Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Photo

industry
company
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ81  
Positioning5  
ผู้จัดการรายวัน543  
ผู้จัดการรายสัปดาห์16  
PR News22  
Web Sites1  
Total 652  

Listed Company
Manager Lists
 
Company > ธนาคารแห่งประเทศไทย


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (1 - 10 of 16 items)
ค่าบาทแข็งซ้ำเติมรอยช้ำภาคส่งออก"ธาริษา"ย้ำคุมเกมไม่ให้ผันผวนมาก "ธาริษา" ย้ำจุดยืน"แบงก์ชาติ"ชัดเจน ด้วยการคุมเกมค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคส่งออก ส่วนค่าเงินที่แข็งขึ้นในช่วงนี้เพราะมีปัจจัยหลายด้านหนุนตั้งแต่การเทขายดอลลาร์ทำกำไร ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกถึงตกลงจุดต่ำสุด แถมการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังเป็นตัวหนุน แต่จะเฝ้าระวังไม่ให้แข็งมากเกินคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันการเคลื่อนไหวของค่าบาทยังเกาะกลุ่มภูมิภาคไม่ทะยานไปไกล(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 พฤษภาคม 2552)
แบงก์กดดบ.ฝากติดดิน หุ้นกู้เริ่มเสี่ยง-พันธบัตรรับโชคจ่อคิวขาย ตลาดเงินส่อเค้าติดหล่ม หลังแบงก์พร้อมใจกดดอกเบี้ยฝากตามนโยบายรัฐ ผลักผู้มีเงินฝากหาแหล่งเงินออมใหม่ แม้หุ้นกู้เอกชนดอกเบี้ยสูง แต่สัญญาณเริ่มไม่ดีจากการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ทางกว้างเปิดสู่พันธบัตรรัฐที่จ่อคิวขาย นักการเงินเตือนอย่าปล่อยให้เอกชนไร้ทางออกจะซ้ำเติมคนตกงานมากขึ้น(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 ธันวาคม 2551)
แบงก์ชาติปฎิวัติเงียบสกัดการเมืองเปลี่ยนวิธีคุมเงินเฟ้อคานอำนาจ แบงก์ชาติเดินเกมลดทอนอำนาจนักการเมืองที่เข้ามากุมอำนาจ เริ่มตั้งแต่ออกประกาศคุมนักการเงินหวังสะท้อนคนจากภาคการเมืองสำนึก รวมถึงการเปลี่ยนวิธีคุมเงินเฟ้อที่ทันการณ์มากขึ้น อีกทั้งบอร์ด กนง.ใหม่ที่ยังตั้งไม่ได้อาจใช้ชุดเก่าทำหน้าที่แทน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 กันยายน 2551)
"แบงก์ชาติ" หอกค้ำคอพูดได้ไม่เต็มปากขึ้นดอกเบี้ยรั้งเงินเฟ้อ-ประคองเศรษฐกิจ สถานะธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ในตอนนี้สามารถกลายเป็นอัศวินม้าขาว หรือผู้ต้องหาที่กระทำผิดขั้นร้ายแรงได้ในคราวเดียว เนื่องจากต้องชี้ขาดตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบายจะไปในทิศไหนถึงช่วยรั้งเงินเฟ้อที่ขยับขั้นสูงอย่างน่าใจหาย และขณะเดียวกันก็ต้องพยุงเศรษฐกิจที่กำลังจะอับปางให้รอดต่อไปได้ หากแต่ถึงวันนี้แบงก์ชาติก็ยังพูดได้ไม่เต็มปากเหมือนมีหอกค้ำคอว่าจะกำหนดทิศทางอย่างไร ด้านนักวิชาการเหน็บพวกทวนกระแส"ไร้สติ"ทิศทางดอกเบี้ยถึงเวลาต้องปรับขึ้น แถมสอนมวยรัฐให้รู้ว่าสถานการณ์เช่นนี้นโยบายการคลังสำคัญกว่านโยบายการเงิน(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มิถุนายน 2551)
