เกมรบใหม่ โออิชิ VS อิชิตัน เร่งเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้า
สงครามชาเขียว ระอุขึ้นอีกครั้ง จากคู่ชิง 2 บิ๊กธุรกิจ โออิชิ กับ อิชิตัน ที่ต่างคนต่างไม่ยอมกัน โดดลงมางัดกลยุทธ์ Distribution Strategy หรือการแข่งขันช่องทางกระจายสินค้า โดยโออิชิ ผนึกไปกับเบียร์ช้าง ขณะที่ อิชิตัน ออกมางัดข้อ ตามเกมนี้ทันที โดยจับมือกับสิงห์ คอร์เปอเรชั่นฯ ให้ช่วยกระจายสินค้าแบรนด์อิชิตัน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 3 กุมภาพันธ์ 2555)
เปิดยุทธศาสตร์ ‘โออิชิ’ สร้างเครือข่าย บุกตลาดโลก
โออิชิ กรุ๊ป ยุคใหม่ โดยมี “นวัตกรรม” และ “การบริหารจัดการองค์กรระดับมืออาชีพ” เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายใหม่ที่ใหญ่ขึ้น ไม่เพียงการเป็นบริษัทผู้นำด้านอาหารและเครื่องดื่ม แต่จะปั้นให้ “โออิชิ” เป็นแบรนด์ระดับโลก (Global Brand) โดยตั้งเป้าใน 3 ปี ตลาดส่งออกจะมีสัดส่วน 30% ของรายได้รวมบริษัท
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กันยายน 2554)
“ลิปตัน” บูมตลาดชาเขียว D.I.Y ชน “เนสท์ที” บนสังเวียนชาผงพันล้าน
ยูนิลีเวอร์ฯทุ่ม 100 ล้านบาท เข็น “ลิปตัน ไอซ์ที” ชนผู้นำ “เนสท์ที” บนเวทีชาผง ชู “กรีนที ฮันนี่ เลมอน” นวัตกรรมชาเขียวแบบผงรายแรกเป็นจุดขายสร้างความต่างเหนือคู่แข่ง ที่มีเฉพาะรส “ไอซ์ที เลมอน” หลังสำรวจพบ ผู้บริโภคต้องการชาเขียวแบบผงมากกว่าชาดำ พร้อมผุด “ลิปตัน ไอซ์บาร์” ย่านสยามสแควร์ นาน 5 เดือน เพื่อสร้างประสบการณ์และเพิ่มสีสันให้กับผู้บริโภค หวังให้เกิดเป็นเทรนด์ในหมู่วัยรุ่น มั่นใจปีแรกปั๊มยอดขายโต 20%
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มีนาคม 2554)
'ทีเบรค' ลอนช์รสชาติใหม่ อัดโปรโมชั่น ขยายฐานวัยรุ่น
สยาม คิรินฯ โฟกัส ทีเบรค รุกตลาดชาดำ ชูภาพชาผู้ดีอังกฤษ สร้างอิมเมจหรู ลอนช์รสชาติใหม่ พร้อมส่งโปรโมชั่นแคมเปญ แจก BB ทุกวัน นิสสัน มาร์ช ทุกเดือน หวังขยายฐานนักศึกษาและเฟิร์สจ๊อบเบอร์ ตั้งเป้ายอดโต 50% ในช่วงแคมเปญ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 สิงหาคม 2553)
ชาเขียว"เซกเมนต์ใหม่" กลยุทธ์ฝ่าศึก 2 ด้านของ"ลิปตัน"
"ลิปตัน" แบรนด์นำ "ชาดำ" เจอศึก 2 ด้าน จากคู่แข่งจ้องโค่นเบอร์ 2 ในตลาดรวมชาพร้อมดื่ม มูลค่า 4 พันล้านบาท และชาดำ ที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาท้าชิงมากขึ้น เดินหน้าเปิดเซกเมนต์ใหม่ โดยหยิบจุดขาย "เพื่อสุขภาพและความงาม" มาเป็นตัวสร้างโอกาสใหม่ในตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม ส่งซับแบรนด์ "ลิปตัน ไนน์" จับตลาดผู้หญิงรักสุขภาพ อายุ 25-35 ปี ซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดเดิมที่เน้นจับกลุ่มคนดื่มทั่วไป ด้วยจุดขายและคุณค่าของสินค้า"ทางด้านรสชาติ และความสดชื่น ที่มีแบรนด์ "โออิชิ" ยึดตลาด
(ผู้จัดการรายวัน 25 สิงหาคม 2551)
ศึกชิง"ชาเขียว RTD" พันธุ์ใหม่ กระแสแรง ปลุกชีพตลาดรวมโต
หลังจากแคมเปญโปรโมชั่น 30 ล้าน 30 ฝา ของชาเขียวโออิชิ สร้างปรากฏการณ์กระชากยอดขายของโออิชิให้เติบโตแบบพุ่งพรวด และยังดันมูลค่าตลาดรวมขยับขึ้นบางช่วงเฉียด 8 พันล้านบาท มาถึงวันนี้ ไม่มีค่ายไหนโหมทำโปรโมชั่นตลาดชาเขียวเช่นเดิมซึ่งทำให้ชาเขียวไม่ได้เข้ามาอยู่ในกระแสความนิยมแบบสุดขีดเช่นเดิม แต่ตลาดก็ยังไปได้เรื่อยๆเป็นปกติตามวัฏจักรของสินค้า และผู้บริโภคเริ่มจะมีความเคยชิน โดยให้การยอมรับเข้ามาเป็นเครื่องดื่มปกติในชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 มกราคม 2551)
แนวรบใหม่ ขยายฐานลูกค้าด้วยแพกเกจจิ้ง กลยุทธ์พิชิตตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม "โออิชิ"
แม้ว่าแบรนด์เล็กๆที่อยู่ในตลาดชาเขียวกว่า 30 แบรนด์ จะลดลงเหลือรายใหญ่อยู่ในตลาดเพียง 3-4 แบรนด์ แต่ปีนี้ยังเป็นปีที่ดุเดือดของตลาดชาเขียว "โออิชิ" เปิดเกมใหม่ ส่ง"แพกเกจจิ้ง"เป็นเครื่องมือการตลาดช่วยขยายฐานลูกค้ากลุ่มครอบครัว และเด็กในตลาดต่างจังหวัด พร้อมเล็งเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกเครื่องดื่มในช่องทางร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 พฤษภาคม 2550)