็นอันดับสองของประเทศ เพราะมีสัดส่วนการบริโภคประมาณ 25% หรือคิดเป็นตัวเลขรวมประมาณ 6.8 แสนลังของตลาดรวมมูลค่า 2.7 ล้านลังแล้ว ถือว่ายังเป็นการเคลื่อนไหวที่เข้าไปสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับผู้มาก่อนอย่างของฮันเดรด ไพเพอร์ส ซึ่งเข้ามาปักธงและเป็นครองความเบอร์หนึ่งในเซกเมนท์นี้มากกว่า 5 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
สงครามเหล้านอกเปิดศึกบริหารสินค้าชิงแชร์ครบเซกเมนท์
ปรากฏการณ์ที่ตามมาจากการปรับโครงสร้างภาษีสุราของภาครัฐ ก็คือสงครามการแข่งขันพอร์ตเหล้าที่หลากหลายครอบคลุมในทุกๆเซกเมนท์ ด้วยหวังช่วงชิงมาร์เก็ตแชร์จากคู่แข่งมาเป็นแรงขับเคลื่อนการทำตลาดในอนาคต ผลที่ตามมาอีกอย่างคือ พลิกสถานการณ์ให้สก๊อตวิสกี้ กลุ่มสแตนดาร์ด กลายเป็นดาวรุ่งใหม่ของวงการเข้ามาแทนที่ตลาดอีโคโนมี่หรือเหล้าแอดมิด ที่เคยเป็นสมรภูมิที่ร้อนแรงและอยู่ได้ด้วยราคา แต่เพราะได้รับผลกระทบจากภาษีต้องปรับราคาขึ้นไป 20 -30 บาท ทำให้ตลาดนี้ก็มีอันต้องระส่ำระสาย ยอดขายดิ่งลงๆทุกวัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 ธันวาคม 2548)
ริชมอนเด้ บุกหนัก ตลาดเซกันดารรี่-อีโคโนมี่ ตั้งเป้า 3 ปี กินรวบทุกเซกเมนท์
การแข่งขันในตลาดวิสกี้นำเข้า ที่มีผู้เล่นรายใหญ่ 2 ค่ายคือ ริชมอนเด้ และพอร์ตนอต ริคาร์ด ซึ่งมีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอ ที่มีตัวเล่นค่อนข้างน้อยกว่าค่ายแรกคือ มีเพียงแบรนด์ ชีวาส รีกัล ทำตลาดเหล้าวิสกี้ เซกเมนต์ดีลักส์ ส่วนในเซกเมนท์เซกันดารี่และอีโคโนมี่ มีฮันเดรด ไพเพอร์สและมาสเตอร์เบลนเป็นตัวเล่น ซึ่งก็ทำให้การครองตลาดส่วนใหญ่จึงตกอยู่ที่ค่ายริชมอนเด้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
ขาใหญ่ สก๊อตวิสกี้ เปิดศึกระดับกลาง-บน ชิงนักดื่ม ปาร์ตี้ ฮ็อต!
เพอร์นอตริคาร์ด VS ริชมอนเด้ ปะทะศึก... ชิงนักดื่มกลุ่มกำลังซื้อสูง ในตลาดเหล้าหมักบ่ม 5 ปีขึ้นไป ทุ่มงบ โหมจัดปาร์ตี้บวกมิวสิค มาร์เก็ตติ้ง หวังให้เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์และการตลาดสร้างประสบการณ์ สร้างขุมพลังใหม่บอกต่อ เพื่อฝ่าด่านแกร่งของคู่แข่ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)