เขียนกระดานบนอากาศ เรียนผ่าน “โปรเจกเตอร์”
ฟังดูเหมือนกับว่า “โปรเจกเตอร์” จะทำให้เกิดการสอนรูปแบบใหม่ได้อย่างไร เพียงแค่ฉายภาพข้อมูลต่างๆ บนพื้นสีขาวจะมีอะไรใหม่ แต่จากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ทางด้านเครื่องฉายภาพดิจิตอลรวมมากกว่า 20 รุ่นออกสู่ตลาดพร้อมกันของเบ็นคิว น่าที่จะเป็นคำตอบสำหรับเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 กันยายน 2553)
โปรเจกเตอร์แข่งสนุก มาร์เกตไซส์สุดเย้ายวน
หนึ่งในสินค้าไอทีที่ดูจะมีอนาคตที่สดใสผลิตภัณฑ์หนึ่ง น่าจะต้องยกให้ 'โปรเจกเตอร์' เห็นได้ชัดว่าปีนี้ถือเป็นปีที่ตลาดโปรเจกเตอร์มีการเปิดตัวออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ผลิตโปรเจกเตอร์รายใหญ่ ต่างเห็นตลาดที่มีอนาคตและยังมีโอกาสการเติบโตที่มากมาย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 สิงหาคม 2553)
ทุกแบรนด์อยากขาย AMD แรงสวิงเกทับของเบอร์สอง
ในโลกแห่งโปรเซสเซอร์ถือเป็นการขับเคี่ยวระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ที่บี้กันมาตลอดอย่าง 'อินเทล' และ 'เอเอ็มดี' แต่ด้วยแรงเสียดทานหลายๆ ด้าน ทำให้เอเอ็มดียังตามอินเทลอยู่ห่างๆ แต่วันนี้จุดขายของคอมพิวเตอร์ไม่ได้ชูเฉพาะเรื่องประสิทธิภาพซีพียูที่ดีเลิศเท่านั้น แต่ซีพียูยุคนี้ต้องสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบันได้ดีเลิศด้วย
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 สิงหาคม 2553)
แอกเซสซอรี 'คิกขุ' ทำตลาดโดนใจเอเชีย
แอกเซสซอรีไอที-โมบาย สไตล์ 'คิกขุอาโนเนะ' แบบญี่ปุ่น ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการในเมืองไทย ด้วยพฤติกรรมความชื่นชอบที่ไม่แตกต่าง เชื่อตีตลาดแบรนด์ดังฝรั่งได้กระเจิง โดยมีผลิตภัณฑ์แอกเซสซอรีมากกว่า 4 พันแบบเข้าทำตลาดวัยจ๊าบด้วยสีสันดิจิตอลรูปแบบใหม่
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 กรกฎาคม 2553)
จอ "แอลซีดี" ไทยระอุ ราคา+แบรนด์ ปัจจัยชี้ชะตา
"เอเซอร์" ตั้งเป้าป้องกันแชมป์ผู้นำตลาดแอลซีดีต่อ หลังเบียด "ซัมซุง" อดีตผู้นำตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ตั้งเป้ายอดขายแอลซีดี 500,000 จอ เชื่อสภาพตลาดแข่งเดือด ผู้บริโภคตัดสินที่ราคา+แบรนด์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 มิถุนายน 2551)
โลคัลแบรนด์พันธุ์ใหม่คอมพิวเตอร์ออนดีมานด์
โลคัลแบรนด์พีซีพันธุ์ใหม่แจ้งเกิดทวนกระแสตลาดโน้ตบุ๊ก และการต่อสู้กับอินเตอร์แบรนด์ที่แข็งแกร่งด้วยยุทธวิธีการผลิตคอมพิวเตอร์ออนดีมานด์ ตามสเปกและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ในราคาถูกกว่า ปลุกกระแสตลาดคอมพิวเตอร์โดยรวมทั้งประเทศตื่นตัวอีกครั้ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
กลยุทธ์ดูโอแบรนด์เส้นทางผู้นำ "ซีเกท"
ซีเกทเดินตามรอยบริษัทรถยนต์ ชูกลยุทธ์ระยะยาว "ดูโอ แบรนด์" ยกระดับแบรนด์ "ซีเกท" ขึ้นเป็นพรีเมียมแบรนด์ ราคาสูง คุณภาพสูง ไฮเทคโนโลยี ส่วนแบรนด์ "แมกซ์ตอร์" ชูเป็นแบรนด์ไฟติ้ง จูงใจด้วยราคา เทคโนโลยีทั่วไป รับประกันน้อยกว่า ฟีเจอร์ที่แตกต่าง ตอกย้ำคุณภาพสองแบรนด์ผลิตจากโรงงานเดียวกันทุกกระเบียดนิ้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ตุลาคม 2549)
เทคโนโลยีปะทะราคากลยุทธ์เด็ด "แซนดิสก์"
แซนดิสก์ชูจุดขาย "ความจุสูง ประสิทธิภาเหนือชั้นและเทคโนโลยีชั้นสูง" เข้าสู้ไม่หวั่นแม้คู่แข่งอย่างคิงส์ตันดัมพ์ราคาเข้าใส่ หวังผลสร้างส่วนแบ่งตลาด ส่งผลราคาการ์ดตกลงกว่า 50% คาดแนวโน้มความต้องการผู้บริโภคเปลี่ยนมาเล่นความจุ 512 เมกกะไบต์แทน 256 เมกกะไบต์ ส่งผลให้เกิดดัมพ์ราคาอีกระลอก ปีนี้ตั้งเป้ายอดขายแซนดิสก์ 800-1,000 ล้าน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 เมษายน 2549)
สร้างสงครามเพลงออนไลน์ในญี่ปุ่น
หลังจากที่ แอปเปิล คอมพิวเตอร์ ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้านบริการเพลงออนไลน์ มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ทำให้ผู้บริหารมีความมั่นใจมากขึ้นในการขยายธุรกิจนี้ ด้วยการดำเนินแผนงานการขยายร้านไอจูนส์ ในญี่ปุ่น ตลาดที่มีกลุ่มลูกค้าที่สนใจและมีชีวิตไลฟ์สไตล์อยู่กับเสียงเพลงไม่แพ้ตลาดอื่นๆ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 สิงหาคม 2548)