กลยุทธ์เซเล็บและบรรจุภัณฑ์แต้มต่อ 'ดีเซเว่น' รุกคืบกาแฟพรีเมียม
'ดีเซเว่น' เบนเข็มทิศมาร่วมชิงตลาดกาแฟพร้อมดื่มเซกเมนต์พรีเมียม วางหมากสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ขยับจากกาแฟพร้อมดื่มตลาดแมส ขยายฐานมาเจาะกลุ่มคนเมืองด้วย 2 แต้มต่อ กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ผ่านเซเลบริตี้ และบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบถ้วยพลาสติก และขวดแก้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2552)
สตาร์บัคส์ปรับเมนู เสริมภาพลักษณ์สู้เศรษฐกิจ
การแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกิจการชั้นนำในตลาดโลก ทำให้มองเห็นการดิ้นรนทางการตลาดด้วยกลเม็ดต่างๆ ของยักษ์ใหญ่อย่างสตาร์บัคส์มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างที่ไม่ค่อยได้พบเห็นมาก่อนในอดีต
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 กรกฎาคม 2552)
ศึกตลาดกาแฟรักษาหุ่น เนสกาแฟสวมบท 'ผู้ท้าชิง'6 เดือนเบียดบัลลังก์ 'เนเจอร์กิฟ'
ศึกประชันตลาดกาแฟรักษารูปร่าง หลังจากที่เนสกาแฟ ปล่อยคู่แข่งจากวงการขายตรงและความสวยงาม ยึดตลาดกาแฟรักษาหุ่นไปด้วยมาร์เกตแชร์ของ 2 แบรนด์ที่รวมกันแล้วมีเกือบ 90% ล่าสุด เจ้าตลาดกาแฟครองบัลลังก์ทุกเซกเมนต์ ปรับแผนมาใช้กลยุทธ์เชิงรุก ต่อยอดอัมเบรลล่าแบรนด์ 'เนสกาแฟ โพรเทค' กระโจนลงตลาด ทุ่มงบกว่า 200 ล้าน วาดเป้าภายใน 6 เดือน จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นท็อปทรีช่วงชิงแชร์มาได้ 50%
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กรกฎาคม 2552)
สงครามธุรกิจกาแฟโลกเข้าสู่จุดเดือด
ในสภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกย่ำแย่เช่นนี้ ผู้ประกอบการในธุรกิจประเภทต่างๆ ล้วนแต่หาหนทางที่จะประคองยอดขายเอาไว้ ซึ่งน่าจะถือว่าดีที่สุดแล้ว
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 พฤษภาคม 2552)
ศึกร้านกาแฟคั่วสด เดือด 100 องศา ดังกิ้น ท้าดวล สตาร์บัคส์
การปรับ Positioning จากร้านโดนัท มาสู่ร้านกาแฟกาแฟคั่วสด และวางคอนเซ็ปต์เป็นบ้านหลังที่ 3 ของชีวิต หรือ Third Place พร้อมนำเข้ากาแฟคั่วบด สำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์ดังกิ้น ในรูปแบบของถ้วยและซอง จากสหรัฐ ที่สร้างความแตกต่าง (Differentiate)จากคู่แข่งด้วยกลยุทธ์ราคาที่ต่ำกว่า 20-25% เข้ามาทำตลาด ในไตรมาส 3 ส่งผลให้ ดังกิ้น เป็นเชนฟาสต์ฟู้ดอีกรายที่เข้าสู่กระแสตลาดกาแฟระดับพรีเมียมอย่างเต็มตัว หลังจากที่มีผู้เล่นหลายรายเข้าร่วมในสมรภูมิก่อนหน้านี้แล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กุมภาพันธ์ 2552)
“เอฟแอนด์เอ็น”ท้ารบกาแฟทรีอินวัน ปั้นแบรนด์ใหม่โกยแชร์ 1 พันล้านบาท
