'เคทีบี ลีสซิ่ง'ไม่ห่วงกดดอกเบี้ยเช่าซื้อได้เปรียบเพียบ'ต้นทุนต่ำ-ความเสี่ยงน้อย'
ธุรกิจลีสซิ่งกดสัญญาณเตือนภัย หลังแข่งดุกดดอกเบี้ยต่ำจนมาร์จิ้นเหลือน้อย ขณะที่'เคทีบี ลีสซิ่ง'ดูจะไม่กังวลกับปัญหานี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าต้นทุนการดำเนินงานต่ำ และไม่แข่งเรื่องค่าคอมมิชชั่นให้กับเซล แถมลูกค้ายังจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำเพราะเจาะแต่ฐานข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้แน่นอน พร้อมเปิดตัวแคมเปญใหม่ KTBL Car for Cash เสริมบริการทางการเงินอย่างครบวงจร
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 กันยายน 2552)
ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์เปิดสงครามจ่ายคอมฯสูงดึงลูกค้าขยายพอร์ต
ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ แข่งดุ ยอมควักเนื้อมาร์จิ้นต่ำแต่จ่ายค่าคอมมิชชั่นสูงเพื่อขยายพอร์ตงาน ด้าน'ลีสซิ่งกสิกรไทย'หน้าชื่ออกตรม แม้ปีนี้จะทำกำไรได้ แต่ต้องหาทางแก้เกมกับสถานการณ์โดยรวมในภาคธุรกิจที่เปลี่ยนทางจากเดิมที่แข่งเรื่องการดั้มพ์ดอกเบี้ย มาเป็นการจ่ายค่าคอมมิชชั่นสูงให้ตัวแทน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 สิงหาคม 2552)
เมนูร้อน'รถแลกเงินด่วน'ปลิวว่อน!!กดดอกต่ำวงเงินสูงปลอดคนค้ำชนสินเชื่อบุคคล
'สถาบันการเงิน' หนีวิกฤตรถป้ายแดง และอุตสาหกรรมยานยนต์ตกอยู่ภายใต้ภาวะอัมพาตทั่วโลก ผสมโรงกับ 'สินเชื่อไร้หลักประกัน' ทั้งสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต ถูกต้อนเข้ามุมอับ หนี้เสียโผล่ไม่เว้นแต่ละวันประจานสถานการณ์เศรษฐกิจทรุด คนว่างงานขยายวงกว้าง 'ธนชาต-ทิสโก้-อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส' ถือโอกาสร่อนเมนูร้อน 'รถแลกเงินด่วน' เสิร์ฟ เจ้าของรถที่ปลอดภาระผ่อนค่างวด ต้องการเงินกู้ฉุกเฉิน ผ่านแคมเปญ กดดอกเบี้ยต่ำ วงเงินสูง ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน เลือกปะทะ ฐานตลาด สินเชื่อ่อบุคคลหรือสินเชื่ออเนกประสงค์ ที่คิดราคาแพงกว่าเป็นเท่าตัว...
