บุญชัยทิ้งยูคอม จังหวะดีที่สุด
19 ตุลาคม 2548 เป็นวันที่สำคัญยิ่งอีกหนึ่งวันสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย
เป็นวันที่ตระกูล “เบญจรงคกุล” ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทยูคอม (ซึ่งยูคอมคือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท TAC ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับสอง เจ้าของแบรนด์ DTAC) ขายหุ้นในมือทั้งหมดออกไปให้แก่บมจ.ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ ในมูลค่าทั้งสิ้น 9,200 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 39.9%)
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤศจิกายน 2548)
"เบญจรงคกุล" ถอยเพื่อรุก
ปิดฉากตำนานยุคแรกของตระกูลเบญจรงคกุลในธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย ด้วยการถอดหุ้นและสายบริหารออกทั้งหมด แต่ทว่าบทบาทใหม่ของตระกูลกลับเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหลังจากนี้ไป ซึ่งถูกมองว่า เป็นบทบาทที่ "พี่ใหญ่" บุญชัย เบญจรงคกุลตั้งปฎิภาณที่ลงแรงไปแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 ตุลาคม 2548)
เปิดปูม "เทเลนอร์"
ชื่อของบริษัท เทเลนอร์ เอเอสในเวทียุโรปไม่ได้ด้อยไปกว่าบริษัทยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมรายอื่นในยุโรปเท่าไรนัก เทเลนอร์เป็นกิจการโทรคมนาคมสัญชาตินอร์เวย์รายใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งได้มีการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคมไปทั่วยุโรป และเอเชีย โดยให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านบริษัทในเครือมากกว่า 12 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทเลนอร์มีบริษัทที่ร่วมลงทุนอยู่ในสี่ประเทศหลัก ได้แก่ บังคลาเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศไทย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 ตุลาคม 2548)
"บุญชัย" คิดการใหญ่ BIG BROTHER เครือข่ายชุมชนทั่วไทย
"บุญชัย เบญจรงคกุล" ชื่อนี้กำลังจะถูกจัดขึ้นสู่ทำเนียบ "เจ้าพ่อชุมชนไทย"
เขากำลังเปลี่ยนแปลงสังคมไทยโดยไม่ต้องเล่นการเมือง
ปลุกปั้นเยาวชนสำนึกรักบ้านเกิดขึ้นเป็นผู้นำท้องถิ่น กุมความคิดคนชนบท
เชื่อมโยงสู่เครือข่ายธุรกิจ "เบญจรงคกุล" ในอนาคต
บทพิสูจน์ครั้งสำคัญที่หลายคนมองว่าเขาล้มไม่เป็นท่าในธุรกิจมือถือ
แต่เขากำลังจะกลับมาในฐานะธุรกิจที่มั่งคงจาก "เศรษฐกิจพอเพียง" ต่างหาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 ตุลาคม 2548)