กลยุทธ์การตลาด:ร้านเฮาส์แบรนด์ Leader Price ไยไม่สำเร็จ
"บริษัทฯ มีแผนที่จะปรับเปลี่ยนร้าน "ลีดเดอร์ไพรซ์" บายบิ๊กซี ทั้งหมดที่มี 5 สาขา ให้เป็นร้านมินิบิ๊กซีทั้งหมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเตรียมการทั้งรูปแบบและวิธีการดำเนินงาน คาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในสิ้นปีนี้" จริยา จิราธิวัฒน์ รองประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เผย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 25 มิถุนายน 2550)
ซูเปอร์ ชอปเปอร์จุดเปลี่ยนระบบธุรกิจค้าปลีก!?
-มาแล้ว ! นักช้อปอีกระดับขั้นที่จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจค้าปลีก
-เผยตัวเร่ง 4 ประการที่จะผลักให้ไทยก้าวสู่การเป็นนักหาข้อมูลก่อนตัดสินใจรูดบัตร และอะไรจะเป็นตัวแปรให้ผู้บริโภคหันซื้อสินค้าในโลกออนไลน์
-จับตาโฉมหน้าอี-คอมเมิร์ชบ้านเราจะเปลี่ยนไปแค่ไหนหลังการเข้ามาของอีเบย์เว็บประมูลสินค้าระดับโลก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 มิถุนายน 2550)
พานาผนึกดีลเลอร์ ขยายฐานลูกค้าลอยัลตี้สูง
พานาโซนิคร่วมกับช่องทางดีลเลอร์พัฒนาร้านค้ารูปแบบใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ "ไลฟ์สแควร์ ชอป" ซึ่งเน้นการขายสินค้าแบรนด์พานาโซนิคเป็นหลัก โดยหวังว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้าที่มีลอยัลตี้ต่อร้านค้าไปสู่การมีลอยัลตี้ต่อแบรนด์ พร้อมกับตั้งเป้าขยาย 10 สาขาในปีนี้ ปะทะโซนี่ที่มีเอ็กซ์คลูซีพชอปทั้งโซนี่ เซ็นเตอร์ และไวโอ้ สตาร์ รวมกันกว่า 35 แห่ง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 พฤษภาคม 2550)
เติม "สนุก" ใส่แบรนด์ ปรับลุคใหม่เพิ่มชีวิตให้สินค้า
การใส่มุขตลกลงไปในโฆษณา และความสนุกสนานลงไปในแบรนด์ หรือตัวสินค้า เป็นสิ่งเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย ทำให้วันนี้บรรดาสินค้าเกือบทุกประเภทหยิบ “Fun” มาเป็นลูกเล่นทางการตลาด แม้วางเป้าหมายต่างกัน “ลักส์” เพิ่ม“Fun”คู่ความสวย พิซซ่า ใส่ความสนุกสนาน แหวกแนวการตลาดเดิม ส่วนซัมซุง คาดหวังจับตลาดเด็ก ทว่า เป็นแนวทางเดียวกันที่เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 พฤษภาคม 2550)
แนวรบใหม่ ขยายฐานลูกค้าด้วยแพกเกจจิ้ง กลยุทธ์พิชิตตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม "โออิชิ"
แม้ว่าแบรนด์เล็กๆที่อยู่ในตลาดชาเขียวกว่า 30 แบรนด์ จะลดลงเหลือรายใหญ่อยู่ในตลาดเพียง 3-4 แบรนด์ แต่ปีนี้ยังเป็นปีที่ดุเดือดของตลาดชาเขียว "โออิชิ" เปิดเกมใหม่ ส่ง"แพกเกจจิ้ง"เป็นเครื่องมือการตลาดช่วยขยายฐานลูกค้ากลุ่มครอบครัว และเด็กในตลาดต่างจังหวัด พร้อมเล็งเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกเครื่องดื่มในช่องทางร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 พฤษภาคม 2550)
น้ำสีแข่งดุ "แฟนต้า vs มิรินด้า" เปิดศึกชิงเค้ก 6.6 พันล้านบาท
ศึกน้ำสี หรือน้ำอัดลมกลิ่นผลไม้เป็นตลาดที่มีการแข่งขันร้อนแรงไม่แพ้ตลาดน้ำดำ แม้ว่าข้อมูลเอซี นีลเส็นจะระบุว่า กลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมกลิ่นผลไม้มีมูลค่าตลาดสูงถึง 6.8 พันล้านบาท จากตลาดรวมน้ำอัดลมปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท มีผู้เล่นในตลาดหลักเพียง 2 ค่าย โดยแฟนต้าเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 77 เปอร์เซ็นต์ และมิรินด้าตามเป็นเบอร์สองของตลาด ครองส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 20% ก็ตาม ทว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การทำตลาดของน้ำสีต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เป็นปัจจัยลบนานาประการ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 พฤษภาคม 2550)
เรโซนาแตกไลน์ฟอร์เมน บุกตลาดระงับกลิ่นกายชาย
เรโซนา โหมปั้นเซกเมนต์ประสิทธิภาพเพื่อการปกป้องเต็มสูบ หลังตลาดโตจากความขาวเนียนใต้วงแขนมานาน ล่าสุดเข็น "เรโซนา ฟอร์เมน" ขยายสู่ตลาดระงับกลิ่นกายผู้ชายครั้งแรกในไทย ชูภาพมัลติแบรนด์เหมือนกันทั่วโลก พร้อมย้ำจุดยืนให้ชัดเจนหลังจากปรับทิศการสร้างแบรนด์ในกลุ่มผู้หญิงมากว่า 2 ปี การรุกอย่างเข้มข้นครบไลน์ในครั้งนี้ เรโซนาหวังว่าจะสามารถเติบโตเท่าตลาดรวม ด้วยแชร์ 16%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 พฤษภาคม 2550)
กลยุทธ์การตลาด: ทำไมจตุคามรามเทพเพิ่งบูม
วันนี้ "จตุคามรามเทพ" กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของสังคมไทยไปแล้ว ทุกสื่อต่างนำเสนอเรื่องราว "จตุคามรามเทพ" ทั้งในแง่มุมความศักดิ์สิทธิ์ แง่มุมการตลาด แง่มุมเศรษฐศาสตร์ ฯลฯ เท่าที่จินตนาการและความสนใจของผู้คนจะขยายไปถึง ถ้าใครที่ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง คงจำได้ถึงภาพผู้คนเป็นแสน ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพขุนพันธ์ฯ (ส่วนหนึ่งเพื่อรับองค์จตุคาม) หรือภาพการแย่งกันจององค์จตุคามรุ่นดัง ๆ ขลัง ๆ จนเกิดเหตุเหยียบกันตาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 เมษายน 2550)