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 พฤษภาคม 2552)
“นวลิสซิ่ง”ผ่าตัดแปลงโฉมธุรกิจซื้อพอร์ตลูกหนี้บ.ต่างชาติ-ตั้งทีมขายประกัน
“นวลิสซิ่ง” หาทางออก ช่วงติดเบรกธุรกิจจำนำทะเบียนรถ เพราะผลประกอบการปีนี้สีแดงเถือกจากพอร์ตหนี้เน่าลูกค้ารายใหญ่และผู้บริหารค่ายรถหรูนำเข้า SECC ล่องหนร่วม 120 ล้าน เร่งตั้งทีมขายประกันชีวิตป้อนค่าย“กรุงไทยแอกซ่าประกันชีวิต” ก่อนหมุนเงินรายได้จากธุรกิจหลัก ไปลงทุนรับซื้อลูกหนี้ จากฝั่งบริษัทลูกต่างชาติในประเทศ ที่กำลังเลหลังขายพอร์ตลูกหนี้ เพื่อขนเงินกลับต่างประเทศ มาบริหาร เพื่อสร้างรายได้ทดแทนธุรกิจหลัก...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มีนาคม 2552)
"นวลิสซิ่ง"ปักธงจับจองพื้นที่"Key Player"จำนำรถเก่า
"นวลิสซิ่ง" หลังการเข้าเทกโอเวอร์ของ "ดีลเลอร์ค้ารถจากที่ราบสูง" ตระกูล "พันธ์สายเชื้อ" ใช้เวลาเพียง2 ปี ก็ปรับแต่งโมเดล "ธุรกิจโฮลด์เซลส์" มาเป็น "รีเทล" ก่อนจะเปลี่ยนมา "ปักธง" จับจองพื้นที่ "นิช มาร์เก็ต" ตามโครงการนำร่อง การตลาดแบบจรยุทธ์ "นวเอ็กซเพรส" โดยมีพันธมิตรกลุ่มดีลเลอร์ค้ารถภูธร ไฟแนนซ์ห้องแถว และธุรกิจเต้นท์รถผ้าใบ เป็นฐานในการขยาย "สินเชื่อทะเบียนรถ" ธุรกิจที่สถาบันการเงินปล่อยทิ้งร้าง เพราะความเสี่ยงสูง แต่สำหรับ "นวลิสซิ่ง" ถ้าแบรนด์เกิดติดตลาด ก็จะกลายมาเป็น "Key Player" เพียงเจ้าเดียวในธุรกิจจำนำรถยนต์...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กรกฎาคม 2550)
ค่ายรถยนต์ทวงคืนอาณาเขต"ป้ายแดง""นิสสันลีสซิ่ง"คืนเวทีท้ารบเครือแบงก์
ค่ายรถยนต์ "นิสสัน"หวนคืนเวที ผลักดัน "นิสสัน ลีสซิ่ง" น้องใหม่หมาดๆ ตีโอบตลาดรถใหม่ป้ายแดง ซึ่งส่วนใหญ่ตกอยู่ในกำมือธุรกิจเช่าซื้อในเครือแบงก์ ขณะที่สายสัมพันธ์กับดีลเลอร์ยังคงเปราะบาง เปิดศึกท้ารบด้วยสงครามออนไลน์อนุมัติด่วนใน 4 ชั่วโมง ถอยรถจากโชว์รูมได้ทันที ตามประกบด้วยการนำระบบให้บริการสินเชื่อครบเครื่อง ทั้งอุปกรณ์ตกแต่ง และประกันภัยดึงดูดความสนใจ ปีนี้จะทวงพื้นที่รถป้ายแดงคิดเป็น 10% ของยอดขาย ก่อนจะขยับเป็น 24 และ 35% ในปีถัดไป ยืนยันคู่แข่งคือเช่าซื้อที่จับตลาดเดียวกับค่ายรถยนต์นิสสันเท่านั้น...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 มิถุนายน 2549)
ผ่อน"รถใหม่ป้ายแดง"เตรียมควักกระเป๋าเพิ่มธุรกิจเช่าซื้อซุ่มขยับดอกเบี้ยผลักภาระต้นทุน
อยากเป็นเจ้าของรถใหม่ป้ายแดงวิ่งโฉบเฉี่ยวบนท้องถนน ในชั่วโมงนี้อาจต้องคิดหนัก เมื่อสถานการณ์เงินเฟ้อยังผลักให้ทิศทางดอกเบี้ยขยับขึ้นแบบยังไม่มีจุดจบ ไม่แพ้กู้เงินซื้อบ้านที่ดอกเบี้ยไต่ระดับอย่างรวดเร็ว และถ้าสังเกตุก็จะพบว่าธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์แทบทุกค่ายต่างก็ซุ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรถใหม่ เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนกันถ้วนหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)
ศึกลิสซิ่งรถยนต์ระอุสารพันเงื่อนไขดันยอดขายทะลุเป้า
-บริษัทรถยนต์แห่งเปิดลิสซิ่งของตนเอง หวังใช้เป็นอาวุธหลักถล่มคู่แข่งช่วงยอดขายขาลง
-โตโยต้า เปิดลิสซิ่งกดดาวน์ลงเหลือ 5% ส่วนนิสสันไปตกสุดท้ายเปิดลิสซิ่งสู้ พร้อมใช้ระบบไอทีเพิ่มความรวดเร็ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)