พีเอฟพี หนีตายส่งออก ปรับแนวรบในประเทศ เร่งสร้างแบรนด์ตลาดบน
น้ำมันพ่นพิษ ต้นทุนสูง สร้างอุปสรรคการแข่งขันในตลาดส่งออก ส่งผลปี 2549 ธุรกิจอาหารแปรูปทะเลแช่แข็ง หันหัวรบมาสร้างแบรนด์ เข้ามาโฟกัสตลาดในประเทศ
แม้จะก้าวขึ้นสู่ปีที่ 5 ที่พีเอฟพี ได้เริ่มเข้ามาบุกเบิกทำตลาดธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งซูริมิ ( ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาบด เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก ปลาเส้น เนื้อปลาเทียม เนื้อกุ้งเทียม เนื้อปูเทียมหรือปูอัด ) ภายในประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2543 ที่หันมาทำตลาดซูริมิ เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคในตลาดระดับบนลงไปถึงระดับล่าง โดยวางระบบการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และรถเข็นเสียบไม้ ในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลทำให้พีเอฟ เป็นผู้นำตลาด ครองส่วนแบ่งตลาด 50%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)
ผู้บริโภคไทยยุค Smart Age ห่วงใยสุขภาพอ่านฉลากก่อนซื้อ
เอซีนีลเส็นเผยผลสำรวจพบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค Smart Age จะให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากก่อนซื้อโดยเฉพาะผู้บริโภคชาวไทยกว่า 41% ให้ความสนใจในฉลากอาหารบนตัวผลิตภัณฑ์ซึ่งมากที่สุดในเอเชีย ทั้งนี้ผู้บริโภคชาวไทยจะมีการตรวจสอบข้อมูลบนผลิตภัณฑ์เสมอ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 พฤศจิกายน 2548)
เปิดแผนสอง โอวัลติน โหมหนักขยายฐานครอบครัวมอล์ตสกัด
โอวัลติน กินรวบตลาดเครื่องดื่มมอล์ตสกัด ขยายฐานลูกค้า สร้างแบรนด์ ให้เป็นสินค้าของทุกช่วงวัยในครอบครัว นับตั้งแต่ต้นปี ถล่มยิงกระสุนออกมาป่วนคู่แข่งอย่างไม่ขาดสาย ทั้งออกสินค้าใหม่ เซกเมนท์ยูเอชทีพร้อมดื่ม ออกสูตรใหม่ ในรูปแบบชง (อินสเตนต์) และกระหน่ำออกหนังโฆษณา เพื่อสร้างการจดจำตราสินค้า 5 ชุดรวด
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 พฤศจิกายน 2548)
"ดอกบัวคู่" ปรับกลยุทธ์ รีอิมเมจท้ารบแบรนด์นอก
ดอกบัวคู่ สลัดภาพความเชย นำเข้าสมุนไพรต่างประเทศร่วมผสมสูตร หวังสู้ศึกแบรนด์นอก ประเดิมครีมอาบน้ำ แชมพูและครีมนวด ปูพรมขยายฐานผู้บริโภคในเชิงกว้าง พร้อมอัดโรดโชว์ 50 จุดทั่วประเทศ ก่อนล้อนท์ทีเด็ดในกลุ่มออรัลแคร์ครบเซ็ทในปีหน้า ด้วยสูตรสมุนไพรลูกผสม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 พฤศจิกายน 2548)
เอเจอัดงบโฆษณา120ล้าน สลัดภาพสินค้าเกรดต่ำ
เอเจแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองจีน ปรับกลยุทธ์ขยับขึ้นตลาดบนสินค้าประเภทวีซีดี และดีวีดีโดยทุ่มงบ 120 ล้านโหมโฆษณา และจัดโรดโชว์ทั่วประเทศสร้างแบรนด์ เพื่อหนีภาพของสินค้าจากเมืองจีนยกระดับแบรนด์สู่ตลาดระดับกลางก่อนขยับต่อขึ้นเจาะตลาดบนด้วยสินค้าประเภทเทคโนโลยี เดินตามแนวเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเกาหลี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 พฤศจิกายน 2548)
ผ่ากลยุทธ์ “แอร์โรว์” โค้งสุดท้ายปี 48 เร่งเครื่องเปิดศึกชิงตลาดใหม่
การปรับตัวของธุรกิจเสื้อผ้าสำเร็จรูปกำลังถูกปรับโฉมใหม่เพื่อรองรับการแข่งขันที่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับการที่ แอร์โรว์ ผลิตภัณฑ์สินค้าสำหรับผู้ชายที่กำลังปรับภาพลักษณ์ของตัวเองให้มีกลุ่มฐานลูกค้าที่แตกต่างออกไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นตลาดกลุ่มผู้หญิงที่เพิ่งเริ่มทำตลาดไปแล้วและสินค้าสำหรับกลุ่มวัยรุ่นที่จะใช้ช่วงเวลาของฤดูหนาวนำร่องเปิดตลาดเสื้อกันหนาวในรูปแบบแฟชั่น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)
"คอมฟอร์ท"ปั๊มบอลลูน สื่อเทคโนฯ "แอร์โฟร์"
คอมฟอร์ท รีลอนช์ครั้งใหญ่ในรอบ 4 ปี ชูกลยุทธ์แบรนด์แอคทิเวชั่น สร้างประสบการณ์ความโปร่ง เบาสบายด้วย "บอลลูนยักษ์" ผ่านแคมเปญ "คอมฟอร์ท ความสุขลอยฟ้า" เพื่อสื่อถึงคุณสมบัติ "แอร์โฟล" เทคโนโลยีใหม่ในน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป้าหมายครั้งนี้หวังหนีสงครามราคา และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด พร้อมขยับแชร์เพิ่มเป็น 36%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 27 ตุลาคม 2548)
อิทธิฤทธิ์ แฟคตอรี เอาต์เลต เปลี่ยนโฉมค้าปลีกไทย
ลดกระหน่ำซัมเมอร์ซอลต์ทุกเดือน ไม่พอซะแล้วสำหรับผู้บริโภคยุคนี้ ถ้าให้เจ๋งจริงต้องลดทุกวันไม่มีวันหยุด
ท่ามกลางพฤติกรรมคนไทยที่ชอบความคุ้มค่า คุ้มราคา ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจแสบๆคันๆ เป็นปัจจัยเร่งให้ “แฟคตอรี เอาต์เลต” ได้รับความนิยมแบบติดเทอร์โบ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)