ผ่ากลยุทธ์ก้าวรุกที่ 2 “เอฟแอนด์เอ็น” ยักษ์เครื่องดื่มรายใหญ่จากต่างประเทศ หลังได้สิทธิ์แบรนด์ดังทำตลาด ตราหมี คาร์เนชั่น และไมโล มาพลิกรูปแบบการตลาดในเชิงรุก ล่าสุดสยายปีกธุรกิจใหม่ที่ยึดหลักพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นผู้กำหนดเกม ตามติดด้วยการเปิดตัว“เอฟแอนด์เอ็น ครีเอชั่นส์”กาแฟผงรูปแบบซอง ลงสมรภูมิทรีอินวัน ประกาศช่วงชิงแชร์ 10% ในตลาดรวมมูลค่า 7 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 ธันวาคม 2551)
"เบอร์ดี้" สู้ศึกกาแฟกระป๋องรอบทิศรายใหม่ รายเก่า รุมชิงตลาดระดับบน - ล่าง
การแข่งขันในตลาดกาแฟพร้อมดื่มแบบกระป๋องปีนี้ ดูจะเข้มข้นขึ้นทุกขณะ เพราะแม้ว่าเบอร์ดี้จะครองตลาดไปแล้วกว่า 60% และเป็นรายแรกๆ ที่เข้าสร้างตลาดมาเป็นเวลากว่า 15 ปี แต่สถานการณ์ในตลาดนี้มีการขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด มีทั้งผู้เล่นรายเก่า และรายใหม่ที่พาเหรดเข้ามาในตลาดรวมมูลค่า 9,500 ล้านบาท เพราะจากเดิมที่มีเพียงผู้เล่นรายหลักคือเบอร์ดี้ ที่เป็นเบอร์หนึ่งมาตลอด ตามติดด้วยเนสกาแฟ 2 แบรนด์ครองตลาดรวมกันไม่ต่ำกว่า 90%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 เมษายน 2551)
ปัจจัยบวก "ร้านกาแฟ" ยังรุ่งทำเล รสชาติ เงินลงทุน
ยังไม่มีการเก็บสถิติมูลค่าธุรกิจร้านกาแฟสดหรือกาแฟคั่วบดในแต่ละปีว่ามีมูลค่าเท่าไหร่ แต่จากการสอบถามของผู้ที่อยู่ในวงการต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะในฟากของการเข้ามาทำธุรกิจไม่นับรวมการจำหน่ายวัตถุดิบและดื่มภายในบ้าน แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการพูดกันถึงการ "หมดยุค" ของการเข้ามาทำธุรกิจกาแฟแล้ว แต่ก็ยังมีรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดจะด้วยรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ แม้แต่กาแฟที่มีราคาขายมีตั้งแต่แก้วละ 20 กว่าบาทไปจนถึงแก้วละหลายร้อยบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 สิงหาคม 2550)
“เนสกาแฟ”ปกป้องตลาดกาแฟ 8 พันล้านบาทชูเอนเตอร์เทนเมนต์ มาร์เก็ตติ้ง รักษาฐานลูกค้าต่างจังหวัด
ตลาดกาแฟผงสำเร็จรูปแข่งแรง ยักษ์เบอร์หนึ่ง “เนสกาแฟ” ปกป้องตลาดจาก “มอคโคน่า” และ“ซูเปอร์ คอฟฟี่”ที่เดินเกมทำตลาดในเชิงรุก เปิดเกมเข้าถึงคอกาแฟอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่ และทุกเซกเมนต์ นำร่องแคมเปญการสื่อสารการตลาดเชื่อมต่อสินค้า แบรนด์กาแฟทรีอินวัน ด้วยภาพยนตร์และกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งอุดช่องว่างต่างจังหวัด พร้อมโหมโฆษณากาแฟผงสำเร็จรูปผ่านสื่อทีวีอย่างต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 กรกฎาคม 2550)