ได้เวลาปรับทัพ 'โลว์คอสต์' หลังยอดนักท่องเที่ยวหายเพียบ!...
กระแสความร้อนแรงของตลาดโลว์คอสต์แอร์ไลน์ปัจจุบันเริ่มอ่อนตัวลง หลังจากสายการบินหลายค่ายพร้อมใจปรับทัพรับศึกช่วงโลว์ซีซันที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาพรวมการแข่งขันของโลว์คอสต์ในประเทศไทยจำเป็นต้องลดจำนวนเที่ยวบินลงอย่างเห็นได้ชัด หรือบางเส้นทางก็ถูกยกเลิกไปอย่างไม่มีกำหนด
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 กันยายน 2552)
เจาะกลยุทธ์ 'โลว์คอสต์' ยุคท่องเที่ยวขาลง
ในช่วงเศรษฐกิจขาลงแบบนี้ การท่องเที่ยวมักถูกเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในการตัดทิ้งออกไปสำหรับค่าใช้จ่ายของคนส่วนใหญ่ ส่งผลทำให้ผู้ประกอบการทุกธุรกิจท่องเที่ยวต่างงัดสารพัดกลยุทธ์เพื่อจูงใจให้นักท่องเที่ยวกลับมาเดินทางท่องเที่ยวกันอีกครั้ง และสูตรสำเร็จที่ผู้ประกอบการนิยมนำมาใช้คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของการลดราคาสินค้าทางการท่องเที่ยว!!
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มิถุนายน 2552)
'ดอนเมือง'แข่งเดือด นกแอร์ VS วัน-ทู-โก
ความพยายามปรับโฉมการตลาดให้มีบริการคิดแบบนอกกรอบออกมาอย่างต่อเนื่องของสายการบินนกแอร์นั้นโดยช่วงที่ผ่านมาการจัดโปรโมชั่น 'ทุกเที่ยวบินมีรอยยิ้ม' เมื่อซื้อตั๋วเครื่องบินในทุกเส้นทางบินภายในประเทศราคาประหยัด แต่มีเงื่อนไขคือต้องเข้าไปที่เว็บไซด์ของนกแอร์เท่านั้นได้สร้างแรงกระตุ้นให้มีคนเข้าไปใช้บริการของสายการบินนกแอร์เป็นจำนวนไม่น้อย ส่งผลให้ผลประกอบการของ นกแอร์ ในขณะนี้นั้น ตั้งแต่ปลายปี 2551 ที่ผ่านมานั้น พบว่า นกแอร์ มีผลประกอบการที่มีกำไรมาตลอด โดยในช่วงต้นปี 2552 สายการบินนกแอร์มีกำไรแล้วประมาณ 40 ล้านบาท
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤษภาคม 2552)
“โลว์คอสต”ปีฉลู...สู้ยิบตา...งัดสารพัดกลยุทธ์กระตุ้นนักท่องเที่ยว
กลเกมการตลาด “โลว์คอสแอร์ไลน์”ช่วงต้นปีวัวดูจะคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ และวันทูโก พยายามเปิดศึกช่วงชิงลูกค้าด้วยการสรรหากลยุทธ์ออกมาหวังกระตุ้นให้ตลาดตื่นตัว ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไปภาพการแข่งขันของธุรกิจการบินต้นทุนต่ำน่าจะมีออกมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มกราคม 2552)
คว่ำกระดาน “โลว์คอสต์” พลิกเกมการตลาดหลังหยุดบิน “วัน ทู โก”
การประกาศหยุดบินชั่วคราวของ สายการบินวันทูโกนับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2551 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2551 ส่งผลให้ปัจจุบันตลาดโลว์คอสที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างจะรุนแรงเริ่มอ่อนตัวลง อาณิสงส์จึงน่าจะตกไปที่สายการบินไทยแอร์เอเชีย ซึ่งที่ผ่านมาการขับเคี่ยวกันระหว่าง วันทูโก กับ ไทยแอร์เอเชีย ดูจะใส่กันทุกกระบวนท่าทางการตลาด เรียกได้ว่ามีการใช้กันครบทุกแทคติก ที่ไม่เว้นแม้แต่กลยุทธ์ด้าน ราคา จนกระทั่งกลเกมล่าสุดของวันทูโกก่อนที่จะประกาศหยุดบินชั่วคราวต้องออกมายอมรับว่าได้งัดยุทธวิธีเข้าใส่ไทยแอร์เอเชียโดยเฉพาะเพื่อหวังกระตุ้นยอดขายในช่วงที่ตลาดโลว์คอสของบ้านเราหลังจากโดนผลกระทบจากพิษราคาน้ำมันแพง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 กรกฎาคม 2551)