ทุนโลกอัดกระแทกย้ำรอยช้ำเศรษฐกิจบทพิสูจน์ "ธปท."ตีโจทย์แก้ไขปัญหา ทุนโลกที่ไหลอย่างเข้ามาบ้าคลั่งยังเอเชีย เสมือนการเข้าโจมตีจากกองกำลังพลที่มีทหารจำนวนมหาศาลเพื่อบดขยี้ประเทศในภูมิภาคแห่งนี้ให้ย่อยยับ ถือเป็นความเจ็บปวดที่ได้รับกันถ้วนหน้าสำหรับประเทศที่อยู่ในเป้าหมาย ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ว่านี้ และปีนี้ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แม้สภาพเศรษฐกิจจะไม่ได้เอื้อให้ทุนวิ่งเข้าก็ตามที ภาวะเช่นนี้องค์กรสำคัญอย่าง"แบงก์ชาติ"ต้องเล่นบทหน่วยรบแถวหน้าสร้างกองกำลังรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยกลยุทธ์ที่เฉียบคม เพื่อพยุงร่างกายที่บอบช้ำของประเทศจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยให้ขับเคลื่อนต่อไป(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กุมภาพันธ์ 2551)
แบงก์คึกคักลดดอกเบี้ยกระตุ้น เศรษฐกิจแน่นิ่งไม่ตอบสนอง การตอบสนองนโยบาย "ธปท."ของ"แบงก์พาณิชย์"ด้วยการลดดอกเบี้ยทั้งขา"ฝาก"และ"กู้"เพื่อกระตุ้นการบริโภค ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะดึงเศรษฐกิจให้พ้นจากปากเหวได้ ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่สำคัญสุดคือ"ความเชื่อมั่น"ที่มีพลังเบาบาง ไม่อาจกระตุ้นผู้ประกอบและผู้บริโภคควักเงินออกจากประเป๋า แม้ต้นทุนการกู้จะต่ำ และผลตอบแทนเงินฝากไม่จูงใจแล้วก็ตาม(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 มิถุนายน 2550)
แบงก์ชาติตี "ดาบ" ไร้ฤทธิ์เดช สิ้นแรงต้านอำนาจค่าบาทแข็ง เมื่อมาตรการกันสำรอง 30% คือ "ดาบ" เล่มคมของ "แบงก์ชาติ" ที่ถูกตีขึ้นมาเพื่อป้องปรามการเก็งกำไรค่าบาท อันนำไปสู่เงินที่แข็งเกินปัจจัยแท้จริง ด้านหนึ่งแบงก์ชาติมั่นใจในความสำเร็จที่ทำให้สกุลเงินบาทไม่ผันผวนรุนแรงเมื่อเทียบกับภูมิภาค(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
แผนระดมทุนดีเวลลอปเปอร์สะดุดรอแบงก์ชาติชี้ชะตากองทุนอสังหาฯ แผนระดมทุนดีเวลลอปเปอร์ผ่านกองทุนอสังหาฯ สะดุด หลังแบงก์ชาติคลอดมาตรการสกัดเก็งกำไร ซีบี ริชาร์ดฯ เผยหากมาตรการไม่เปลี่ยนอาจต้องปรับลดสัดส่วนนักลงทุนต่างชาติแทน คาดอนาคตกองทุนจะผสมผสานหลายรูปแบบสินทรัพย์ในกองเดียว(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มีนาคม 2550)
นับถอยหลังเศรษฐกิจ"รูดถึงจุดต่ำสุด" เช่าซื้อบอบช้ำราคามือสองร่วงต้นทุนวิ่ง แบงก์ชาติมั่นใจไตรมาส 4 ปีนี้เศรษฐกิจดิ่งถึงจุดต่ำสุด รอสัญญาณการบริโภคภายในเพิ่ม ดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ขณะที่"สมาคมเช่าซื้อ"โอดราคารถมือ 2 ดิ่ง20-40% กดราคาสินทรัพย์ต่ำกว่าจำนวนเงินปล่อยกู้ ดอกเบี้ยวิ่งยังผลักภาระต้นทุนการเงิน ยึดรถก็ขายต่อยาก ต้องปรับตัวหันมาบริหารพอร์ตเพิ่มประสิทธิภาพ-บริหารต้นทุนป้องกันความเสี่ยง คาดครึ่งปีหน้ากำลังซื้อมีสิทธิ์หวนกลับหลังการเมืองเริ่มนิ่ง ส่วนครึ่งหลังปี 2550 คาดเห็นดอกเบี้ยนิ่ง ราคาน้ำมันทรงตัว ต้นทุนของผู้ประกอบการลด(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 กันยายน 2549)
หนี้ภาคครัวเรือนยังห่างจุดวิกฤติ ผลศึกษาเป็นการลงทุนในทรัพย์สิน หนี้ภาคครัวเรือนอุณหภูมิไม่ร้อนระอุ เพราะยังไม่พร้อมปะทุเหมือนภูเขาไฟระเบิด เพราะผลการศึกษาจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มองว่าหนี้ที่ก่อนั้นเป็นลักษณะการลงทุนในระยะยาว อย่างที่อยู่อาศัยและสินค้าคงทน แต่กระนั้นไม่อาจประมาทได้เพราะในประเทศที่มีระบบการเงินอยู่ความเสี่ยงของหนี้เสียเกิดได้ขึ้นทุกเวลา เพื่อหาคำตอบที่แจ่มชัด ทาง ธปท. และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)จะต้องศึกษาต่อไปในรายละเอียดระดับจุลภาค(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 กรกฎาคม 2549)

Page: 1 | 2





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us