แผนปั้นเศรษฐกิจทรท.สะดุดตอ ประชาชนรับกรรมแบกภาระแทนรัฐ
แม้ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไม่รับตำแหน่ง แต่ผลจากโครงการที่วางไว้กลับสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตประชาชน บางรายต้องซื้อบ้านหวังพึ่งรถไฟฟ้าใต้ดิน กลับแพงกว่าปกติ หลังจากที่เมกะโปรเจกท์ต้องยืดออกไปไม่มีกำหนด ส่วนผู้ประกอบการต้องวัดดวงอยู่หรือไป แถมแผนระดมเงินออมหนุนโครงการพ่นพิษให้ดอกเบี้ยกู้พุ่ง ค่าไฟฟ้าที่หวังดันกฟผ.เข้าตลาดหุ้น กลับทำลายกำลังซื้อ หวั่นหนี้ไม่ก่อรายได้พอกพูน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 เมษายน 2549)
ทักษิณกินรวบประเทศไทย!
นักวิชาการรุมจวก"ทักษิณ " บริหารภายใต้ Conflict of interest ใช้อำนาจรัฐออกกฎหมายเอื้อธุรกิจส่วนตัว และกลุ่มพวกพ้อง แต่ละเลยกฎหมายบางฉบับ โดยเฉพาะกม.เกี่ยวกับการแข่งขันเสรี อุ้มธุรกิจผูกขาด แถมเข้าข่ายฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ชำแหละกฎมายสำคัญที่แก้เพื่อกลุ่มก๊วน จี้หมดเวลานั่งนายกฯ เหตุขาดจริยธรรม!
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 กุมภาพันธ์ 2549)
ใบสั่ง “เชลียร์” มีเดียแตกแถว ปลดแน่!
“สื่อเชลียร์มีเดีย” ผุดขึ้นราวดอกเห็ด สนองผู้นำชอบคำสรรเสริญเยินยอ แต่กลัวความจริง สวนทางสื่อนอกแถวถูกปิดปากเรียบ ระบุสื่อยุคนี้ตกอยู่ในสภาพหวาดกลัวยิ่งกว่ายุค รสช.
กรมกร๊วก ได้ทีเปิดโมเดลใหม่ ดึงเอกชนสร้างเรตติ้ง เพิ่มรายการเชลียร์รัฐเพียบ
คนวงการย้ำ รัฐครอบงำสื่อจนน่ารังเกียจ ประกาศมี กสช.เมื่อไร “สุรนันทน์” โดนเช็กบิลทันที
ดูจะจะมาตรการ “สวนหมัด” ของสื่อภาครัฐกับภาคประชาชน ตอบโต้สุดมันในทุกรูปแบบ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
“อนันต์”เฟื่องยุค “ทักษิณ”เปิดความสัมพันธ์ไทยรักไทย
*ตำนานความสัมพันธ์”อนันต์ อัศวโภคิน” กับแกนนำเครือข่าย ทักษิณ ชินวัตร
*เบื้องหลัง แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ปรับตัวเร็ว รับผลพวงโครงการมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ โกยกำไรนับพันล้าน
*กลยุทธ์บริหารความสัมพันธ์กับการเมือง ไทยรักไทย ขณะที่สังคมจับตา อนันต์ จะเข้าสู่วงการเมืองไหม?
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 ธันวาคม )
"ออมสิน"แบงก์รัฐขวัญใจคนจน ปล่อยกู้รากหญ้าฐานสำคัญที่ถูกเมิน
รากหญ้ากลุ่มชนที่มักถูกธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการให้สินเชื่อ ด้วยถูกเพ่งเล็งว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง กู้เงินแล้วโอกาสเป็นหนี้เสียค่อนข้างมาก ทำให้กลุ่มชนดังกล่าวถูกปิดตายอยู่ในโลกที่ปราศจากโอกาสการสร้างตัวสร้างอาชีพ ขาดแหล่งทุนที่เป็นปัจจัยสำคัญของการเปิดประตูแห่งโอกาส แต่วันนี้ประตูดังกล่าวได้แง้มเปิดขึ้นโดยผ่านธนาคารรัฐอย่าง "ออมสิน"ที่มาพร้อมกระแสนโยบายประชานิยม กระนั้นก็ตามสำหรับรากหญ้าแล้วการเข้าถึงแหล่งทุนเป็นสิ่งสำคัญเพราะหมายถึงโอกาสในการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 พฤศจิกายน 2548)
รัฐทุ่มงบกว่า 5 แสนล้าน กั้นน้ำท่วม"นครสุวรรณภูมิ"
รัฐเตรียมทุ่มงบ 5 แสนล้าน ป้องกันน้ำท่วมขัง"นครสุวรรณภูมิ" และบริเวณใกล้เคียง เล็งพลิกโฉมพื้นที่ลาดกระบัง ประเวศ บางพลี และบางบ่อ ขึ้นแท่นเมืองใหม่และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางทางการบินและขนส่ง แหล่งอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ ชูเป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย เทียบชั้นฮ่องกง และสิงคโปร์ ขณะที่ นักธุรกิจจัดสรรเตรียมผุด 200 โครงการ ด้านโยธาฯแนะกลยุทธ์เลือกซื้อบ้านในเขตนครสุวรรณภูมิ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)
"บัณฑูร" ลั่นไม่ลงสนามการเมือง ยันเป็นพันธมิตรทุกพรรค!
หลายครั้งเมื่อประชาธิปัตย์เดินมาถึงทางตัน ไม่สามารถสร้าง "จุดขาย"ขึ้นมาเทียบเคียงความสดใหม่ กับไทยรักไทย ของนายกฯทักษิณ ชินวัตร ได้ และบ่อยครั้งที่มักถูกถามไถ่ถึงภาพลักษณ์แห่งความเป็น "ผู้นำ"ที่สร้างความเหนือชั้นได้ใกล้เคียงกับ นายกฯทักษิณ คำถามเหล่านี้กลายเป็นแรงกดดันที่ทำให้หลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ ต้องหาคำตอบเรื่อยมา
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 ตุลาคม 2548)
"คงศักดิ์"ไอเดียสุดเก๋ "บอล"ดับไฟใต้ "ชูวิทย์"กางโพยแฉ 25 สน.ฉาว
ไอเดียกระฉูดเกินหน้าบรรดารัฐมนตรีในครม.นาทีนี้คงไม่มีใครเกิน "พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา"ไปได้ เพราะการนำเสนอแนวคิด 1 ทีวี 1 หมู่บ้านครั้งนี้ท่านมท.1 หวังที่จะใช้เป็นเครื่องมือดึงวัยรุ่น และเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้หันมาสนใจกีฬา แทนการถูกชักจูงไปพัวพันกับความรุนแรง โดยภายระยะเวลา 1 เดือนนี้จะติดตั้งทีวี ตามร้านกาแฟ ร้านน้ำชา กระจายไปทั่วทั้ง 500 เครื่อง 500 หมู่บ้าน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 สิงหาคม 2548)
"ป๋าเปรม"กระตุกต่อมคอร์รัปชัน ยุคทักษิณถูก "ว๊าก"มากสุด!
"ทักษิณ"ผู้นำคนเก่ง ทำลายสถิติ ถูก "ป๋าเปรม" ออกโรงเตือนสติมากที่สุด นักรัฐศาสตร์ชี้ "พล.อ.เปรม"คือศูนย์รวมใจของชาติ จึงได้รับแรงเชียร์ เด็กทรท.มั่นใจไม่ลดศรัทธาพรรค แต่เป็นการร่วมมือจากทุกฝ่าย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2548)