เจาะแผน โลว์คอสต์ ชิงใจลูกค้า ปรับตัวสู้วิกฤตน้ำมันแพง!
สงครามราคาน้ำมันเดือด กดดันให้โลว์คอสต์แอร์ไลน์ต่างปรับกลยุทธ์และเริ่มเปลี่ยนเกมรบใหม่ทันทีเมื่อผู้เล่นหลัก 3 ค่าย ทั้งนกแอร์ วันทูโก และไทยแอร์เอเชีย พร้อมใจกันปรับแนวทางการสื่อสารใหม่ หลังจากที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นทำนิวไฮติดต่อกันมาตลอดเกินร้อยเหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และเริ่มพ่นพิษใส่ธุรกิจสายการบินอย่างชัดเจนเนื่องจากราคาเชื้อเพลิงนั้นถือเป็นต้นทุนหลักในการทำธุรกิจการบิน คิดเป็นสัดส่วน 25-30%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 เมษายน 2551)
โลว์คอสต์แผงฤทธิ์!...จับกลเกมการเงินลุยธุรกิจโรงแรม
ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย มักเห็นภาพของการลงทุนอยู่ 2 แบบคือ โรงแรมหรูระดับ 5 ดาวบวกๆ กับโรงแรมระดับล่างที่อยู่ระหว่าง 1-2 ดาว หากแต่ว่ากระแสการลงทุนโรงแรมในโมเดลของราคาประหยัดถือเป็นรูปแบบการลงทุนใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในไทย โดยที่ผ่านมาที่พักราคาถูกส่วนใหญ่มักจะเป็นในรูปของเกสต์เฮาส์และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ต่างๆ สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวแบ๊คแพ็ค ในขณะเดียวกันหลังจากโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ มีการขยายเส้นทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้กลุ่มทุนต่างๆเริ่มหันมาจ้องเตรียมลงทุนก่อสร้างโรงแรมในลักษณะราคาประหยัด โดยเน้นเรื่องของราคาถูก บริการที่สะอาด สะดวกและปลอดภัย เป็นหลัก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มีนาคม 2551)
“โลว์คอส”เอเชีย 51...ฝุ่นตลบ ต่างชาติรุกไทยขยายอาณาจักร
ตัวเลขข้อมูลจากศูนย์กลางการบินเอเชีย-แปซิฟิก (คาปา) องค์กรที่ปรึกษาการบินระดับภูมิภาคระบุว่า ปริมาณการสั่งซื้อจำนวนเครื่องบินของสายการบินทุนต่ำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เพิ่มขึ้นจากประมาณ 300 ลำ ซึ่งมีที่นั่งโดยสาร 45,000 ที่นั่ง ไปเป็น 870 ลำพร้อมที่นั่งโดยสาร 170,000 ที่นั่งภายในปี 2555บ่งบอกได้ว่าจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมการบินต้นทุนต่ำจะครองส่วนแบ่งตลาด 25% ในภูมิภาคนี้อีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเพิ่มจากปัจจุบันถึงสองเท่าทีเดียว ขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำพร้อมเดินหน้าแข่งขันกับบรรดาคู่แข่งให้บริการเต็มรูปแบบ ซึ่งเชื่อได้ว่าจะเป็นการแข่งขันทั้งในตลาดการบินระยะใกล้และระยะไกลที่ดุเดือด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 มกราคม 2551)
ศึกสามเส้า “โลว์คอส”ไทย...แก้เกมการตลาด
ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์ใหม่ของอุตสาหกรรมการบินในเมืองไทยที่เปิดให้บริการด้วยสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอส แอร์ไลน์) ส่งผลให้การตัดสินใจเดินทางด้วยเครื่องบินของคนไทยสะดวกมากขึ้น จากราคาตั๋วโดยสารที่ถูกลง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มกราคม 2551)
เผย 4 ปัจจัยเสี่ยงนั่งโลว์คอสต์ เหมือนฝากชีวิตกับรถเมล์ร่วมฯ
นักบินชี้ 4 ปัจจัยเสี่ยงใช้บริการโลว์คอสต์ ล้วนนำมาซึ่งอุบัติเหตุ ด้าน “กัปตันโลวต์คอสต์” ยืนยันทำการบินต่อวันไม่เกินมาตรฐาน ICAO พร้อมเชื่อมั่นคนยังนิยมนั่งโลว์คอสต์ เพราะราคาถูก และโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยสุดๆ ขณะที่ “ททท.-นกแอร์” ประสานเสียงเชื่อมั่นกระทบแค่ระยะสั้น แต่ระยะยาวโลว์คอสต์ยังไปได้สวย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 กันยายน 2550)
วิบากกรรม “ไทยแอร์เอเชีย”เวอร์ชั่น 3
การปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ทั้งหมดของไทยแอร์เอเชียกลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง และส่งผลให้ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำที่มีสโลแกนว่า “ใครๆก็บินได้”ถูกจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกแต่เป็นการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นครั้งที่สองหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น ซึ่งนับจากนี้เป็นต้นไปจะเป็นการชี้ชะตาว่าไทยแอร์เอเชียจะสามารถหลุดรอดพ้นจากวิถีทางการเมืองได้หรือไม่?...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 มิถุนายน 2550)
ผ่าแผนธุรกิจแอร์ไลน์…ปฏิบัติการยึดน่านฟ้าในประเทศ
ในที่สุด “ดอนเมือง”ก็เปิดให้บริการอีกครั้ง เส้นทางบินในประเทศกว่าครึ่งถูกย้ายมาอยู่ที่นี่ ขณะที่ธุรกิจการบินต่างเร่งปรับแผนกลยุทธ์
หวังสร้างแบรนด์ไทยให้เกิดขึ้นบนสนามบินแห่งนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 เมษายน 2550)
“อะเมซิ่งไทยแอร์เอเชีย”…ความท้าทายสไตล์โลว์คอส
การยิงสปอร์ตโฆษณาผ่านสื่อทีวีของสายการบินต้นทุนต่ำไทยแอร์เอเชีย อยู่บ่อยครั้งในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “อะเมซิ่ง ไทยแอร์เอเชีย” กำลังบ่งบอกถึงมิติใหม่ของธุรกิจการบิน ที่ไม่เพียงแต่จะเน้นในเรื่องของราคาถูกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น...การสร้างอิมเมจด้านบริการถือเป็นหัวใจหลักที่กลุ่มไทยแอร์เอเชียพยายามหันมาหยิบยกให้เห็นภาพชัดเจนกันมากขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มกราคม 2550)
ถึงเวลาสู้ศึก “โลว์คอสแอร์ไลน์”ผู้โดยสารเตรียมตัว...เที่ยวบินเพิ่ม-โปรโมชั่นเพียบ!
การปรับตัววางยุทธศาสตร์ของสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ในช่วงต้นปี 2007 เริ่มเห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากทุกสายการบินเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศมากว่า 3 ปี ล่าสุดทุกสายการบินอาทิ ไทยแอร์เอเชีย วัน-ทู-โก และนกแอร์ หลังจากมีการรับมอบเครื่องบินเพิ่มขึ้นในปี 2550 ศักยภาพความพร้อมที่บุกตลาดต่างประเทศก็มีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทุกสายการบินต้นทุนต่ำเริ่มเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2550)