ไทยรับพ่าย FTA 'จีน-ญี่ปุ่น' ดุลการค้าดิ่งหัว-เกษตรฯอ่วม.!
เปิดแผล FTA ไทย 8 ฉบับ เฮ 6 เสีย 2 โดยเฉพาะ 'ยุ่น-จีน' ที่ไทยใช้สิทธิประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ สินค้าเกษตรฯไทยอ่วมหนัก-สินค้านอกทะลักตีตลาดในประเทศ ขณะที่ส่งออกหลุดเป้าเหตุเจอการกีดกันการค้าต่างๆนานา ส่วน ก.พาณิชย์ทำได้แค่แนะผู้ประกอบการเข้ารับการช่วยเหลือจากกองทุนฯ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กรกฎาคม 2552)
หวั่นค้าเสรีอาเซียนทำไทยเจ๊ง.! จี้ ‘ท่องเที่ยว-เกษตร-รถยนต์’ ปรับตัวก่อนสาย
ภาคเอกชนหวั่น FTA-อาเซียนทำธุรกิจในประเทศเจ๊ง.! เหตุคู่แข่งในอาเซียนแข็งแกร่งมากขึ้น ชี้ 3 ภาคธุรกิจต้องปรับตัวด่วน ด้านกลุ่มรถยนต์ยืนเป้าหมายเดิม Detroit of Asia พร้อมฉวยโอกาสดึงนักลงทุนเกาหลีเข้าไทย ขณะที่ “ภาคเกษตร” อ่วมสุดหลายเซกเตอร์เป็นรองต้องปรับขบวนขนานใหญ่ ส่วนท่องเที่ยวต้องยกระดับเป็น “ศูนย์กลาง”แห่งภูมิภาคก่อนเชื่อมสู่ประตูเพื่อนบ้าน ทั้งพัฒนาด้านบุคลากร-ภาษาที่ยังเป็นรอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 สิงหาคม 2551)
ระวัง!!FTA"ภาคการเงิน"ซ้ำรอยอดีต..วิกฤตถาโถมฝรั่งปลดป้ายหนีเอาตัวรอด
คนในแวดวง "ตลาดเงิน-ตลาดทุน" เริ่มวิตกถึงภัยคุกคามที่มองไม่เห็น จากการเตรียมเปิดเสรี FTA ภาคการเงินกับอเมริกา ต้นแบบลัทธิทุนนิยม โดยมุ่งความสนใจไปที่ พฤติกรรมนักล่าผลประโยชน์ทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดวิกฤตก็จะเผ่นแน่บ หนีเอาตัวรอดคนเดียว "ทิ้ง" ให้คนในท้องถิ่นต้องแบกรับผลกรรมแบบไม่ใส่ใจใยดี "นายแบงก์" กังวลการกำกับดูแลอาจไม่เท่าเทียม รัฐคุมแบงก์ไทยได้แต่สั่งฝรั่งไม่ได้ ส่วนโบรกฯไม่มีทางเลือกต้องปรับโมเดลให้อยู่รอดโดยเลือกเอาความชำนาญเฉพาะทาง ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ห่วงเงินไหลเข้า-ออกอาจคุมไม่อยู่....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6 มีนาคม 2549)
"เอฟทีเอไทย-จีน/อาเซียน"ทำป่วนรากหญ้ากระอัก-ดุลการค้าติดลบ
นโยบายค้าเสรีไทย-จีน/อาเซียนทำป่วน อุตสาหกรรมชา/แผนปลุกปั้น TEA CITY เชียงรายกระเทือนทั้งระบบ เกษตรผู้ปลูกกว่า 2 หมื่นครัวเรือนได้รับผลกระทบถ้วนหน้า ขณะที่ผู้ปลูกพืช-ผักรายย่อยเริ่มหมดทางหากิน หลังถูกพืช-ผักราคาถูกจากจีนตีตลาดกระจุย แถมทิ้งกล่องโฟมไว้ดูต่างหน้า สงว.จวกนโยบายค้าเสรีไทย-จีนลักลั่น สินค้าไทยต้องแบก VAT จีนถึง 13% ขณะที่สินค้าเกษตรจีนเข้าไทยได้รับการยกเว้นภาษี 0%ถ้วนหน้า ทั้งเรือไทยหมดสิทธิ์เกิดในแม่น้ำโขง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 ธันวาคม 2548)
ทุนออสซี่ตบเท้าเข้าไทย เล็ง 6 ธุรกิจดาวรุ่ง-บีโอไอชี้ "ยานยนต์-เหมืองแร่"เด่น
ฑูตพาณิชย์ออสเตรเลีย ประจำไทย ระบุอานิสงส์เอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย ดูดให้กองทัพนักลงทุนจากออสเตรเลีย เข้ามาลงทุนในไทย ชี้ 6 ธุรกิจดาวรุ่งที่ต้องการลงทุน ขณะเดียวกันเตรียมนำนักธุรกิจโรดโชว์ดึงคนไทยหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม พร้อมเจาะตลาดสปา ด้านบีโอไอ แจงแนวโน้มทุนออสเตรเลียเข้าไทยมากขึ้นทั้งธุรกิจยานยนต์และเหมือนแร่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 พฤศจิกายน 2548)
เปิดรายชื่อสินค้าไทยฮอตในจีน พาณิชย์ฯนำทัพทุนไทยเจาะคนรวย!
