Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article

industry
company
people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ64  
Positioning7  
ผู้จัดการรายวัน229  
ผู้จัดการรายสัปดาห์38  
PR News351  
Total 651  

Listed Company
Manager Lists
 
Industry > Banking and Finance > Financing > Loan


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (11 - 20 of 38 items)
"ไทยเครดิต"ขยายวง"ทองกู้เงิน"งัดข้อโรงตึ๊ง-ร้านทอง-บัตรเครดิต "ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย" พบราคาทองคำยังคงผันผวนตามราคาน้ำมัน กลายเป็นตัวชี้นำให้คนหันมาลงทุน"ทองคำ" มากเป็นทวีคูณ ปักหลักขยายวง แปลงทองคำเป็นเงินกู้ จาก "ทองแลกเงิน" ที่เน้นจับกลุ่ม กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ตามตลาดสด และผู้มีอาชีพอิสระ มาเป็น "ทองทันใจ สำหรับกลุ่ม "มนุษย์เงินเดือน" อ้างอิงรายงาน ช่วงที่ราคาทองตก คนกลับหันมาซื้อมากขึ้น แต่กู้วงเงินน้อยลง ต่างจาก "คู่อริ" อย่าง โรงรับจำนำ ร้านทอง และบัตรเครดิต ที่คิดดอกเบี้ยสูงกว่า และคนมักจะกู้ด้วยวงเงินสูงกว่า ทำให้เกิดปัญหาวินัยทางการเงินตามมาภายหลัง....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 มิถุนายน 2551)
แบงก์ตะลุมบอนแย่งตลาด"สินเชื่อบ้าน"กลยุทธ์ดอกเบี้ยผสมมาตรการรัฐดึงใจลูกค้า ตลาดสินเชื่อบ้านคึกคัก แบงก์กรูแย่งลูกค้า กระหน่ำด้วยโปรโมชั่น "ดอกเบี้ย"ล่อใจ ผนวกกับมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์จากรัฐบาลออกมาหนุน ทำให้ตลาดอสังหาฯที่คาดว่าจะซบเซา เพราะเศรษฐกินไม่เอื้อ น้ำมันแพง การบริโภคหดตัว ยังคึกคักจากกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการอย่างแท้จริงในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 พฤษภาคม 2551)
ฤดูกาล"ตึ๊งรถกู้เงิน"เบ่งบาน"จีอี"ขยายวง"ราชาเงินผ่อน" "จีอี มันนี่" ชิงพื้นที่ธุรกิจ "สินเชื่อรถ" เก็บกินดอกผลในช่วง เศรษฐกิจมีทีท่าจะตกอยู่ในภาวะเงินฝืด ล้วงกระเป๋าเจ้าของรถ ให้วงเงินกู้ 100% ของราคาประเมิน ผ่อนนาน 60 เดือน ไม่มีคนค้ำ ขยายวงจากฐานลูกค้าเดิมในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ที่มีสัดส่วนกว่า 70% มาเป็น "สินเชื่อส่งตรง" ถึงประตูบ้านเจ้าของรถ เป็นการลดต้นทุนเปิดสาขาใหม่ ควบคู่กับเพิ่มอัตราเร่งในการบุกจู่โจม "ราชาเงินผ่อน" รายใหม่....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 พฤศจิกายน 2550)
“แคปปิตอล โอเค” ใกล้อวสาน ขาดทุนบาน - เทมาเส็กรับสภาพ ครึ่งแรกปี 2550 แคปปิตอล โอเค ขาดทุนบักโกรก ยิ่งขายไม่ออกยิ่งขาดทุนหนัก บริษัทแม่อัดเงินเพิ่มทุนอีก 800 ล้านบาท รับสภาพเงินลงทุนสูญ(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กันยายน 2550)
"เครดิตบูโร"ล้างภาพหน่วยขึ้นบัญชีดำ หนุน"จัดเรทติ้งผู้กู้"แต้มต่อขอสินเชื่อ ข้อมูลเครดิตแห่งชาติหรือ "เครดิต บูโร" เร่งผลักดันกฎหมาย เครดิตสกอริ่ง ชำระล้างภาพ "หน่วยขึ้นบัญชีดำ" หลังเวลาเกือบทศวรรษ ได้กำหนดนิยามตัวเองเป็น "หน่วยเฝ้าระวังภัย" แต่กลับถูกมองจากสังคมภายนอกเป็นเหมือน "สายตรวจ" คอยตรวจจับประวัติผู้ขอสินเชื่อ จนหลายต่อหลายคน "สอบตก" ถูกขึ้นป้าย "แบล็คลิสต์" ทำให้เกิดคำถามว่า แท้จริงแล้ว "เครดิต บูโร" จะอยู่ข้างฝ่ายไหน ระหว่างผู้พิพากษาโทษความผิดทางวินัยจากการขาดส่งค่างวดหรือ หน่วยกู้ภัยที่คอยช่วยเหลือผู้กู้ให้มีอำนาจต่อรองกับสถาบันการเงินได้โดยไม่กระอักกระอ่วนใจ...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 พฤษภาคม 2550)
