“ซีพี-เมจิ” ปลุกตลาดนม เดินเกมอัปแบรนด์สู่พรีเมียม
ปล่อยแคมเปญโฆษณา 3 ซีรีส์ พร้อมสยายปีกสู่ธุรกิจเครื่องดื่ม “มิลค์ เบอร์รี่” โดยเป้าหมายการรุกตลาดในครั้งนี้ นอกจากปลุกกระแสดื่มนมในกลุ่มวัยรุ่น คนทำงาน และผู้ไม่พิสมัยการดื่มนมเพิ่มขึ้นแล้ว ซีพี-เมจิ ยังหวังอัปแบรนด์ให้พรีเมียมขึ้นด้วย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กันยายน 2554)
โฟร์โมสต์ชู Value กระตุ้นความถี่การดื่มนม
โฟร์โมสต์บุกหนัก ทุ่ม 200 ล้านบาท ระเบิดแคมเปญ “โฟร์โมสต์ สุขภาพดี 24 ชั่วโมง” เดินสายให้ความรู้ทางโภชนาการทั่วประเทศ มุ่งกระตุ้นคนไทยดื่มนมเพิ่มจาก 12 เป็น 14 ลิตรต่อคนต่อปี เท่าอัตราเฉลี่ยการดื่มของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 มีนาคม 2554)
F&N ทุ่ม 20 ล้าน ระเบิดแคมเปญแดนซากุระ
เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ เอาใจผู้บริโภค ทุ่มงบ 20 ล้านบาท ระเบิดแคมเปญ “ดื่มไมโล ยูเอชที เต็มกล่องลุ้นท่องญี่ปุ่น 50 ที่นั่ง” เปิดประสบการณ์ผู้บริโภคแดนซากุระ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มกราคม 2554)
Segmentation by Age กลยุทธ์ ‘โฟร์โมสต์’ เพิ่มการดื่มนม
โฟร์โมสต์ เปิดเกมบุกตลาดนมพร้อมดื่ม ด้วยการจัดเซกเมนต์สินค้าตามช่วงอายุ เปิดตัวนม 3 แบบ สำหรับคน 3 วัย คือ โฟร์โมสต์คิด-สกูล-ทีน พลัส เพื่อกระตุ้นการดื่มนม หลังสำรวจพบคนไทยเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะหยุดดื่ม โดยตัวเลขการบริโภคนมของคนไทยอยู่ที่ 12 ลิตร/คน/ปี ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเอเชีย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 กันยายน 2553)
ศึกนมถั่วเหลืองยุคนี้ เซกเมนเตชั่น 'กำชัยชนะ'
ตลาดนมถั่วเหลืองจากเดิมที่เน้นเจาะตลาดแมส ในรูปแบบแบรนด์เดียว สูตรเดียวจับลูกค้าครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย มาถึงปัจจุบันเข้าสู่ยุคเซกเมนต์ตลาด โดย เพศ อายุ ฟังก์ชันนัลเบเนฟิตที่มีสูตรเฉพาะเจาะจงกับสุขภาพเป็นช่องว่างโอกาสให้กับผู้มาใหม่เข้ามาปักธงได้ ที่ผ่านมานมถั่วเหลืองถือว่าเป็นตลาดหินผูกขาดโดย 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของวงการ อย่าง ไวตามิ้ลค์, แลคตาซอย ซึ่งยากที่ใครจะแทรกเข้ามาในตลาดได้
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กุมภาพันธ์ 2553)
จับไลฟ์สไตล์ลงกล่องยูเอชที แผนตลาดเชิงรุกรักษาบัลลังก์ไวตามิ้ลค์
ไวตามิ้ลค์ สวนหมัดคู่แข่งรุมกินเค้กตลาดนมถั่วหลืองจับกลุ่มผู้ชาย พลิกกลยุทธ์มุ่งสร้างตลาดใหม่ ที่เป็นเกมบุกครั้งสำคัญ เปิดตัว"นมถั่วเหลืองจับไลฟ์สไตล์" หวังหลังเกาะกระแสการเติบโตของยูเอชทีขนาด 200 มล. มูลค่า 856 ล้านบาท ที่พุ่งทะยานขึ้น 27% สูงกว่าตัวเลขตลาดรวมโต 15% จะสร้างส่วนแบ่งตลาดจาก 3% เพิ่มเป็น 5% ภายในสิ้นปี
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 กันยายน 2552)
สงครามเซกเมนต์ 'นมถั่วเหลือง' เดือดเกิน 100 องศา
ตลาดนมถั่วเหลืองแข่งขันรุนแรงร้อนไปทุกอณู แลคตาซอย ดีน่า เปิดเกมท้าชนครบเซกเมนต์ แบบไม่มีช่องว่างเวลาได้หายใจ เกมในเชิงรุกที่เร็วและแรงของคู่แข่งด้วย Sub-Brand 'บิ๊ก 500 มล.' และ 'เอ็นเนอร์ยี' นี่เอง ทำให้ 'ไวตามิ้ลค์' เจ้าตลาดต้องออกมาสวนหมัดอย่างทันควัน เพื่อสกัดการเข้ามาชิงในพื้นที่ตลาดจับกลุ่มผู้ชายที่ปั้นมากับมือ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 สิงหาคม 2552)
ยูนิลีเวอร์ จับมือ สตาร์บัคส์ร่วมออกไอศกรีม
ด้วยความที่ประเมินแล้วว่า ลำพังเพียงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายในกิจการด้วยแนวคิดแบบหัวเดียวกระเทียมลีบ แม้ว่าจะเป็นกิจการยักษ์ใหญ่อย่างเช่นยูนิลีเวอร์ ก็ไม่น่าจะไปได้รอด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 เมษายน 2552)
"ไวตามิ้ลค์" พลิกวิกฤตินมวัวยอดลด เบียด "โฟร์โมสต์" ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ตลาดนมพร้อมดื่ม
"ไวตามิ้ลค์" ขยายแนวรบจากแข่งกับ "แลคตาซอย"ในตลาดนมถั่วเหลืองมูลค่า 8,800 ล้านบาท มาปักธงรบสมรภูมินมพร้อมดื่ม 3 หมื่นล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายช่วงชิงบัลลังก์ โฟร์โมสต์ ประเดิมด้วยการทุ่มงบก้อนแรก 600 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รองรับตลาดโตปี 52 จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนมาดื่มนมถั่วเหลือง ทดแทนนมวัว ที่เผชิญวิกฤติหลายระรอก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 ธันวาคม 2551)