ซีพี-ลอรีอัล-ปริญสิริ กระหน่ำสร้างแบรนด์จัดเต็มการตลาดออนไลน์รับต้นปี
ประเดิมรับต้นปี ในไตรมาสแรกแบบ “จัดเข้ม”สำหรับการตลาดออนไลน์ ( Online Marketing )ในการสื่อสารการตลาด เพื่อสร้างแบรนด์ 3 แบรนด์ดัง “ ซีพี-ลอรีอัล-ปริญสิริ” จากกลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภคและอสังหาริมทรัพย์ ตอบโจทย์ไลฟสไตล์ผู้บริโภควัยทีน และคนรุ่นใหม่ชอบแบ่งปันข้อมูล และค้นหาข้อมูลในโลกออนไลน์ด้วยตัวเองมากขึ้น
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 เมษายน 2554)
“ลอรีอัล” วาง 3 ยุทธศาสตร์ เพิ่มฐาน 10 ล้านคนใน 5 ปี
ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Faster-Wider-Better” พร้อมอัดงบ 4 เท่า ทุ่มใช้สื่อดิจิตอลสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ตั้งเป้าสยายปีกเพิ่มฐานลูกค้าคนไทยอีก 10 ล้านคน และขยายการเติบโตมากกว่าตลาดอย่างน้อย 3 เท่า พร้อมครองส่วนแบ่งเพิ่มจาก 10 เป็น 15% ภายใน 5 ปีนับจากนี้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มีนาคม 2554)
ไขปริศนา “การ์นิเย่”เขย่าตลาดสกินแคร์
โดยปัจจัยที่เป็นส่วนผลักดันให้การ์นิเย่เติบโตได้อย่างรวดเร็วนั้น จะเห็นว่าเครื่องมือที่ถือเป็นไฮไลต์สำคัญช่วยจุดกระแสให้การ์นิเย่เป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ต้องยกให้ “แถบวัดระดับสีผิว” เพราะไม่เพียงจะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์เท่านั้น แต่เจ้าเครื่องมือดังกล่าวยังช่วยตอกย้ำจุดขายเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ที่พิสูจน์ได้” โดยเป็น message ที่ผู้เล่นรายนี้ใช้สื่อสารกับผู้บริโภค
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 สิงหาคม 2553)
ลอรีอัลขยับขยายธุรกิจด้านดูแลผมมากขึ้น
การดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล หรือแคร์โปรดักส์ เป็นกลุ่มธุรกิจที่เผชิญหน้ากับการแข่งขันสูง และมีความท้าทายทางธุรกิจมากมาย ผู้นำในทางการตลาดของผลิตภัณฑ์พวกนี้ในตลาดโลกจึงมีความตื่นตัวและกิจกรรมทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 มีนาคม 2551)
"ลอรีอัล"บุกตลาดความงามเต็มสูบสิ้นปีหวังโต 20%สูงสุดในรอบ5ปี
ลอรีอัล ชูสินค้าในเครือ 15 แบรนด์เป็นเรือธง รุกตลาดความงามทุกช่องทางในปี'50 เผยตัวเลขครึ่งปีแรกพุ่ง 21% โตเป็นอันดับสองของเอเชีย พร้อมวางนโยบายบุกสกินแคร์-แฮร์แคร์ต่อเนื่อง ล่าสุดเตรียมส่ง "เมทริกซ์" ผลิตภัณฑ์เพื่อเส้นผม เจาะช่องทางซาลอนจับลูกค้าระดับแมส หลังจากต้นปีเข็น "แอลแซฟ" ลุยศึกแชมพูพรีเมียม-แมส ดูดแชร์ได้ 5% ภายใน 3 เดือน การบุกหนักครั้งนี้ลอรีอัลหวังโตถึง 20% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 กรกฎาคม 2550)
ตามยุทธศาสตร์ลอรีอัล ยักษ์ผู้ผลิตก้าวสู่สงครามค้าปลีก
ลอรีอัล เลิกเหวี่ยงแห เน้นปั้นสินค้าเรือธงสร้างรายได้หลัก ชี้ตลาดสกินแคร์ไทยมีศักยภาพ ดันการ์นิเย่ร์ , ลอรีอัล ปารีส สู้ศึกเครื่องสำอางแมส ด้านช่องทางซาลอน หันให้ความรู้เชิงลึกกับผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น เตรียมปูทางรับบทบาทใหม่ จากผู้ผลิตสู่ผู้ค้าปลีก หลังลอรีอัล ปารีสเข้าซื้อกิจการ "บอดี้ช็อป" ทั่วโลก นับเป็นก้าวสำคัญที่บรรดาคู่แข่งในกลุ่มสกินแคร์ต้องจับตามอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
SARON WAR
"ซาลอน" อีกหนึ่งช่องทางขายที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม ตั้งแต่ ครีมเปลี่ยนสีผม ย้ำยาดัดผม ยืดผม แม้จะไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับช่องทางรีเทล ทว่า การแข่งขันกลับดุเดือด ร้อนแรงไม่แพ้ช่องทางอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยักษ์เครื่องสำอางอย่าง "ชิเซโด" เปิดศึกชิงเค้กอย่างเต็มตัว ทั้งที่มี ลอรีอัล ชวาร์สคอฟ และเวลล่า ผู้เล่นหลักของตลาดกำลังฟาดฟันกันอย่างดุเดือด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มกราคม 2549)
ลอรีอัลหันเอาใจสาวผิวสี เหตุใจถึงกว่าในการดูแลผม
ผลิตภัณฑ์ดูแล และบำรุง สร้างสีสันให้กับเส้นผมยังคงครองตลาดโลก แถมทำท่าว่าจะยังรักษาอัตราการเติบโตที่สูงมากต่อไป เพราะลูกค้าทั่วโลกยังคงใส่ใจกับเส้นผมอยู่อย่างเหนียวแน่น ไม่มีแนวโน้มที่จะเบื่อหน่ายแต่ประการใด
ยิ่งกว่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ ลอรีอัลผู้นำกิจการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมของยุโรป ได้สำรวจพฤติกรรมการดูแลเส้นผมของกลุ่มลูกค้าผู้หญิงที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของตนแล้วพบกับความจริงที่น่าแปลกใจว่า ผู้หญิงกลุ่มสีผิวยอมเสียเงินไปกับการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมมากกว่าลูกค้าผิวขาวถึง 6 เท่า
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)
ลอรีอัล ยกเลิกแผนการซื้อคาเนโบ
ยักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส ลอรีอัล ได้ตัดสินใจถอนตัวออกจากความพยายามในการเข้าไปซื้อกิจการเครื่องสำอางขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของญี่ปุ่น บริษัท คาเนโบ คอสเมติกส์ และบริษัท คาเนโบ ที่ประสบปัญหาการดำเนินงาน หลังจากพบว่ามีการทุจริตทำนองเดียวกับกรณีของบริษัท เอนรอน ด้วยการบันทึกรายการทางบัญชีด้วยการทำรายการรายได้เกินกว่าที่เป็นจริงมานานกว่า 5 ปี และเมื่อกลับรายการทางบัญชีจนเป็นไปตามความจริง ได้ทำให้กิจการกลับไปมีผลขาดทุนเกินกว่าที่จะทำกำไร
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 ตุลาคม 2548)