“วัน ทู โก” เทียบชั้นTG แม้แต่ฝันยังยากจะเป็นจริง
คำสั่งหยุดบินแค่ 30 วัน ดูจะไม่เพียงพอสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำอย่าง “วัน ทู โก” เสียแล้ว เบื้องหน้าเบื้องหลังของการยืดระยะเวลาเพิ่มอีก 15 วันเพื่อปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยดูจะเป็นเรื่องสำคัญที่สายการบิน วัน ทู โก ให้น้ำหนักเป็นพิเศษ เนื่องจากสาเหตุที่ถูกปิดให้บริการคือ “มาตรฐานความปลอดภัยต่ำ” แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้บริการของลูกค้าของ วัน ทู โก เป็นอย่างมาก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 กรกฎาคม 2551)
อานิสงส์น้ำมันแพง!...โลว์คอสต์พลิกวิกฤติสร้างโอกาส
สั่นสะเทือนไปทั้งวงการบินเมื่อดัชนีราคาน้ำมันฉุดไม่อยู่ ผู้ประกอบการบินหลายค่ายต่างฟันธงว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบมากที่สุด และธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำคงจะไม่ต่ำต่อไป เพราะในช่วงที่ผ่านมาแต่ละค่ายต่างงัดโปรโมชั่นที่ห้ำหั่นกันด้วยกลไกราคา จนสงครามราคาที่ตั้งไว้ในแต่ละค่ายกลายเป็นกับดักที่ผูกมัดตัวเองไปในที่สุด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2551)
ถึงเวลาสู้ศึก “โลว์คอสแอร์ไลน์”ผู้โดยสารเตรียมตัว...เที่ยวบินเพิ่ม-โปรโมชั่นเพียบ!
การปรับตัววางยุทธศาสตร์ของสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ในช่วงต้นปี 2007 เริ่มเห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากทุกสายการบินเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศมากว่า 3 ปี ล่าสุดทุกสายการบินอาทิ ไทยแอร์เอเชีย วัน-ทู-โก และนกแอร์ หลังจากมีการรับมอบเครื่องบินเพิ่มขึ้นในปี 2550 ศักยภาพความพร้อมที่บุกตลาดต่างประเทศก็มีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทุกสายการบินต้นทุนต่ำเริ่มเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2550)
โลว์คอสแอร์ครึ่งปีหลังแข่งดุ...ปรับแบรนด์แปลงโฉมกลยุทธ์เพียบ
ปฏิบัติการครึ่งปีหลังของการแข่งขันธุรกิจแอร์ไลน์ ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายออกมากระตุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำที่เริ่มปรับตัวสร้างแบรนด์เฉพาะขึ้นมาในภาวการณ์แข่งขันที่ร้อนแรง ก่อนที่จะเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเชิงพาณิชย์ประมาณปลายเดือนกันยายนศกนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
ล้วงกลยุทธ์ 'วัน ทู โก'คว้า ‘พันธมิตร’ ตอบโจทย์ธุรกิจ
วันทูโก สายการบินราคาประหยัดรายแรกของไทย เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว และที่ผ่านมาการขับเคี่ยวระหว่างสายการบินราคาประหยัดด้วยกันคือแอร์เอเชียและนกแอร์เป็นไปอย่างเข้มข้น โดย 2 รายนี้พยายามชูนโยบายด้านราคา ลดต้นทุนต่างๆ ลง เพื่อจูงใจผู้โดยสารและราคาไต่ระดับตั้งแต่ราคาถูกสุดสำหรับผู้ที่จองล่วงหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)