ไทยเบฟ งัดไลฟ์สไตล์มาร์เกตติ้งรีแบรนด์ 'เบียร์ช้าง' 2 ปีทวงบัลลังก์คืน
เบียร์ช้าง ทวงบัลลังก์ตลาดเบียร์จากค่ายเบียร์สิงห์ เริ่มนับถอยหลังเพื่อกลับมาอีกครั้ง จากนี้ไป 2 ปี กวาดแชร์ 42% สอยคู่แข่งร่วงจากการวางหมากทำตลาดด้วยไลฟ์สไตล์มาร์เกตติ้ง ควบกลยุทธ์ 1 แบรนด์ เจาะแยกสินค้า 3 ตลาดตามกลุ่มผู้บริโภค ที่เข้าถึงสถานการณ์ตลาดเบียร์เปลี่ยนไป ตามพฤติกรรมเปลี่ยนตามโลกยุคใหม่
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ตุลาคม 2552)
ค่ายเหล้านอกเปิดศึก เซกเมนต์แสตนดาร์ด เหล้านอก 5 ปี
จับกระแสการต่อสู้ของ 2 ค่ายนำเข้าเหล้านอก 'เพอร์นอต' เจ้าตลาดเซกเมนต์สแตนดาร์ด 8 พันล้านบาท ชูไซซิ่งมาเป็นกลยุทธ์หลักในการสร้างกำแพงฮันเดรด ไพเพอร์ส เพื่อตีกัน เบนมอร์ ของ 'ดิอาจิโอ' ที่ออกมาท้าชนพร้อมประกาศขอเพิ่มแชร์อีก 15% จากชิ้นเค้กใหญ่สก็อตวิสกี้ 5 ปีมูลค่า 8 พันล้านบาท โดยวางหมากจะสร้างส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจากผลวิจัยพฤติกรรมการซื้อผู้บริโภคจากความคุ้มค่ามาปรับโฉมครั้งใหญ่ในรอบ 5 ปี
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 มิถุนายน 2552)
ไทยเบฟ ลดจุดอ่อนปั้นเรือธง "ช้างดราฟท์"รับฟองเบียร์แสนล้านเปลี่ยนขั้วเน้น "นุ่ม" แทน "แรง"
"ไทยเบฟเวอเรจ" ล้มแชมป์ "สิงห์ คอร์เปอเรชั่น" ได้เพราะเปิดเกมลงมาเล่นในตลาดเบียร์ที่มี "รสเข้ม" และ "ดีกรีสูง"เข้ามาทำตลาดที่มีแบรนด์สิงห์ครองตลาดกว่า 90% โดยการเปิดตัว "เบียร์ช้าง"ลงตลาดครั้งแรกนั้น หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับคู่แข่งโดยตรง โดยเลือกวางตำแหน่งแบรนด์ที่ไม่ชนกับเจ้าตลาดอย่าง "เบียร์สิงห์" ที่สำคัญยังเข้าไปในช่องว่างตลาดที่ยังไม่มีแบรนด์ใดหยิบเรื่องราคามาเป็นหัวรบในการบุกตลาด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 กุมภาพันธ์ 2552)
กลยุทธ์ "Brand Story"ปกป้องบัลลังก์ "สเมอร์นอฟ"ในเกมชิงตลาดวอดก้า
"สเมอร์นอฟ" เดินเกมกลยุทธ์"Brand Story"สร้างแต้มต่อการรับรู้แบรนด์ในช่องทางออนพรีมิส รับมือ "สงครามวอดก้า" ที่กำลังเริ่มปะทุขึ้น จากเบนิฟิตที่ใช้ผสมร่วมกับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆได้หลากหลาย ตามกระแส Cocktail Culture ไลฟ์สไตล์การปาร์ตี้สังสรรค์ของกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งแตกต่างจากคนรุ่นพ่อที่นิยมดื่มวิสกี้ ซึ่งก็ทำให้คู่แข่งในตลาดวิสกี้นำเข้าปรับเกมมาให้ความสำคัญกับการทำตลาด วอดก้า แบบเข้มข้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2551)
สร้างแบรนด์เฟเดอร์บรอยเบียร์ งานอย่างช้างของ ชาลี จิตจรุงพร
ผู้บริหารเบียร์ช้างได้ฤกษ์เปิดเบียร์ตัวใหม่ ในกลุ่มพรีเมียมเป็นครั้งแรก ภายใต้แบรนด์เฟเดอร์บรอย (Federbrau) เฟเดอร์บรอย เป็นเบียร์ขวดเขียวน้องใหม่ล่าสุดที่ไทยเบฟ พัฒนาและผลิตขึ้นเอง ชื่อที่เรียกยากๆ นั้น คือคำแปลภาษาเยอรมันของคำว่า Feather Brew
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 สิงหาคม 2551)
“แม่โขง" แบรนด์ไทยในเวทีโลก
*“เจริญ”พลิกตำราเหล้าไทยฉบับ “แม่โขง”
*หลังปรับยุทธวิธีการตลาดใหม่ทั้งหมด
*ชูจุดขายจากเหล้ารัมไทย เป็น ค็อกเทล
*สานฝันสู่อินเตอร์ตามรอยเบียร์ช้าง
*รอจังหวะย้อนรอยเข้ามาชิงเค้กกับเหล้าบิ๊กแบรนด์ในไทย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 กรกฎาคม 2551)
ศึกมิวสิก และสปอร์ตมาร์เกตติ้ง เกมรบใหม่ เบียร์ช้าง vs เบียร์สิงห์
เกมรบในสมรภูมิฟองเบียร์มูลค่า 1 แสนล้านบาท ในปัจจุบันที่มีการต่อกรกันระหว่าง สิงห์ คอร์เปอร์เรชั่น ของตระกูลภิรมย์ภักดี กับไทยเบฟเวอเรจ ตระกูลสิริวัฒนภักดี นับว่าการตลาดภายใต้กลยุทธ์มิวสิค มาร์เก็ติ้ง และสปอตมาร์เกตติ้ง เป็นกลไกสำคัญของการตลาดการสร้างแบรนด์ยุคใหม่ และเป้าหมายต่อไป ในการโกอินเตอร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มิถุนายน 2551)
ผ่ากลยุทธ์เสือข้ามถิ่นรุกคืบตลาดเบียร์ไทย
การแข่งขันในตลาดเบียร์ที่ผ่านมากว่า 4 ปี แม้ว่าไทเกอร์เบียร์จะวางตำแหน่งสินค้าอยู่ในตลาดสแตนดาร์ดเซกเมนต์ ที่มีผู้เล่นเพียง 2 แบรนด์คือ สิงห์ และไทเกอร์เท่านั้น โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 5% ขณะที่เบียร์สิงห์ คู่แข่งเพียงรายเดียวในเซกเมนต์นี้มีส่วนแบ่งตลาด 95% ซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งขันที่เหนือกว่าด้วยความเป็นแบรนด์ไทยที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 40 ปี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 เมษายน 2551)