'ทีทีอาร์'นำทัพทุนไทยบุกละตินอเมริกา เล็งตั้งคลังสินค้าใน 'ปานามา'กระจายอาหารไทย
“โอสถสภา” นำร่องเล็งลงทุนเครื่องดื่มชูกำลัง ตั้งเป้าดึงทุนไทยไปปักฐานแก้ปัญหาระยะทางขนส่ง โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร เตรียมจับมือปานามา ตั้งคลังสินค้าอาหารไทย เพื่อกระจายสินค้าไปยังอเมริกาใต้ พร้อมเร่งเปิด เอฟทีเอ กับชิลี เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางภาษีส่งสินค้าเจาะ 'สหรัฐฯ -ละติน' ขณะที่บราซิลขนเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท ลงทุนโรงงานรถบรรทุก และอะไหล่ยนต์ในไทย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 กันยายน 2553)
กระทิงแดงพุ่งชนเป้าหมายคนเมืองจะสำเร็จหรือถ้าไม่เปลี่ยน Brand DNA
ภาพรวมของตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ที่มีมูลค่า 6,000 ล้านบาท ในปีนี้มีปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปรกติเป็น 7-8% จากที่เคยเติบโตไม่ถึง 5% ทั้งนี้เนื่องจากแบรนด์ต่างๆ เพิ่มงบและสร้างสีสันในการทำการตลาดเพื่อแข่งขันมากขึ้นอย่างชัดเจน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กันยายน 2553)
เครื่องดื่มชูกำลังเนื้อเต้น ถูกมองมีคุณค่า ไม่ฟุ่มเฟือย
เครื่องดื่มให้พลังงาน หรือ Energy Drinks เป็นตลาดซอฟต์ดริงก์ที่ใช้จุดขายในการโฆษณาว่าให้พลังงานเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นความสดชื่น ให้ความกระปรี้กระเปร่าแก่ผู้ดื่ม เทียบเท่าเครื่องดื่มปรกติ แถมยังให้พลังงาน แม้จะแตกต่างจากพลังงานที่ได้จากอาหาร เพราะสิ่งที่เติมเข้าไปในเครื่องดื่มกลุ่มนี้คือกาเฟอีน วิตามิน อาหารเสริมพวกเฮอร์บัล
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2552)
สปอนเซอร์ ผ่าทางตัน พลิกรูปแบบเครื่องดื่มเกลือแร่ ขยายฐานใหม่เจาะวัยมัธยม
สปอนเซอร์ หัวขบวนตลาดเครื่องดื่มเกลือแร่ เร่งปรับกลยุทธ์ขยายตลาดรวม เดินเกมเชิงรุกเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ เน้นเจาะกลุ่มวัยรุ่นระดับมัธยมปลาย ด้วยกลยุทธ์พรีเซนเตอร์ ผสานสปอร์ตมาร์เกตติ้ง ควบมิวสิกมาร์เกตติ้ง มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีการเติบโตเพิ่ม 10% ภายในสิ้นปีนี้
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 พฤษภาคม 2552)
2 แบรนด์ยักษ์ตลาดชูกำลัง เปิดศึกสร้างความภักดีแบรนด์
ค่ายเครื่องดื่มชูกำลัง พลิกสถานการณ์เศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยลบนำมาเป็นโอกาส และแม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำจนทำให้กลุ่มลูกค้าหลักของเครื่องดื่มชูกำลังซึ่งอยู่ในภาคแรงงานได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจมีการตกงานมากที่สุด แต่ทั้ง กระทิงแดง และเอ็ม-150 ยังหาโอกาสในการเข้าไปทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายนี้โดยเปิดแนวรุกการตลาดสร้างแบรนด์ลอยัลตี้รูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับแบรนด์ และสร้างภาพลักษณ์ตำแหน่งสินค้าใหม่ มาสู่การช่วงชิงฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ที่สำเร็จการศึกษา และกลุ่มหลักที่เผชิญปัญหาการว่างงานเช่นเดียวกัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 เมษายน 2552)
ตลาดดื่มแก้เมาค้าง บูม แฮง เหลี่ยงปะทะ เวคกี้ ขยายตลาดใหม่กลุ่มผู้หญิง
แม้แฮงจะเป็นผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์แก้อาการเมาค้าง สูตรน้ำ เพียงรายเดียว ที่ปั้นตลาดนี้ขึ้นมา ให้แจ้งเกิดได้ในเวลาเพียง 2 ปี ด้วยการออกสินค้ามา 2 ประเภทคือมีแฮง ออริจินัลและแฮง ฟอร์เพลย์ ซึ่งสามารถสร้างการรับรู้และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ส่งผลให้มียอดขายรวมเดือนละกว่า 1 ล้านขวด จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 3 แสนขวด ขณะที่ตลาดผลิตภัณฑ์แก้อาการเมาค้างปีนี้ รวมทั้งรูปแบบเม็ดและน้ำมีมูลค่า 500-700 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 ตุลาคม 2548)
สลับขั้วเปลี่ยนวัยใส่มาดเด็กดี
เครื่องดื่มน้องใหม่แนวสปอร์ตดริงค์ ที่ล่าสุดได้ออกหนังโฆษณาซึ่งต่อยอดความคิดจากคอนเซปต์เดิมในปีแรกที่ว่า “ชีวิตไม่เคยหยุดนิ่ง” เพื่อสร้างการรับรู้และจับกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นวัยรุ่นเพศชายซึ่งอยู่ในวัยมหาวิทยาลัยจนถึงวัยเริ่มต้นทำงาน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)