การบินไทย โง่ หรือแกล้งโง่...เพื่อใคร !?!
เจ๊งแน่ๆ ในอีกไม่เกิน 5 ปี ถ้าการบินไทยยังตกอยู่ในสภาพเช่นนี้
อะไร และใคร ทำให้องค์กรที่มีอายุเกือบครี่งศตวรรษต้องตกอยู่ในสภาพดังคนรอวันตาย พนักงาน ผู้บริหาร นักการเมือง หรือคู่แข่งขัน
จับตา “อภินันทน์” ลูกหม้อเจ้าจำปีที่เข้ามาเป็น ดีดี ใหม่หมาดๆ จะเข้ามาแก้ปัญหา และต้านพลังการเมืองได้สักแค่ไหน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 เมษายน 2549)
ปฏิบัติการยึดน่านฟ้า “โลว์คอส”ปี'49...ใครคือจุดอ่อน?
ใครจะรู้ว่าเพียงระยะเวลาแค่ปีกว่าๆ สายการบินโลว์คอสจะมีอิทธิพลมากเสียจนกระทั่งสามารถขึ้นมาผงาดต่อกรกับสายการบินยักษ์ใหญ่อย่างการบินไทยได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่สายการบินราคาถูกยังคงมัวแต่มุ่งห้ำหั่นกันเฉพาะเรื่องของราคาถูกเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะมาถึงจุดอิ่มตัวแล้วก็เป็นได้ การเปิดเส้นทางบินใหม่ ให้ครอบคลุมทุกจุดหมายปลายทางคือหนทางหนึ่งที่จะทำกำไรให้กับสายการบินได้ในอนาคต เพื่อสร้างความจงรักภักดีลูกค้าให้เกิดขึ้นกับธุรกิจการบินของตัวเอง ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่เหล่าบรรดาโลว์คอสต์หันมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มกราคม 2549)
ถอด 2 โมเดล CEO Branding 'โชค บูลกุล' VS 'พาที สารสิน'
- จับเข่าคุย 2 ซีอีโอ "โชค บูลกุล" กับ "พาที สารสิน" เผยเบื้องหลังความโด่งดัง ที่ต้องทำเพื่อประหยัดงบโฆษณา
- 2 ความต่างบนความเหมือน ที่ผูกติดตัวตนไปกับการนำพาองค์กรทะยานไปข้างหน้า
- วิธีคิดแบบเด็ก ทำแบบผู้ใหญ่ "ฉบับโชค" ผลิตสินค้าที่แตกต่าง ก่อนพัฒนาระบบมารองรับ
- ขณะที่ บุคลิกสบายๆ "สไตล์พาที" สะท้อน Entertainment Airline กับลูกค้า และสร้างทีมเวิร์คให้กับนกแอร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 พฤศจิกายน 2548)
แอร์โลว์คอสมีเดีย สื่อใหม่มาแรง
โอมาย – แม็กซ์เมคเกอร์ ตั้งหน้าลุยบริหารสื่อบนเครื่องโลว์คอส นกแอร์ – ไทยแอร์เอเชีย เตรียมผุดพื้นที่ใหม่ติดสร้างรายได้รับการเติบโตสื่อใหม่ฐานลูกค้ายังน้อยโอกาสเติบโตอีกมาก เล็งอนาคตโกอินเตอร์หวังเข้าไปบริหารสื่อโฆษณาโลว์คอสในภูมิภาค
ด้วยความเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์สายการบินต้นทุนต่ำจึงทำให้ต้องตัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่วนที่ฟุ่มเฟือยออกไปแล้วยังจะต้องหารายได้จากช่องทางอื่นเข้ามาเสริมอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น การขายอาหารและเครื่องดื่มบนไฟรท์รวมถึงการขายพื้นที่สื่อโฆษณา แตกต่างจากสายการบินค่ายใหญ่ซึ่งเราจะไม่เห็นรูปแบบดังกล่าวนี้เนื่องจากได้มีการรวมต้นทุนทุกอย่างเข้าไปอยู่ในราคาตั๋วค่าโดยสารหมดแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)
ถึงเวลา “โลว์คอสแอร์ไลน์”ไล่บี้...ใครดีใครอยู่!
-เศรษฐกิจผกผัน ราคาน้ำมันเพิ่ม คนเดินทางน้อยลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินแน่
-จับตาธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอ
-หันจับทางกลยุทธ์ตลาดเป็นที่พึ่งหนีตาย การปรับตัวของแต่ละค่ายต่างงัดทีเด็ดเข้าฟาดฟันกัน
-ประดุจหนึ่งต้องการให้หลุดจากวงจรธุรกิจการบิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
ศึกโปรโมชั่นสายการบินไปภูเก็ต...ใครดีใครอยู่
ปัจจุบัน ภูเก็ต ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 40 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อนักท่องเที่ยวลดลงกว่า 4 แสนคน ทำให้สายการบินจากต่างประเทศต้องหยุดทำการบินไปแล้วถึง 4 สายการบิน ขณะเกิดวิกฤติแต่“นกแอร์”สายการบินภายในประเทศกลับสร้างโอกาสก่อนใครเพื่อนหลังบินเดี่ยวโฉบลูกค้าด้วยโปรโมชั่นใช้รางวัลล่อใจ ปฏิเสธร่วมแคมเปญยักษ์“ลดทั้งเกาะ เที่ยวทั้งเมือง”เล่นเอาสายการบินทั้ง 4 ต้องงัดยุทธวิธีแบบฉบับของตัวเองออกมาใช้หวังกระตุ้นยอดขาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กรกฎาคม 2548)
ได้เวลา "ไทเกอร์ แอร์"ตะปบโลว์คอสแอร์ไลน์
แค่เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้นในการเปิดเส้นทางบินแถบภาคใต้ประเทศไทยของ สายการบิน "ไทเกอร์ แอร์"ก็ผงาดขึ้นมาประกาศกลยุทธ์บินตรงจากประเทศสิงคโปร์มุ่งสู่ดินแดนล้านนาอย่างเชียงใหม่ในราคาที่แสนจะถูกแบบสุดๆ หวังชิมรางเป็นเส้นทางแรกในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะเดียวกันเตรียมขยายเปิดเส้นทางบินไปยังประเทศในแถบบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 กุมภาพันธ์ 2548)
ฝ่าทางตันธุรกิจการบิน "ลดราคาตั๋ว"เพื่อความอยู่รอด
มาตราการความช่วยเหลือด้านต่างๆของภาครัฐที่ออกมาหลังจากเวลาผ่านไปเดือนกว่า ทั้งเรื่องการปล่อยสินเชื่อ การช่วยเหลือผู้ประกอบการให้อยู่รอด และแผนในการกระตุ้นตลาดปัจจุบันยังไม่เห็นอะไรที่เป็นรูปธรรมชัดเจนแต่อย่างใด หรือการแก้ปัญหาบางส่วนที่ยังไม่ตรงจุด ทำให้ผู้ประกอบการทุกส่วนในฝั่งอันดามันก็ต้องประสบปัญหาชะงักงัน ทัวร์ริสต์ทั้งตลาดมีเหลืออยู่เพียง 10% เท่านั้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กุมภาพันธ์ 2548)