ยุคบริการบนเครื่องบินเดือด!แอร์ไลน์เร่งปรับทัพยกระดับเพิ่มแวลู
การโดยสารเครื่องบินเป็นเวลานานๆนับชั่วโมง ปัจจุบันค่อนข้างสะดวกสบายตลอดการเดินทาง เพราะรายล้อมไปด้วยความบันเทิงไม่ว่าจะดูหนังหรือฟังเพลง ขณะที่การให้บริการบนเครื่องบินไม่ว่าการเสริฟอาหารและเครื่องดื่มของพนักงานต้อนรับบนเครื่องมักจะเป็นภาพที่มีให้เห็นจนชินตา แต่การให้บริการบนเครื่องบินดังกล่าวกำลังถูกผู้ประกอบการธุรกิจแอร์ไลน์พลิกผันเนรมิตนวัตกรรมบริการพิเศษด้วยรูปแบบใหม่หวังมัดใจแฟนพันธุ์แท้ให้กลับมาใช้บริการอีกครั้ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
“ไทยแอร์เอเชีย”ปรับทัพรับศึกปีจอ ขอเป็นผู้นำเพิ่มเครื่อง...เส้นทาง...บริการบันเทิงเพียบ!
ในยุคที่ใครๆก็บินได้ทำให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์แอร์ไลน์)สร้างความโดดเด่นและมีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่องในช่วงปี 2548 ที่ผ่านมา จนก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆของวงการบินในเมืองไทย แน่นอนกรณีศึกษาของ “ไทยแอร์เอเชีย”ที่สร้างเสน่ห์เย้ายวนใจมากกว่าสายการบินอื่นด้วยราคาตั๋วที่แข่งกันลดและโหมโปรโมชั่นตลอดทั้งปีที่ผ่านมาสร้างความฮือฮาและประสบความสำเร็จไม่น้อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มกราคม 2549)
ปฏิบัติการยึดน่านฟ้า “โลว์คอส”ปี'49...ใครคือจุดอ่อน?
ใครจะรู้ว่าเพียงระยะเวลาแค่ปีกว่าๆ สายการบินโลว์คอสจะมีอิทธิพลมากเสียจนกระทั่งสามารถขึ้นมาผงาดต่อกรกับสายการบินยักษ์ใหญ่อย่างการบินไทยได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่สายการบินราคาถูกยังคงมัวแต่มุ่งห้ำหั่นกันเฉพาะเรื่องของราคาถูกเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะมาถึงจุดอิ่มตัวแล้วก็เป็นได้ การเปิดเส้นทางบินใหม่ ให้ครอบคลุมทุกจุดหมายปลายทางคือหนทางหนึ่งที่จะทำกำไรให้กับสายการบินได้ในอนาคต เพื่อสร้างความจงรักภักดีลูกค้าให้เกิดขึ้นกับธุรกิจการบินของตัวเอง ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่เหล่าบรรดาโลว์คอสต์หันมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มกราคม 2549)
แอร์โลว์คอสมีเดีย สื่อใหม่มาแรง
โอมาย – แม็กซ์เมคเกอร์ ตั้งหน้าลุยบริหารสื่อบนเครื่องโลว์คอส นกแอร์ – ไทยแอร์เอเชีย เตรียมผุดพื้นที่ใหม่ติดสร้างรายได้รับการเติบโตสื่อใหม่ฐานลูกค้ายังน้อยโอกาสเติบโตอีกมาก เล็งอนาคตโกอินเตอร์หวังเข้าไปบริหารสื่อโฆษณาโลว์คอสในภูมิภาค
ด้วยความเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์สายการบินต้นทุนต่ำจึงทำให้ต้องตัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่วนที่ฟุ่มเฟือยออกไปแล้วยังจะต้องหารายได้จากช่องทางอื่นเข้ามาเสริมอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น การขายอาหารและเครื่องดื่มบนไฟรท์รวมถึงการขายพื้นที่สื่อโฆษณา แตกต่างจากสายการบินค่ายใหญ่ซึ่งเราจะไม่เห็นรูปแบบดังกล่าวนี้เนื่องจากได้มีการรวมต้นทุนทุกอย่างเข้าไปอยู่ในราคาตั๋วค่าโดยสารหมดแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)
ถึงเวลา “โลว์คอสแอร์ไลน์”ไล่บี้...ใครดีใครอยู่!
-เศรษฐกิจผกผัน ราคาน้ำมันเพิ่ม คนเดินทางน้อยลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินแน่
-จับตาธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอ
-หันจับทางกลยุทธ์ตลาดเป็นที่พึ่งหนีตาย การปรับตัวของแต่ละค่ายต่างงัดทีเด็ดเข้าฟาดฟันกัน
-ประดุจหนึ่งต้องการให้หลุดจากวงจรธุรกิจการบิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
ท่องเที่ยวภูเก็ตดิ้นหนีตายผนึกกำลังจัดแคมเปญกระตุ้นหวังดึงนักท่องเที่ยว
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าเงินเพียง 3,000 กว่าบาทคุณก็สามารถบินไปเมืองภูเก็ตได้ และสามารถพักโรงแรมหรูระดับ 4 ดาวแถบหาดป่าตองพร้อมกับได้ท่องเที่ยวภูเก็ตแฟนตาซีในราคาที่ถูกสุดๆ แคมเปญ Never Before Never Again จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจกว่า 30 รายรวมตัวกันเพื่อหวังกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศกลับเข้าไปใช้บริการอีก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กุมภาพันธ์ 2548)
ศึกโปรโมชั่นสายการบินไปภูเก็ต...ใครดีใครอยู่
ปัจจุบัน ภูเก็ต ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 40 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อนักท่องเที่ยวลดลงกว่า 4 แสนคน ทำให้สายการบินจากต่างประเทศต้องหยุดทำการบินไปแล้วถึง 4 สายการบิน ขณะเกิดวิกฤติแต่“นกแอร์”สายการบินภายในประเทศกลับสร้างโอกาสก่อนใครเพื่อนหลังบินเดี่ยวโฉบลูกค้าด้วยโปรโมชั่นใช้รางวัลล่อใจ ปฏิเสธร่วมแคมเปญยักษ์“ลดทั้งเกาะ เที่ยวทั้งเมือง”เล่นเอาสายการบินทั้ง 4 ต้องงัดยุทธวิธีแบบฉบับของตัวเองออกมาใช้หวังกระตุ้นยอดขาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 กรกฎาคม 2548)