ผลักดันไทยสมุทรปี 2554สู่ Big Year ภารกิจท้าทาย “นุสรา บัญญัติปิยพจน์”
1 ปีที่ผ่านมาไทยสมุทรฯ มีการปรับตัวครั้งใหญ่ ทั้งการเปลี่ยนโครงสร้างฝ่ายขาย ปรับระบบการทำงานและลดโครงสร้างให้สั้นเพื่อสื่อสารได้และทำงานได้รวดเร็วขึ้น ปรับระบบสรรหาตัวแทน และผลตอบแทน รวมทั้งลงระบบไอทีใหม่ทั้งองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการทำงาน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มีนาคม 2554)
"ประกันชีวิตไทย"เรียงแถวจับคู่ทุนนอก"ไทยสมุทรฯ" ปิดตำนานธุรกิจครอบครัว
ตระกูล "อัสสกุล" เจ้าของธุรกิจ "ไทยสมุทรประกันชีวิต" คือ กิจการครอบครัวรายล่าสุด ในอุตสาหกรรมประกันชีวิต ที่เปิดประตูบ้านต้อนรับ พันธมิตรหน้าใหม่ "ไดอิชิ มิวชวล ไลฟ์ อินชัวรันส์" เบอร์สองจากเกาะญี่ปุ่น ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 24% นับเป็นการปิดฉากธุรกิจครอบครัวไทยแท้ ท่ามกลางพายุเศรษฐกิจ ในโลกไร้พรมแดนกำลังพัดกระหน่ำอย่างหนัก จนยากที่กิจการครอบครัวสายพันธ์ไทย จะต้านทานเอาไว้ได้....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 กรกฎาคม 2551)
"ไทยสมุทรฯ"รักษาฐานที่มั่นรากหญ้าผ่าตัดทีมบริหารพอร์ต-ตั้งกรรมการพัฒนาปรับปรุงสินค้าใหม่
"ไทยสมุทรประกันชีวิต" ยกเครื่องโครงสร้างบริหารพอร์ตลงทุน เพิ่มทีมลงทุนในหุ้น และตลาดต่างประเทศ ผสมกับ ตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนาสินค้า เจาะฐานลูกค้าเดิม กลุ่มรากหญ้า ก่อนจะไต่ระดับขึ้นไปจับตลาดกลางถึงบน หว่านเงินลงทุน "รีแบรนดิ้ง ไอที สาขา และบุคลากร" ร่วม 600 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับจากตื่นตัวจากกระแสทุนโลกตะวันตก ยกพลขึ้นบก ชิงตลาดฝั่งรากหญ้า....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 เมษายน 2551)
สลัดคราบ"กงสี"แลนด์ลอร์ด"อัสสกุล"ดันเรือเดินทะเล"ไทยสมุทรประกันชีวิต"
ทายาทคนโตตระกูล "อัสสกุล" เจ้าของธุรกิจ "ไทยสมุทรประกันชีวิต" เป็นกลุ่ม "แลนด์ลอร์ด" ระดับแถวหน้า และธุรกิจอีกนับไม่ถ้วน มักจะเปิดใจอย่างถ่อมตัวว่า มูลค่าทรัพย์สินทั้ง 3 ขาหลัก ไม่มากพอจะติดอันดับมหาเศรษฐีเมืองไทย บนหน้ากระดาน "ฟอร์บ" ขณะเดียวกัน ก็ไม่เคยต้องการ "เงินสดมหาศาล" เพื่อมาเก็บไว้ในบัญชีธนาคาร... แต่ถึงอย่างนั้น องค์กรที่บริหารด้วยระบบ "กงสี" ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองในรอบเกือบ 60 ปีเพื่อความอยู่รอด เพราะขนาดของ "เรือเดินทะเล" ที่เริ่มใหญ่ขึ้น กำลังสร้างแรงเฉื่อย ไม่คล่องตัว ถ้าจะต้องปะทะกับทุนจากโลกตะวันตก....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 มกราคม 2551)