สินเชื่อกู้บ้าน"พระเอก"ตลอดกาล"Kฮีโร่"ปล่อยหมัดชุดยาวถึงสิ้นปี
ถึงแม้สนามรบในงาน "มันนี่ เอ็กโป 2006" ที่เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ จะบ่งบอกถึงแนวโน้มการประกาศสงครามฉกชิงฐานลูกค้าเงินฝากของแบงก์ต่างๆอย่างถึงพริกถึงขิง แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ยังคงครองแท่นผู้นำ หรือ "พระเอกตลอดกาล" อยู่เช่นเดิม เพราะสำหรับแบงก์ต่างๆการลดตัวลงมาจับตลาด "รีเทล" หรือ ลูกค้ารายย่อย ธงนำหรือตัวชูโรงเรียกรายได้เข้ากระเป๋า ยังหนีไม่พ้น "สินเชื่อบ้าน" ขณะที่บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ยังถือเป็นเรื่องใหม่ และในสนามแข่งขันก็มีผู้เล่นมากหน้าหลายตาจนเกินไป การควบคุมความเสี่ยงก็ทำได้ยากกว่า...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 พฤษภาคม 2549)
บสท.สางหนี้เน่า 4 ปี 7.7แสนล้าน
บสท. ในวันนี้สามารถแก้ไขหนี้เสีย ปรับโครงสร้างหนี้กว่า 7 แสนล้านบาทได้สำเร็จเกือบ 100% จะว่าเป็นเพราะศักยภาพการทำงานก็ไม่เชิงนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่างาน บสท.ไม่ง่ายนักในการแก้หนี้ ด้วยบทบาทหน้าที่คือการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการอีกครั้ง ดังนั้นไม่เพียงแต่เจรจาปรับโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นที่ปรึกษาและหาแหล่งเงินเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อต่อลมหายใจผูประกอบการให้อยู่รอดต่อไปได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 กุมภาพันธ์ 2549)
ลูกหนี้ ธอส.ติดหล่มดอกเบี้ยสูงกู้นาน-วงเงินสูงเตรียมตัวรีไฟแนนซ์
ลูกบ้าน ธอส.รับโชคปีใหม่ แบงก์ปรับดอกเบี้ยกู้อีก 0.25% สูงกว่าแบงก์พาณิชย์ 0.75% คนวงการแนะให้รอภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นให้นิ่งก่อนตัดสินใจ ชี้ดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น 1% จ่ายเงินเพิ่มอีก 7.5% จะรีไฟแนนซ์คุ้มหรือไม่ขึ้นกับวงเงินและระยะเวลากู้ ส่วน "ไชยยศ" ระบุชัดดัน บตท.หนุนคนมีรายได้น้อยมีบ้านแทน ธอส.
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 มกราคม 2549)
ปรากฏการณ์ Easy Buy
ความขัดแย้งระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นเกิดขึ้นมาตลอด แต่กรณีการออกมาโวยของลูกค้า "อีซี่บาย - ลดต้น ลดดอก" ที่เพิ่งเกิดขึ้นนั้น สร้างแรงสั่นสะเทือนแก่บริษัท และต่อวงการสินเชื่อส่วนบุคคลอย่างมาก ลูกค้าโวย ทนายช่วยฟ้อง กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคช่วยฟ้อง เพื่อเรียกร้องสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่าคือ "ความเป็นธรรม" โฆษณาอีซี่บายพูดไว้อย่าง แต่ผลที่เกิดขึ้นกลับเป็นอีกอย่าง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ธันวาคม 2548)
บสก.จ้องเสียบบริหารหนี้ธอส.หลังคว้า NPLs 5,000 ล้านบาท
ธอส.เปิดทางมืออาชีพบริหาร NPLs 29,000 ล้านบาท หลังโละหนี้ 2 กอง เกือบ 5,000 ล้านบาท ด้านบสก.ขานรับเล็งรับบริหารหนี้ธอส. รอแก้พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ 2541ผ่านสภาฯ หลังครม.ไฟเขียว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 ธันวาคม 2548)
"กู้ด่วน ผ่อนสบาย"หลุมพลางนักชอปดิจิตัล กระจกสะท้อนเงาลูกหนี้ทาส(EASY BUY)
เจตนาดีของภาครัฐที่พยายามกระตุ้นการใช้จ่ายภาคครัวเรือน จนดูคล้ายคลึงกับ นโยบาย"ซานตาคลอส" คือหว่านเงินลงไปในทุกพื้นที่ ชุมชน ในที่สุดก็เปิดโอกาสให้ "ลัทธิบริโภคนิยม" เข้าไปสิงสู่ในตัวนักชอป "ยุคดิจิตัล" อย่างช่วยไม่ได้ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่ถูกปลุกปั้นให้ดูสวยหรู ก็มีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ ธุรกิจให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อเงินด่วน แบบ "กู้ง่าย ผ่อนสบาย" กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนเมือง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 ธันวาคม 2548)
สินเชื่อนอกระบบคืนชีพ ยึดช่องโหว่มาตรการรัฐ
ผู้ประกอบการสินเชื่อนอกระบบห้าวใช้คำเชิญชวน "สินเชื่อเพื่อประชาชน/และเคลียร์หนี้นอกระบบ" ดึงดูดใจ แถมคิดดอกเบี้ยเท่าออมสิน 12% ต่อปี ขณะที่ใบปลิวเงินด่วนอาละวาดอีกรอบ เหตุปรับโครงสร้างหนี้ประชาชนช่วยแค่ลูกค้าแบงก์ แต่สินเชื่อบุคคลของนอนแบงก์ที่คนจนพึ่งพากลับถูกปล่อยให้ผู้ประกอบการเถื่อนเชือด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤศจิกายน 2548)
บิ๊กค่ายรถรวมหัวตรึงสินเชื่อเช่าซื้อรถ ค่ายรถเล็กอ่วมแบกต้นทุนต่อถึงสิ้นปี
มีการประเมินมูลค่าตลาดรวมของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท โดยจากข้อมูล ณ 30 มิ.ย. 2548 แบ่งเป็นการให้สินเชื่อโดยบริษัทเงินทุนทั้งระบบ 205,920 ล้านบาท ในจำนวนนี้กว่า 80% เป็นของเจ้าตลาดรายใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ ธนชาต 102,911 ล้านบาท ทิสโก้ 42,433 ล้านบาท และเกียรตินาคิน 21,218 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจึงกระจายไปยังบริษัทเงินทุนอื่น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กันยายน 2548)