ประกันชีวิตแข่งโชว์สเต๊ปเร่งขยายฐานลูกค้าตีคลาดสุขภาพหลังเผชิญความเสี่ยงรอบด้าน
ตลาดประกันชีวิตครึ่งปีหลังยิ่งคึกคัก หลังจับทางความต้องการลูกค้าถูกจุด เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญความเสี่ยงด้านสุขภาพรอบด้านอีกเพียบจากโรคสายพันธุ์ใหม่ๆ ล่าสุดไข้หวัดใหญ่2009 ที่ระบาดไปทั่วโลกจนสร้างความตื่นกลัวต่อทุกสังคม งานนี้ 'เมืองไทยประกันชีวิต' และ 'เอไอเอ'เล่นเกมรุก เพิ่มสิทธิ์ประโยชน์ให้ลูกค้าเมื่อป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ด้าน 'เอเอซีพี' เปิดตัวครึ่งหลังด้วยแบบประกันชีวิตสำเร็จรูป มั่นใจโดนทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่วนพรูเด็นเชียล ออกแผนออมสั้น จุดเด่นคุ้มครองโรคร้ายแรง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 มิถุนายน 2552)
บันทึกชั่วโมงวิกฤต AIG(AIA) เฉือนหุ้น-ขายแบงก์ต่อลมหายใจ
บันทึกเสี้ยวนาทีประวัติศาสตร์ในรอบเกือบ 100 ปีของ "AIG" และ "AIA" ชั่วโมงวิกฤต ประกาศขายทรัพย์สินในมือ และขายหุ้นบางส่วน โฟกัสไปที่ หน่วย "คอนซูเมอร์ ไฟแนนซ์ กรุ๊ป หรือ CFG " ใน 11 ประเทศ พร้อมตัดใจเฉือนหุ้นบางส่วนของ "AIA ประกันชีวิต" ในเอเชีย-แปซิฟิค แต่ยังคงเก็บธุรกิจน่าหวงแหนอย่างประกันภัย "หัวใจ" การทำรายได้และกำไร ชนิดไม่ให้ใครได้เชยชม "ธนาคาร AIG เพื่อรายย่อย" และ "AIG การ์ด ประเทศไทย" คือ ทรัพย์สินก้อนแรกที่จะตัดขายออกไป ก่อนจะต่อด้วยหุ้นบางส่วนของ AIA ประกันชีวิต แถบเอเชีย ตอกย้ำ ระหว่างคัดสรรพันธมิตรใหม่ ที่จะเข้ามาดำเนินการต่อ ส่วนลูกค้าแบงก์และผู้ถือกรมธรรม์ไม่มีผลกระทบ เพราะทรัพย์สินและเงินสดยังอยู่ครบ ภายใต้กฎหมายไทย...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2551)
ผ่ากลยุทธ์สื่อสาร จากเอนรอนถึง AIG
ภาพลักษณ์ หรือ Image ได้รับการพิสูจน์มานานหลายสิบปีแล้วว่ามีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของกิจการในโลกการตลาดยุคนี้
มีหลายอาณาจักรยักษ์ใหญ่หลายรายบนโลกธุรกิจธุรกิจต้องมามีอันล่มสลาย และเสียชื่อเสียงที่สั่งสมมานาน ไม่ว่าจะเป็น เอนรอนจากการฉ้อโกงทางบัญชี และใช้ตัวเลขที่หลอกลวง มาจนถึงบริษัทเวิลด์คอม ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดของโลก และผู้ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐฯ ที่ตกอยู่ในฐานะล้มละลาย เมื่อปี 2545
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กันยายน 2551)
"ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต"การตลาดคลุกฝุ่น "เอไอเอ" แทรกซึมชุมชน "รากหญ้า"
ศูนย์ฝึกอบรมแห่งที่ 2 บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ มูลค่าร่วม 200 ล้านบาท ที่ขอนแก่น ที่ซึ่ง "เอไอเอ" อวดอ้างว่าใหญ่ที่สุดในดินแดนอุษาคเนย์ น่าจะบอกเป็นนัยได้ถึงศูนย์บัญชาการแห่งใหม่ที่จะเป็น "ปากทางอีสาน" เป็นสะพานทอดไปถึงประตู "อินโดจีน" ดินแดนที่กำลังจะกลายเป็นอาณาจักรแห่งใหม่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
คนแปลกหน้าชื่อ"เอไอเอ"การตลาดเชิงรุกยุคนายฝรั่ง