"เคแบงก์" ต่อยอดสินเชื่อด่วน SME ลดความเสี่ยงกระจุกตัวพอร์ตรายใหญ่ ในภาวะที่ความเชื่อมั่นลด การบริโภคหดตัว "แบงก์กสิกรไทย" มิได้หวั่นไหวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตรงข้ามยังเดินหน้าปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดต่อยอดบริการเงินกู้ให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการที่มิอาจปฏิเสธได้ว่ามีความเสี่ยงสูง และอาจทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอลของ แบงก์แห่งนี้เพิ่มขึ้นด้วย แต่แล้วดูเหมือนว่างานนี้ "กสิกรไทย" จะมิได้วิตกกับเรื่องดังกล่าวมากนัก(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
ดอกเบี้ยลด"แคมเปญกู้บ้าน"ผุดแบงก์งัดลูกเล่นทั้งไม่นวม-ไม่แข็ง อัตราดอกเบี้ยที่ทำท่าจะเข้าสู่วัฏจักรขาลงในปี 2550 กลายเป็นตัวแปรหลัก ที่จะปรับเพิ่มอุณหภูมิความร้อนให้กับตลาด "สินเชื่อที่อยู่อาศัย" ให้กลายเป็น "ทะเลเลือด" ด้วยความจงใจ แบงก์แทบทุกแห่งฉกฉวยโอกาสนี้ปรับเปลี่ยนแคมเปญในรูปแบบที่จะดึงดูดความสนใจของกำลังซื้อที่เริ่มจะอ่อนแรงลงอย่างคึกโครม แต่ผู้คิดจะมีบ้านใหม่เป็นของตัวเอง ก็อย่าเพิ่งลิงโลด เพราะแคมเปญใหม่สารพัดรูปแบบ อาจจะมีเงื่อนไขที่ผ่อนคลาย และช่วยผ่อนภาระเจ้าของเงินก็จริง แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะผ่านจุดตรวจเช็คข้อมูล ที่ว่ากันว่า เข้มงวดกว่าเดิม และเปอร์เซ็นต์ผู้สอบผ่านก็ลดวูบอย่างเห็นได้ชัด....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 มกราคม 2550)
สินเชื่อบ้านครึ่งปีแรกหดรอฟื้นตัวเมื่อรัฐบาลชัดเจน ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมที่ผ่านมาอยู่จังหวะชะลอตัว เนื่องมาจากการกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากปัจจัยลบต่างๆ ที่มากระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราดอกเบี้ย MLR ที่เพิ่มสูงขึ้นไปตามการปรับตัวของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) กลายเป็นภาระที่หนักอึ้งเพิ่มขึ้นของคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่แล้ว ต้องผ่อนค่างวดต่อเดือนเพิ่มขึ้น รวมถึงผู้ที่คิดจะซื้อบ้านต้องคิดหนักขึ้นว่าจะรับภาระไหวหรือไม่(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 กันยายน 2549)
แบงก์รุมตอม"SME"เถ้าแก่เนื้อหอม"Kฮีโร่"ฉีกประเพณีปฏิวัติสินเชื่อด่วน "SME"ธุรกิจเถ้าแก่ เริ่มเป็นที่หมายปอง และกลายเป็นชิ้นเค้กก้อนใหญ่ ที่มีการยื้อแย่ง ช่วงชิงจากบรรดา "แบงเกอร์" อย่างเอาเป็นเอาตายเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง เกือบจะทุกแบงก์ถึงกับเอาจริงเอาจังกับการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเตรียมตะครุบเหยื่อรายใหม่ๆ ที่อยู่ในมือ "สินเชื่อนอกระบบ" และยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนอีกร่วม 5 แสนราย ...ค่ายบัวหลวง ทหารไทย ไทยพาณิชย์ กรุงไทย หรือแม้แต่ เคแบงก์ กลายเป็นเจ้าใหญ่ในตลาด โดยฝ่ายหลังสุด ตระกูล "Kฮีโร่" ถึงกับจัดตั้งสายงานเฉพาะ พร้อมปฎิวัติระบบการให้สินเชื่อแบบ ด่วน เร็วทันใจภายใน 3 วัน ไม่ต่างจากเงินกู้ด่วนที่ดึงความสนใจชาวบ้านร้านตลาดจนแพร่หลาย...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 สิงหาคม 2549)
แบงก์"ยอมงอ"ยืดหยุ่นสินเชื่อบุคคลอนุมัติเร็วกระชากมาร์จิ้นขยายฐานช่วงกำลังซื้อวูบ "แบงก์"เปลี่ยนท่าที ยอมผ่อนปรน ยืดหยุ่นอนุมัติ "สินเชื่อบุคคล" ขยายพอร์ตในช่วงที่กำลังซื้อหล่นวูบ "เคแบงก์" เปิดรับกลุ่มที่เคยถูกปฏิเสธการขออนุมัติ ด้วยสินเชื่อที่เข้มงวดน้อยลง เพราะเห็นกำไรมหาศาลอยู่ตรงหน้า "นครหลวงไทย" พลิกลำเริ่มรุกไล่ตลาดรายย่อย ด้วยสินเชื่อที่อนุมัติไวยิ่งกว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงภายใน 1 ชั่วโมง ขณะที่แบงก์ใหญ่หลายแห่งเลือกที่จะกระโดดลงสนามรบด้วยท่าทีที่ค่อนข้างระวัง.....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)

Page: 1 | 2 | 3 | 4





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us