เปิดนโยบายเชิงรุก 'บ้านใร่กาแฟ'ชู 'แฟรนไชส์' ขับเคลื่อนธุรกิจ
องค์กรบ้านใร่กาแฟ เพิ่งทำการเลือกตั้งประธานคนใหม่คือ 'อมรรัตน์ คณานุรักษ์' แทน 'สายชล พเยาว์น้อย' ผู้ที่ได้วางรากฐานแนวคิดธุรกิจมาตลอดระยะ 8 ปีที่ผ่านมากับจำนวนสาขา ณ ปัจจุบันที่ 109 สาขา และ กับประธานคนใหม่นี้ ล่าสุดได้ชูนโยบายการดำเนินธุรกิจเชิงรุก ภายใต้การแข่งขันของตลาดกาแฟ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กันยายน 2549)
สงคราม กาแฟ 3 in 1 เกมรบ ที่ไม่มีเวลาหยุดนิ่ง
* ขบวนการบุกตลาดกาแฟทรีอินวัน เดือดพล่าน
* ค่ายเก่า เปิดศึกเฉือดเฉือน ค่ายใหม่ รุมทึ้งชิงเค้กก้อนใหม่แห่งวงการ
* ร้านกาแฟชื่อดัง เริ่มเปิดแนวรบ ส่งโลคอลแบรนด์
* มุ่งตรงตลาดเมือง เขย่าบัลลังค์ เนสกาแฟ ทรีอินวัน
* แต่ขาใหญ่รู้ทัน เปิดเกมรับ ปรับรสชาติใหม่ตั้งแต่ต้นปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม 2549)
'ไทยชง' ชูลงทุน 38,000 บ.เจาะฐานผู้ประกอบการใหม่
ไทยชง เพิ่มรูปแบบลงทุนต่ำ 38,000 บาท สอดรับผลวิจัยพบฐานผู้ประกอบการใหม่ตัดสินใจเริ่มธุรกิจที่ระดับ 30,000 เศษมีจำนวนมากที่สุด ชูจุดเด่นร้านด้วยเคาท์เตอร์เปิดโล่ง ปรับขนาดความกว้าง สูงได้ตามทำเลที่ตั้ง ชี้โอกาสธุรกิจกาแฟยังมีสูงกำไรต่อแก้วให้ได้ถึง 6 บาทหรือ 45% ไม่หวั่นตลาดแข่งเดือนคุมคุณภาพวัตถุดิบมาตรฐานบ้านใร่กาแฟ ตั้งเป้าลุยเปิดครึ่งปี 49 ที่ 20 สาขา พร้อมผนึกพันธมิตรโลตัส เอ็กเพรส มั่นใจสร้างรายได้เพิ่มเป็น 12 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 พฤษภาคม 2549)
กาแฟเดินทัพเข้าครัวสร้างสีสันใหม่ทั้งดื่มทั้งกิน
แม้ว่ารสนิยมการดื่มกาแฟจากลูกค้าคอกาแฟทั่วโลกจะไม่ได้มีท่าทีว่าจะลดลงไป แต่การเพิ่มอัตราการเติบโตของการดื่มกาแฟเป็นไปได้ยาก หนทางขยายตลาดการบริโภคกาแฟจึงไม่แตกต่างจากสินค้าอย่างอื่น คือ ไม่เน้นหนักการเพิ่มแต่เพียงด้านปริมาณการดื่มต่อคนหรือเพิ่มปริมาณจำนวนคนที่ดื่มอย่างเดียว หากยังต้องหาทางสร้างนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ แตกต่างออกไปจากวิถีทางของการบริโภคกาแฟแบบเดิม ในฐานะของผลิตภัณฑ์ในตลาดเครื่องดื่ม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 พฤษภาคม 2549)
โคคา โคล่า เตรียมฟัดสตาร์บัคส์ในสนามเครื่องปรุงกาแฟ
กิจการกาแฟแนวใหม่อย่างสตาร์บัคส์ยังคงเป็นหนึ่งในกิจการที่ตลาดให้ความสนใจ ติดตามความเคลื่อนไหวและผลการดำเนินงานกันอย่างใกล้ชิด และเป็นหนึ่งในประเด็นที่นักการตลาดในวงการพากันวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่ขาดสาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
อโรม่ากรุ๊ป เขย่าตลาดกาแฟไทย
ตลาดกาแฟหอมอบอวล อโรม่ากรุ๊ป เจ้าตลาดกาแฟคั่วบด เดินหน้าเข้าสู่ตลาดกาแฟสำเร็จรูป พร้อมปรับกลยุทธ์สานธุรกิจรอบด้าน ทั้งนำบริษัทขายเครื่องชงกาแฟ ยื่นมือช่วยร้านค้า ขยายสู่น้ำผลไม้ สร้างลูกค้าส่งเข้าร้าน 94? C Coffee และโดดจับธุรกิจบริหารพื้นที่ทั้งกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ สร้างศูนย์การค้าคู่ร้านกาแฟ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
กาแฟทรีอินวัน "ขาขึ้น"กระทบดาวเด่น "เนสท์เล่"
จากข้อมูลเอซีลนีลสัน รายงานถึงสภาวการณ์ตลาดกาแฟสำเร็จรูปกาแฟผงสำเร็จรูป มีสัดส่วนของตลาดใหญ่ที่สุดถึง 70 % และเมื่อไตรมาสที่สามของปี 2548ที่ผ่านมา กาแฟทรีอินวัน ซึ่งเป็นกาแฟเซกเมนต์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงสุด ได้พลิกตัวเลขยอดขายแซงขึ้นมาเป็นสัดส่วน 53% เป็นอันดับหนึ่ง เข้ามาแทนที่ตลาดกาแฟผงสำเร็จรูป ที่มีสัดส่วนลดลงเหลือ 47%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มกราคม 2549)
ก้าวต่อไปสตาร์บัคส์ ขยับจากเพลงมาขายภาพยนตร์
จากที่บุกเบิกตลาดบริการดาวน์โหลดเพลงให้กับลูกค้าคอกาแฟจนมีชื่อเสียงโด่งดังแพร่หลายในวงการเพลงมาแล้ว ยักษ์ใหญ่น้องใหม่ในวงการกาแฟอย่างสตาร์บัคส์ได้ตัดสินใจก้าวต่อไปทันที ด้วยการประกาศว่าจะหันไปจำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์ในร้านกาแฟของตนเป็นธุรกิจต่อไป
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
มอคโคน่า เดินหน้า 3 in 1พลิกภาพสู่กาแฟแมส
เมื่อภาพลักษณ์ความเป็นพรีเมียมแบรนด์ของกาแฟมอคโคน่า ที่มีอยู่ในใจของคอกาแฟหรู กลายเป็นจุดอ่อนในการขยายฐานลูกค้าไปจับตลาดระดับแมส (Regular ) ซึ่งมีสัดส่วนตลาดขนาดใหญ่ถึง 92% ขณะที่กาแฟสำเร็จรูป ระดับพรีเมียมนั้น มีสัดส่วนตลาดเพียง 8% ของตลาดรวมกาแฟสำเร็จรูปมูลค่า 6.8 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มกราคม 2549)