เปิดสินค้า 4 กลุ่มภูมิภาคในจีน หลังกรมส่งเสริมการส่งออกส่งหน่วยคอมมานโดทางการค้าเข้าศึกษาเชิงลึก ตามแผนปฏิบัติการจีน ปี 48 แนะธุรกิจไทยเน้นนำสินค้าระดับ high-end ขายคนรวยในเมืองที่มีจีดีพีสูง ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียง กวางโจว เซินเจิ้น ส่วนเมืองไหนจีดีพีต่ำ ควรหลีกเลี่ยง เพราะสู้สินค้าราคาถูกของจีนไม่ได้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
โรดแมพเอฟทีเอใกล้คลอด ช่วยกลุ่มทุนไทยลุยตลาดคู่ค้า
ผู้แทนการค้าไทย เตรียมทำโรดแมพ เอฟทีเอ ช่วยนักลงทุนไทยที่จะผลิตและขายสินค้าได้ตรงตามความต้องการของประเทศคู่ค้า ขณะเดียวกันศึกษาหาช่องทางตลาดใหม่ ๆ พร้อมทั้งหาช่องทางใช้ประเทศคู่ค้าเปิดตลาดสู่ประเทศใกล้เคียง ชี้อินเดียน่าสนใจอันดับหนึ่ง ทั้งธุรกิจคอมพิวเตอร์ ไอที และรับเหมาก่อสร้างกำลังพุ่งแรง !
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม 2548)
ญี่ปุ่นอาศัยFTAคุมตลาดรถยนต์อาเซียน
หลายปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นดิ้นรนอย่างหนักเพื่อทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับบรรดาประเทศย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งจะให้บริษัทผู้ผลิครถยนต์ญี่ปุ่นสามารถส่งสินค้าปลอดภาษีไปเสนอขายแก่ผู้บริโภคกว่า 530 ล้านรายในภูมิภาคนี้ ความสำเร็จตรงนี้หมายถึงตลาดสำคัญที่จะช่วยทดแทนตลาดอันเหือดแห้งในเหล่าประเทศพัฒนาแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 มิถุนายน 2548)
ตรวจแถว SMEs รับมือ FTA ปั้นธุรกิจไทยสู่ตลาดโลก
การเปิดเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ เป็นยุทธศาสตร์การค้าภายใต้นโยบาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า การลงทุนของประเทศ โดยมีเป้าหมายการเจรจา 12 ประเทศ ปัจจุบันกระแสการเจรจาเข้มข้นขึ้นทุกขณะ ไม่เพียงธุรกิจรายใหญ่ที่ออกมาพูดถึงผลกระทบที่จะได้รับหลังการเจรจาการเปิดเขตการค้าเสรีในครั้งนี้ โดยเฉพาะระหว่างไทย สหรัฐ ไม่ต้องพูดถึงผู้ประกอบการระดับเอสเอ็มอีส่วนใหญ่หวั่นถึงผลกระทบที่จะได้รับและตื่นตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 17 มิถุนายน 2548)
เกาหลีใต้เริ่มเจรจาทำเอฟทีเอกับอาเซียน หวังเร่งให้เสร็จทันลงนามเดือนธันวาคมนี้
เกาหลีใต้เปิดการเจรจารอบแรกกับสมาคมอาเซียน เพื่อจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ) เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ กรุงจาการ์ตา กระทรวงกิจการและการค้าต่างประเทศโสมขาวแถลงว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะทำความตกลงกันให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปีนี้ โดยคาดหมายกันว่าหลังเจรจาหารือกันเพิ่มเติมอีก 4 รอบ ก็จะสามารถบรรลุข้อตกลงเอฟทีเอในด้านการค้าสินค้าอย่างเต็มรูปและเป็นทางการกันได้ พร้อมลงนามในช่วงของการประชุมผู้นำระดับสุดยอดเกาหลีใต้-อาเซียนเดือนธันวาคมปีนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 มีนาคม 2548)