แนวโน้มสินเชื่อปี 2554 แรงส่งจากรายย่อยอาจลดลง
ปี 2553 เป็นปีที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เติบโตสูงขึ้นกว่าปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ โดยรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ณ สิ้นเดือน ต.ค. 2553 เติบโตเกือบ 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับช่วงสิ้นปี 2552 ที่หดตัว 0.7% โดยเป็นผลมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนในช่วงครึ่งปีแรก
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 ธันวาคม 2553)
แฟรนไชซี เฮ ! K Bank ปล่อยกู้ 3,000 ล.
กสิกรไทยจึงคิดแพคเกจสินเชื่อ โดยแบ่งผู้ประกอบการเป็น 2 กลุ่มคือ 1.ผู้ประกอบที่ไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจแฟรนไชส์ 2.กลุ่มทำแฟรนไชส์อยู่แล้วแต่ไม่เกิน 3 ปี แต่เป็นกลุ่มที่ต้องการสินเชื่อ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 ตุลาคม 2553)
แบงก์แห่ชิงเค้กสินเชื่อเอสเอ็มอีลุ้นการเมืองฉุดยอดปล่อยกู้ใหม่
เศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปีที่แล้ว แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบภายนอกเรื่องวิกฤตจากกรีซที่จะลุกลาม ซึ่งอาจจะกระทบธุรกิจส่งออกหรือไม่ แต่เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกยังไม่ส่งผลกระทบทำให้แบงก์ขาดความเชื่อมั่น จนกระทั่งหยุดปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี นอกจากนี้ยังเข็นมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในย่านราชประสงค์อย่างเต็มที่
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 พฤษภาคม 2553)
"เอชเอสบีซี"ลงจากยอดปิรามิด จับฐานระดับกลางปล่อยสินเชื่อบุคคล
"เอชเอสบีซี"ตื่นจากการหลับไหลในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล หลังประเมินสถานการณ์พบความเสี่ยงของการเกิดหนี้สูญต่ำลงเพราะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น คนมีการบริโภคเพิ่มขึ้นเพราะเกิดความเชื่อมั่น อีกทั้งอัตราการตกงานลดน้อยลง ทำให้"เอชเอสบีซี"กล้าที่จะหันมาจับตลาดลูกค้าระดับกลาง หลังจากปีที่ผ่านมาเล่นแต่ลูกค้าระดับไฮเอนด์ ลั่นกลองรบแต่ต้นปี ด้วยการเปิดตัวแคมเปญ "กู้เงินแถมเงิน"
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มกราคม 2553)
BAY ย้ำแนวคิดซื้อพอร์ตขยายฐาน ตั้งเป้าปีหน้าสินเชื่อโต 6%
แบงก์กรุงศรีเผยตั้งเป้าสินเชื่อรวมปี 53 โตราว 6% ตามจีดีพี ปีหน้าที่คาดว่าจะโต 3% มั่นใจปีนี้ทำงานเข้าเป้าหลังรุกซื้อจีอีมันนี่ไทยแลนด์ ดึงยอดสินเชื่อพุ่ง เผยภายหลังควบรวมสินเชื่อรายย่อยแตะสัดส่วน 42% จากปัจจุบันอยู่ที่ 36% ย้ำเดินหน้าแผนซื้อกิจการต่อยอดทางธุรกิจ ล่าสุดเอาใจแฟนแมนยูในไทย ออกบัตรเดบิต แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตั้งเป้าสิ้นปีหน้ามียอดบัตร 3 แสนบัตร
(ASTVผู้จัดการรายวัน 4 พฤศจิกายน 2552)
แบงก์ขนาดกลางชอบซื้อพอร์ตลีสซิ่งเหตุสินเชื่อโตช้า หวังลดอัตราเอ็นพีแอล
จับตาแบงก์ขนาดกลางชอบซื้อพอร์ตลีสซิ่ง โบรกคาดหาเหตุกลบหนี้เน่า หลังพบตัวเลขปูดเร็วกว่าสินเชื่อ อีกทั้งนโยบายซื้อพอร์ตมาบริหารยังเสี่ยงต้องสำรอง ส่วนแบงก์รัฐขนาดใหญ่มีแววเสี่ยงตั้งสำรองสูงสุดในระบบ แม้พอร์ตสินเชื่อรัฐสูงแต่ไม่ได้ช่วยอะไร สัญญาณเบี้ยวหนี้ยังน่าห่วง
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 กันยายน 2552)
จัดสรรปีหน้าส่งสัญญาณฟุบแบงก์ปรับเกณฑ์เข้มปล่อยกู้อสังหาฯ
*คาดแนวโน้มสินเชื่อบ้านปีหน้าหดตัว 20% สวนทางดอกเบี้ยไทยขาลง
*หลังแบงก์ตื่นตัวผวาหนี้เสีย ตั้งกำแพงตรวจเข้ม ปรับเกณฑ์พิจารณาเข้มก่อนปล่อยกู้รายย่อย-โครงการ
*เศรษฐกิจฝืด เผยสัญญาณนักเก็งกำไรปูด ปีหน้าแห่ทิ้งดาวน์เพียบ หลังคอนโดทยอยเสร็จ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 1 ธันวาคม 2551)
แบงก์พาเหรดปล่อยสินเชื่อเคหะเล็งตลาดบนลดความเสี่ยงยุคเงินเฟ้อ
สินเชื่อเคหะยังคงเป็นตลาดที่แบงก์พาณิชย์จับไม่ปล่อย แม้ในยุคข้าวยากหมากแพง พาเหรดระดมแคมเปญจูงใจ ลูกค้า ตั้งแต่อัตราดอกเบี้ย หรือแปลกแหวกแนวอย่าง “แบงก์กสิกรไทย”ใน “โครงการกู้บ้านเสริมฮวงจุ้ย” ชิงตลาดระดับกลางถึงบน ที่ฐานะการเงินไม่กระเทือนเงินเฟ้อเพื่อลดความเสี่ยงเอ็นพีแอลหลอกหลอน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 กรกฎาคม 2551)