อานิสงส์น้ำมันแพง!...โลว์คอสต์พลิกวิกฤติสร้างโอกาส
สั่นสะเทือนไปทั้งวงการบินเมื่อดัชนีราคาน้ำมันฉุดไม่อยู่ ผู้ประกอบการบินหลายค่ายต่างฟันธงว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำคงจะไม่ต่ำต่อไป เพราะในช่วงที่ผ่านมาแต่ละค่ายต่างงัดโปรโมชั่นที่ห้ำหั่นกันด้วยกลไกราคา จนสงครามราคาที่ตั้งไว้ในแต่ละค่ายกลายเป็นกับดักที่ผูกมัดตัวเองไปในที่สุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2551)
โลว์คอสต์แผงฤทธิ์!...จับกลเกมการเงินลุยธุรกิจโรงแรม
ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย มักเห็นภาพของการลงทุนอยู่ 2 แบบคือ โรงแรมหรูระดับ 5 ดาวบวกๆ กับโรงแรมระดับล่างที่อยู่ระหว่าง 1-2 ดาว หากแต่ว่ากระแสการลงทุนโรงแรมในโมเดลของราคาประหยัดถือเป็นรูปแบบการลงทุนใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในไทย โดยที่ผ่านมาที่พักราคาถูกส่วนใหญ่มักจะเป็นในรูปของเกสต์เฮาส์และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ต่างๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวแบ๊คแพ็ค ในขณะเดียวกันหลังจากโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ มีการขยายเส้นทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กลุ่มทุนต่างๆเริ่มหันมาจ้องเตรียมลงทุนก่อสร้างโรงแรมในลักษณะราคาประหยัด โดยเน้นเรื่องของราคาถูก บริการที่สะอาด สะดวกและปลอดภัย เป็นหลัก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มีนาคม 2551)
ศึกสามเส้า “โลว์คอส”ไทย...แก้เกมการตลาด
ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ใหม่ของอุตสาหกรรมการบินในเมืองไทยที่เปิดให้บริการด้วยสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอส แอร์ไลน์) ส่งผลให้การตัดสินใจเดินทางด้วยเครื่องบินของคนไทยสะดวกมากขึ้น จากราคาตั๋วโดยสารที่ถูกลง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มกราคม 2551)
วิบากกรรม “ไทยแอร์เอเชีย”เวอร์ชั่น 3
การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งหมดของไทยแอร์เอเชียกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง และส่งผลให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำที่มีสโลแกนว่า “ใครๆก็บินได้”ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกแต่เป็นการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งที่สองหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไปจะเป็นการชี้ชะตาว่าไทยแอร์เอเชียจะสามารถหลุดรอดพ้นจากวิถีทางการเมืองได้หรือไม่?...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 มิถุนายน 2550)
ผ่าแผนธุรกิจแอร์ไลน์…ปฏิบัติการยึดน่านฟ้าในประเทศ
ในที่สุด “ดอนเมือง”ก็เปิดให้บริการอีกครั้ง เส้นทางบินในประเทศกว่าครึ่งถูกย้ายมาอยู่ที่นี่ ขณะที่ธุรกิจการบินต่างเร่งปรับแผนกลยุทธ์
หวังสร้างแบรนด์ไทยให้เกิดขึ้นบนสนามบินแห่งนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 เมษายน 2550)
มรดกทักษิณ รันเวย์ร้าว-AOT อ่วมไทยแอร์เอเชียมาเลเซียคุมเบ็ดเสร็จ
ทักษิณทิ้งปัญหาเพียบ ทั้งรันเวย์สนามบินสุวรรณภูมิร้าว ชำรุดหลายจุด สร้างปัญหาด้านความปลอดภัยทางการบิน กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ฟันธงงานนี้ทุจริตในการก่อสร้าง ส่วนอีกปัญหาแอร์เอเชียต้องลุ้นนอมินีหรือไม่ แต่ที่ผ่านมาอำนาจตัดสินใจอยู่ที่มาเลเซีย หุ้นส่วนในประเทศไทยแค่ใบเบิกทางขออนุญาตเส้นทางการบิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 มกราคม 2550)
“อะเมซิ่งไทยแอร์เอเชีย”…ความท้าทายสไตล์โลว์คอส
การยิงสปอร์ตโฆษณาผ่านสื่อทีวีของสายการบินต้นทุนต่ำไทยแอร์เอเชีย อยู่บ่อยครั้งในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “อะเมซิ่ง ไทยแอร์เอเชีย” กำลังบ่งบอกถึงมิติใหม่ของธุรกิจการบิน ที่ไม่เพียงแต่จะเน้นในเรื่องของราคาถูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น...การสร้างอิมเมจด้านบริการถือเป็นหัวใจหลักที่กลุ่มไทยแอร์เอเชียพยายามหันมาหยิบยกให้เห็นภาพชัดเจนกันมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2550)
“เน็ทเวิร์คมาร์เกตติ้ง”กลยุทธ์ยันพิษน้ำมันของสายการบิน
ราคาน้ำมันพ่นพิษทำธุรกิจการบินป่วน...ยักษ์ใหญ่เจ้าจำปีสุดทนฝืนใจทำเก๋ออกพีเพดการ์ดโดดมาเล่นราคาฟาดฟันกับโลว์คอสและสายการบินระหว่างประเทศ หวังชิงส่วนแบ่งตลาดไว้ในมือ ขณะที่สายการบินหลายค่ายต่างใช้เน็ทเวิร์คมาร์เกตติ้งร่วมกันเพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่...อันหมายถึงขุมทรัพย์ที่ทุกสายการบินต้องรีบไขว่คว้า...แม้จะได้มากหรือน้อยก็ต้องทำ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)
“ไทยแอร์เอเชีย”หวยล็อค “นอมินี”ของ สิงคโปร์
14 วันหลังจากชินฯขายหุ้นให้กับสิงคโปร์แต่ไทยแอร์เอเชียยังคงบินได้โดยไม่ถูกระงับสิทธิ์
14 วันที่ไทยแอร์เอเชียทำทุกอย่างให้ลงตัวเพื่อความถูกต้องตามกฎหมาย
14 วันที่บริษัทแอร์เอเชียในมาเลเซียกลับนิ่งเฉยไม่มีปฏิกิริยาใดๆตอบโต้
14 วันเพื่อหาคนไทยที่พอมีเงิน 200 ล้านบาทเข้ามาลงทุน แต่ไม่ต้องมายุ่งกับการบริหาร CEO
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 กุมภาพันธ์ 2549)