ตลอดเวลา 3 ปี ที่ "โทมัส เจมส์ ไวท์" นายฝรั่งคนใหม่ ถูกส่งตัวจาก "เอไอจี" มานั่งประจำเก้าอี้นายใหญ่ "เอไอเอ" ประจำประเทศไทย ก็ดูเหมือนว่า ยักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่งในธุรกิจประกันชีวิต จะได้ใช้โอกาสนี้เรียนรู้การทำตลาดเชิงรุกอย่างเอาจริงเอาจังครั้งหนึ่ง ....ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านั้น "เอไอเอ" แทบไม่ต้องกระดิกตัว จนกลายเป็น "ยักษ์ใหญ่" นอนคุดคู้ ปล่อยให้คู่แข่งเบียดชิงพื้นที่ไปต่อหน้าต่อตา ...การเผลอหลับใหลในขณะที่สภาพตลาดและผู้เล่นเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้ "เอไอเอ" ยุค "นายฝรั่ง"ต้องหันมาทำความรู้จัก และแนะนำตัวเองกับตลาดท้องถิ่นอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ผ่านโปรเจ็กต์ "คนแปลกหน้า" แคมเปญโฆษณาที่ "เอไอเอ" ใช้เป็นเครื่องมือให้ "นักรบ" หรือตัวแทน เพิ่มผลผลิต ด้วยการสร้างฐานลูกค้าใหม่จากกลุ่มลูกค้าเดิม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 ธันวาคม 2549)
"เอไอเอ"สำรวจคนไทยกระเป๋าพร่องกว่าครึ่งหมดปัญญาจ่ายรักษาโรคร้าย
ดัชนี "ไลฟ์-แมทเทอร์ส" ที่ "เอไอเอประกันชีวิต" ยกขึ้นมากล่าวอ้าง บ่งบอกข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ ความเสี่ยงจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลโรคร้าย พบผลสำรวจมากกว่าครึ่งอาจไม่มีกำลังเพียงพอจะควักกระเป๋าจ่ายในระยะยาว กลายเป็นโอกาสที่ "เอไอเอ"จะออกโปรดักส์พ่วงโรคร้ายขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ตุลาคม 2549)
"เอไอเอ"ยักษ์ใหญ่ตลอดกาลพลาดท่าเสียที"รีแบรนดิ้ง"ปฏิวัติภาพลักษณ์อ้วนอุ้ยอ้าย
คงเป็นเรื่องนอกเหนือจินตนาการ ถ้า"จ่าฝูง"เบอร์หนึ่งธุรกิจประกันชีวิตที่เคยครอบครองพื้นที่ส่วนแบ่งการตลาดมากเกินกว่าครึ่งของทั้งอุตสาหกรรมอย่าง "เอไอเอ" อเมริกา จะประกาศ "รีแบรนดิ้ง" ชนิดรื้อโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กร ทั้งๆที่ชื่อติดตลาด เป็นที่รู้จักในฐานะองค์ใหญ่ยักษ์ แต่ถ้าทำความเข้าใจกับสถานการณ์รายรอบที่บีบรัดตัวอย่างมาก รวมเข้ากับการปรากฎตัวของ "ผู้เล่นหน้าใหม่" จากทั่วทุกมุมโลก ก็น่าจะพออธิบายถึง ต้นเหตุการปฏิวัติตัวเองของ "เอไอเอ"ที่คงบอกได้ว่า ยักษ์ใหญ่ตลอดกาลจะไม่ยอมเพิกเฉยหรือนั่งสัปงกกลางสมรภูมิอย่างแน่นอน...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มกราคม 2549)
คนไทยกลุ่มเสี่ยงสูงจากอุบัติเหตุ พบส่วนมากวางแผนการเงินไม่ดี
การสำรวจเกี่ยวกับทัศนคติในเรื่องความเสี่ยงและการคุ้มครองความเสี่ยงบุคคล ของเอไอเอ ด้วยดัชนี “ไลฟ์-แมทเทอร์ส”พบว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนถือเป็นอุบัติเหตุหลักในประเทศไทย โดยผลการสำรวจแสดงออกมาว่าชาวไทย 29%เคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน และอีก 24%เคยได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุในที่พักอาศัย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)