ชี้นักลงทุนขนเงินเข้าตลาด คาดดันบาทแตะ33.50
กสิกรไทยฟันธงค่าเงินบาทสิ้นเดือนก.ย.นี้แตะ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐตามค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค และสิ้นปีได้เห็น 33 บาทต่อดอลาร์สหรัฐฯ เหตุนักลงทุนโยกเงินจากสหรัฐฯเข้าลงทุนทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงิน
(ASTVผู้จัดการรายวัน 21 กันยายน 2552)
ค่าบาทแข็งซ้ำเติมรอยช้ำภาคส่งออก"ธาริษา"ย้ำคุมเกมไม่ให้ผันผวนมาก
"ธาริษา" ย้ำจุดยืน"แบงก์ชาติ"ชัดเจน ด้วยการคุมเกมค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคส่งออก ส่วนค่าเงินที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เพราะมีปัจจัยหลายด้านหนุนตั้งแต่การเทขายดอลลาร์ทำกำไร ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกถึงตกลงจุดต่ำสุด แถมการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นตัวหนุน แต่จะเฝ้าระวังไม่ให้แข็งมากเกินคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันการเคลื่อนไหวของค่าบาทยังเกาะกลุ่มภูมิภาคไม่ทะยานไปไกล
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 พฤษภาคม 2552)
จับกระแสฝรั่งไหลเข้าดันดัชนี-ค่าเงินบาทแข็ง
นักวิเคราะห์ มองค่าเงินบาทยังมีสัญญาณว่าจะกลับมาแข็งค่าต่ออีก เหตุเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้น ดันเม็ดเงินไหลเข้าตลาดเอเชีย แรงซื้อฝรั่งดันตลาดหุ้นไทยรับอานิสงส์ มองสิ้นปีดัชนี 950 จุด ชี้เงินบาทแข็งปัจจัยบวกกับดัชนี แต่เป็นปัจจัยลบกับกลุ่มส่งออก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มิถุนายน 2551)
บาทแข็งลามกระทบทุกวงการรากหญ้าตายสนิทนายทุนดิ้นพล่าน!
มาตรการแก้ปัญหาค่าบาทไร้ประสิทธิภาพ บาทเดินหน้าแข็งต่อเนื่อง กระทบไม่เฉพาะภาคส่งออก แต่ลามไปถึงรากหญ้าที่ผลิตวัตถุป้อน อาจถึงขึ้นเปลี่ยนอาชีพ พร้อมเตือนหาทางรับมือบาทอ่อนเร็วหากเงินร้อนต่างชาติย้ายตลาดหนีเมืองไทย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กรกฎาคม 2550)
ปฏิบัติการดึงเสถียรภาพค่าเงินบาทความล่าช้าที่ทิ้งไว้เป็นปัญหาเรื้อรัง
ทั้งที่เงินบาทส่งสัญญาณแข็งค่ามาตั้งแต่ปี 2549 แต่กลับไม่มีการตื่นตัวในปรากฏการที่เกิดขึ้น ตรงกันข้ามได้แต่มองว่าเป็นเรื่องของความไม่สมดุลทางภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งการแข็งค่าของสกุลเงินบาทก็ยังสอดคล้องกับประเทศในเอเชีย โดยลืมคำนึงถึงหลายปัจจัยที่ประเทศไทยแตกต่างจากเพื่อนบ้าน ท้ายสุดเมื่อปัญหาไม่ได้รับเยียวยาแต่เนิ่นๆก็เหมือนแผลเรื้อรัง จนส่งผลเป็นที่ประจักษ์ให้เห็นเช่นดั่งทุกวันนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กรกฎาคม 2550)
เงินร้อน"ดาบพิฆาต"ดันค่าบาทแข็งภาคส่งออกชะตาขาด-รัฐเกาไม่ถูกที่คัน
"เงินร้อน" บินข้ามน้ำข้ามทะเลเข้าเก็งกำไรผ่านตลาดหุ้นไทย ดันดัชนี และค่าบาทแข็งสุดทุบสถิติใหม่ในรอบ 10 ปี เชื่อกันว่าเป็นผลพวงของนักเล่นค่าเงินเข้ามาป่วน ที่รอให้เงินแข็งถึง 32 บาทต่อดอลลาร์ จากนั้นคอยเวลาเหมาะถอนตัวออกพร้อมกำไรล้นกระเป๋า ขณะที่ "ภาครัฐ" มืดแปดด้านหาทางช่วยภาคส่งออกไม่ได้นอกจากแนะนำให้ปรับตัวตามสถานการณ์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กรกฎาคม 2550)
แบงก์ชาติตี "ดาบ" ไร้ฤทธิ์เดช สิ้นแรงต้านอำนาจค่าบาทแข็ง
เมื่อมาตรการกันสำรอง 30% คือ "ดาบ" เล่มคมของ "แบงก์ชาติ" ที่ถูกตีขึ้นมาเพื่อป้องปรามการเก็งกำไรค่าบาท อันนำไปสู่เงินที่แข็งเกินปัจจัยแท้จริง ด้านหนึ่งแบงก์ชาติมั่นใจในความสำเร็จที่ทำให้สกุลเงินบาทไม่ผันผวนรุนแรงเมื่อเทียบกับภูมิภาค
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
บาทแข็งและผลของมาตรการใหม่แบงก์ชาติ
เงินบาทในช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมามีความผันผวนมากเป็นพิเศษ ช่วงการซื้อขายตอนเช้าแตะระดับแข็งค่าสุดที่ระดับ 35.06/10 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากเมื่อแบงก์ชาติออกมาตรการใหม่เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทเวลา16.30 น. ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงกว่า 40 สตางค์ โดยที่อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับ 35.69/70 ในเย็นวันจันทร์ และ อ่อนค่าลงอีกเล็กน้อยในช่วงเช้าวันอังคารที่ระดับ 35.74 บาทต่อดอลลาร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 ธันวาคม 2549)