โลว์คอสแอร์ไลน์ปรับทัพรับท่องเที่ยวไฮซีซั่น
การเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ทางการตลาดของสายการบินเริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเที่ยวบินไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่คาดว่าน่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ ที่ล่าสุดมีสายการบินทั้งในและต่างประเทศเดินทางเข้าไปมากว่า 8 สายการบิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 พฤศจิกายน 2549)
โลว์คอสแอร์ไลน์ปรับตัวสู้วิกฤติ!...ช่วงชิงความเป็นหนึ่ง
ยุทธการเปิดศึกระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำเริ่มร้อนระอุขึ้นมาอีกครั้ง หลังเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเชิงพาณิชย์ได้ไม่นานส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินไม่น้อย ทั้งในแง่ของจำนวนผู้โดยสารลดลงและต้นทุนของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการปรับตัวของแต่ละสายการบินเพื่อต่อสู้กับวิกฤติจึงเป็นช่วงจังหวะชนิดที่ใครดีใครได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ตุลาคม 2549)
โลว์คอสแอร์ครึ่งปีหลังแข่งดุ...ปรับแบรนด์แปลงโฉมกลยุทธ์เพียบ
ปฏิบัติการครึ่งปีหลังของการแข่งขันธุรกิจแอร์ไลน์ ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายออกมากระตุ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายสำหรับลูกค้าโดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำที่เริ่มปรับตัวสร้างแบรนด์เฉพาะขึ้นมาในภาวการณ์แข่งขันที่ร้อนแรง ก่อนที่จะเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเชิงพาณิชย์ประมาณปลายเดือนกันยายนศกนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 สิงหาคม 2549)
ล้วงกลยุทธ์ 'วัน ทู โก'คว้า ‘พันธมิตร’ ตอบโจทย์ธุรกิจ
วันทูโก สายการบินราคาประหยัดรายแรกของไทย เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว และที่ผ่านมาการขับเคี่ยวระหว่างสายการบินราคาประหยัดด้วยกันคือแอร์เอเชียและนกแอร์เป็นไปอย่างเข้มข้น โดย 2 รายนี้พยายามชูนโยบายด้านราคา ลดต้นทุนต่างๆ ลง เพื่อจูงใจผู้โดยสารและราคาไต่ระดับตั้งแต่ราคาถูกสุดสำหรับผู้ที่จองล่วงหน้า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)
“ไทยแอร์เอเชีย”ปรับทัพรับศึกปีจอ ขอเป็นผู้นำเพิ่มเครื่อง...เส้นทาง...บริการบันเทิงเพียบ!
ในยุคที่ใครๆก็บินได้ทำให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ(โลว์คอสต์แอร์ไลน์)สร้างความโดดเด่นและมีอัตราการเติบโตที่ต่อเนื่องในช่วงปี 2548 ที่ผ่านมา จนก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆของวงการบินในเมืองไทย แน่นอนกรณีศึกษาของ “ไทยแอร์เอเชีย”ที่สร้างเสน่ห์เย้ายวนใจมากกว่าสายการบินอื่นด้วยราคาตั๋วที่แข่งกันลดและโหมโปรโมชั่นตลอดทั้งปีที่ผ่านมาสร้างความฮือฮาและประสบความสำเร็จไม่น้อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มกราคม 2549)
ปฏิบัติการยึดน่านฟ้า “โลว์คอส”ปี'49...ใครคือจุดอ่อน?
ใครจะรู้ว่าเพียงระยะเวลาแค่ปีกว่าๆ สายการบินโลว์คอสจะมีอิทธิพลมากเสียจนกระทั่งสามารถขึ้นมาผงาดต่อกรกับสายการบินยักษ์ใหญ่อย่างการบินไทยได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่สายการบินราคาถูกยังคงมัวแต่มุ่งห้ำหั่นกันเฉพาะเรื่องของราคาถูกเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะมาถึงจุดอิ่มตัวแล้วก็เป็นได้ การเปิดเส้นทางบินใหม่ ให้ครอบคลุมทุกจุดหมายปลายทางคือหนทางหนึ่งที่จะทำกำไรให้กับสายการบินได้ในอนาคต เพื่อสร้างความจงรักภักดีลูกค้าให้เกิดขึ้นกับธุรกิจการบินของตัวเอง ถือเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่เหล่าบรรดาโลว์คอสต์หันมาให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มกราคม 2549)
แอร์โลว์คอสมีเดีย สื่อใหม่มาแรง
โอมาย – แม็กซ์เมคเกอร์ ตั้งหน้าลุยบริหารสื่อบนเครื่องโลว์คอส นกแอร์ – ไทยแอร์เอเชีย เตรียมผุดพื้นที่ใหม่ติดสร้างรายได้รับการเติบโตสื่อใหม่ฐานลูกค้ายังน้อยโอกาสเติบโตอีกมาก เล็งอนาคตโกอินเตอร์หวังเข้าไปบริหารสื่อโฆษณาโลว์คอสในภูมิภาค
ด้วยความเป็นโลว์คอสต์แอร์ไลน์สายการบินต้นทุนต่ำจึงทำให้ต้องตัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่วนที่ฟุ่มเฟือยออกไปแล้วยังจะต้องหารายได้จากช่องทางอื่นเข้ามาเสริมอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น การขายอาหารและเครื่องดื่มบนไฟรท์รวมถึงการขายพื้นที่สื่อโฆษณา แตกต่างจากสายการบินค่ายใหญ่ซึ่งเราจะไม่เห็นรูปแบบดังกล่าวนี้เนื่องจากได้มีการรวมต้นทุนทุกอย่างเข้าไปอยู่ในราคาตั๋วค่าโดยสารหมดแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)
เผยโฉมสายการบินทางไกล"โลว์โคอสต์"
สายการบินโลว์คอสต์ขายตั๋วราคาถูก จะให้บริการได้เฉพาะการเดินทางในเส้นทางสั้นๆ นี่เป็นความคิดที่ยอมรับกันทั่วไปในอุตสาหกรรมสายการบินจวบจนถึงขณะนี้ โดยอาจจะมีข้อยกเว้นบ้างก็เพียงส่วนน้อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 พฤศจิกายน 2548)
ถึงเวลา “โลว์คอสแอร์ไลน์”ไล่บี้...ใครดีใครอยู่!
-เศรษฐกิจผกผัน ราคาน้ำมันเพิ่ม คนเดินทางน้อยลง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบินแน่
-จับตาธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอ
-หันจับทางกลยุทธ์ตลาดเป็นที่พึ่งหนีตาย การปรับตัวของแต่ละค่ายต่างงัดทีเด็ดเข้าฟาดฟันกัน
-ประดุจหนึ่งต้องการให้หลุดจากวงจรธุรกิจการบิน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)