เอสเอ็มอีแบงก์ซุกปีก"บัวหลวง" ปล่อยสินเชื่อ"ครัวไทย-โอทอป"
ด้วยนโยบายสนับสนุน"ครัวโลก" ทำให้"เอสเอ็มอีแบงก์"ต้องมีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้นแต่หมายถึงฐานลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศด้วย แต่ด้วยข้อจำกัดของเครือข่ายหรือสาขาที่เชื่อมโยงเข้าถึงลูกค้า ทำให้เอสเอ็มอีแบงก์มีอุปสรรคด้านช่องทางในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นการจับมือเป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงเทพจึงเป็นทั้งทางออกที่ลงตัว และปิดจุดอ่อนด้านแขนขาหรือเครือข่ายที่มีอยู่น้อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กันยายน 2548)
"เอสเอ็มอีแบงก์"ปล่อยกู้สะดุด แปลงสินทรัพย์เป็นทุนคลุมเครือ
การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อยยังเป็นเรื่องไม่ง่ายในทุกวันนี้ แม้ภาครัฐจะมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นก็ตาม ความไม่ง่ายดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ให้กู้จะสนับสนุน ส่วนอีกเรื่องเกิดจากความเข้าใจของผู้ประกอบการที่บิดงอไปบ้าง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)
ฟันธงแลนด์ฯไม่เชี่ยวธุรกิจธนาคาร นายแบงก์ชี้ต้องปรับตัวอย่างน้อย1ปี
แบงก์แลนด์ฯ เปิดช่อง "กสิกรไทย" ฉวยโอกาสชิงส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อบ้านจากคู่แข่ง คาดกระทบฐานสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท ระบุ "แลนด์ฯ"เป็นมืออาชีพในธุรกิจอสังหาฯ ต้องใช้เวลาปรับตัวลุยธุรกิจแบงก์อย่างน้อย 1 ปี ชี้แนวโน้มตลาดสินเชื่อบ้านแข่งเดือด ชูกลยุทธ์ดึงพันธมิตรจัดแคมเปญเจาะลูกค้าระดับบนก่อนขยายตลาดสู่ระดับกลาง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)
ธุรกิจปล่อยกู้เถื่อนบานสะพรั่ง มาตรการแบงก์ชาติออกฤทธิ์
ผู้ประกอบการสินเชื่อบุคคลสวดแบงก์ชาติต้นเหตุเงินกู้นอกระบบเกลื่อนเมือง กฎเกณฑ์คุมวงเงิน 5 เท่า พิจารณาผ่านเครดิตบูโร ค่าครองชีพมหาโหด ทำผู้เดือดร้อนเงินไร้ทางออก จำใจหันหน้าซบแม้ต้องเสียเปรียบ เผยเคยเตือนเรื่องนี้ในการหารือแต่คนทางการคุยจัดการได้ ข้องใจทางการปิดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)
ลงทุนยุคเศรษฐกิจขาลง "ซื้อบ้าน-กองทุน" แบบไม่เสี่ยง
แนะมนุษย์เงินเดือน ยุคเศรษฐกิจขาลง เลือกสูตรผ่อนบ้านใหม่ หรือซื้อบ้านมือสองที่ไม่เสี่ยง ชี้เงินเดือนขึ้นไม่ทันอัตราเงินเฟ้อในอีก 2 ปีข้างหน้า พร้อมถอนเงินจากตลาดหุ้น เก็บกองทุนบางประเภท ที่ให้ประโยชน์คุ้มค่าและไม่เสี่ยง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 กรกฎาคม 2548)
แบงก์แย่งปล่อยสินเชื่อบ้าน
สถาบันการเงิน ทั้งแบงก์ และนอนแบงก์ ปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ เบนเข็มปล่อยสินเชื่อบ้าน เหตุเสี่ยงต่ำ ตลาดใหญ่มูลค่าแสนล้าน และโดดแรงบีบจากธปท.เรื่องกำหนดเพดานดอกเบี้ย ธอส.ผู้นำตลาดปล่อยไม้เด็ดเป็นระลอก หวังขยายฐานลูกค้าใหม่ และตีกันลูกค่าเก่าเปลี่ยนใจรีไฟแนนซ์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 พฤษภาคม 2548)
จัดสรรรายเล็กหืดขึ้นคอเหตุแบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อส่งผลตลาดบ้านเข้าสู่ยุคสมดุล
ถึงคราวผู้ประกอบการจัดสรรรายเล็ก รายกลางต้องรับศึกหนักรอบด้าน ทั้งแบงก์เข้มงวดปล่อยสินเชื่อ สาวประวัติยาวถึงว่าที่ลูกค้าโครงการ เช็คผลงานในอดีตละเอียดยิบ
ปัจจัยลบรุมเร้า ทั้งกำลังซื้อหด ราคาวัสดุถีบตัวสูง ค่าขนส่งขึ้น
ขณะที่กลยุทธ์การตลาดมัดใจลูกค้าเริ่มใช้ไม่ได้ผล เพราะสารพัดปัจจัยลบรุมเร้า ทำให้กำลังซื้อชะงักงัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 พฤษภาคม 2548)
ธอส.ลดภาระผู้กู้ซื้อบ้านเล็งคลอดสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่5ปี
ธอส.เล็งคลอดสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่นาน 5 ปี อัตรา 5.5% หลังจากนั้นคิด MRR หวังลดภาระผู้กู้ซื้อบ้าน และกระตุ้นตลาดบ้านจัดสรร คาดเริ่มปล่อยกู้ได้เม.ย.นี้ พร้อมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ปีนี้ 99,000 ล้านบาท โชว์ยอด 2 เดือนแรกทะลุ15,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 มีนาคม 2548)