'เอเอซีพี'เปิดยุทธศาสตร์สีน้ำเงิน จัดขบวนทัพบุกตลาดประกันชีวิต
'เอเอซีพี' สร้างฝันกับปรากฏการณ์ 'ยุทธศาสตร์สีน้ำเงิน' ที่สื่อความหมายว่าบุคคลในบ้านจะได้รับความคุ้มครองชีวิตจากเอเอซีพี นำมาสู่การจัดทัพบุกตลาดในครึ่งปีหลังของบริษัท ด้วยการออกประกันชีวิตภายใต้แนวคิด 'ประกันชีวิตสำเร็จรูป' พร้อมเสิร์ฟทุกกลุ่มเป้าหมาย ตอกย้ำภาพลักษณ์แบรนด์ด้วยกิจกรรมเพื่อสังคมที่ผันตัวเป็นผู้ให้
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กรกฎาคม 2552)
6ปีบนหลังเสือ"อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ฯ"ถึงเวลาปฏิบัติการเชิงรุกกวาด"เบี้ยใหม่"
6 ปีที่ผ่านมา "อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต" เหมือนนั่งอยู่บนหลังเสือ เริ่มต้นจากการก่อกบฎของ "กองทัพฝ่ายขาย"เมื่อเกือบ 4 ปีก่อน ก่อนจะจบลงด้วยการปราบปราม "ทีมขาย" มากบารมี กำจัดปัญหา "คลื่นใต้น้ำ" จัดการกับขยะที่หมักหมมในรูปผลประกอบการสีแดงเถือก จนกระทั่งถึงเวลา "ปฏิบัติการเชิงรุก" ในรูป การสร้างแบรนด์ ผ่านช่องทางสารพัดที่มีอยู่ในโลก โดยมีเป้าหมายคือ เก็บกวาดเบี้ยใหม่ให้ได้มากที่สุด ท่ามกลางสนามรบที่คุกรุ่นไปด้วยเปลวเพลิงของไปสงคราม....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 มีนาคม 2551)
"เอเอซีพี"พลิกตำราประกันชีวิต
"อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต" หรือ "เอเอซีพี" น่าจะเป็นเพียงไม่กี่รายที่สร้างตลาดและแบรนด์ผ่าน "โมเดลการขาย" ที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากเจ้าอื่นๆ เริ่มต้นจากใช้พอร์ตลงทุนเป็นตัวทำตลาดผ่านสินค้าที่ทำให้น่าสนใจ ไม่มีการใช้งบลงทุนไปกับการโฆษณา แต่จะใช้วิธีจ่ายคอมมิชชั่นตัวแทนจนไม่มีใครจะปฏิเสธได้ลง หรือการเปิดช่องทางขายใหม่ๆ ผ่านรูปแบบการขายไม่ซ้ำแบบใคร โดยไม่แคร์ว่าต้องเกาะกลุ่มพันธมิตรเพียงฝั่งเดียวเหมือนในอดีต
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 เมษายน 2550)
"ทิสโก้"แบงก์เล็กคิดการใหญ่"เอเอซีพี"อะไรก็เบรกไม่อยู่
ฒิฬ"เอเอซีพี"ธุรกิจประกันชีวิตเบอร์ 3 น่าจะเป็นเพียงไม่กี่ราย ในกลุ่มนายทุนจากยุโรป ที่หันมาเอาดีในตลาดเกิดใหม่ จนพลิกจากผลประกอบการขาดทุนสะสมเรื้อรังเป็นเวลาสิบๆปี มาเป็นกำไรในชั่วเวลาไม่นาน... และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาหยุดยั้ง การเติบใหญ่ของ "เอเอซีพี" ได้ เพราะในขณะที่โครงสร้างธุรกิจที่มีพันธมิตรหลายฝ่าย ทั้ง ซีพี และแบงก์กรุงศรีอยุธยา แต่เส้นทางเดิน "เอเอซีพี" ก็พร้อมเปิดกว้างสำหรับคู่ค้าหน้าใหม่ๆ..."ทิสโก้" แบงก์ขนาดเล็กคือ พันธมิตรธุรกิจรายล่าสุด ที่เปิดเส้นทางการค้ากับ "เอเอซีพี"แลกกับฐานลูกค้าร่วมแสนชีวิต ผ่านรายได้ค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายในอนาคต..."ทิสโก้แบงก์" กำลังดิ้นรนสร้างรากฐานให้กับตัวเอง ขณะที่ "เอเอซีพี" ก็วิ่งเร็วจนหยุดไม่อยู่...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2549)
"AACP"ขยายพื้นที่ขายไม่จำกัดขอบเขต เคาะประตูบ้านนายหน้า-ตัวแทนวินาศภัย
เส้นทางของ "AACP" เบอร์สามธุรกิจประกันชีวิตในช่วงเวลาไม่กี่ปี ภายหลังเปลี่ยนหัวเรือใหญ่มาเป็น "วิลฟ์ แบล็คเบิร์น" เริ่มจะเห็นถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานอย่างเห็นได้ชัด หากเทียบกับประกันชีวิตจากซีกโลกเดียวกัน ถ้าไม่นับการรื้อโครงสร้างผู้บริหาร ปรับระบบงานภายในอย่างถอนรากถอนโคน การปล่อย สินค้าแบบรัวถี่ยิบและสร้างความฮือฮาในกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกันเอง ก็ยังมีการทำตลาดผ่านช่องทางใหม่ๆ ที่ถือเป็นรอยเชื่อมต่อหลอมรวมวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกจนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็มีเสียงเล่าลือมาว่า "ยุทธศาสตร์AACP" ค่อนข้างจะสุ่มเสี่ยงมากพอจะสร้างรอยร้าวให้กับทีมงานเก่าๆได้ หากกลไกการควบคุมไม่ดีพอ...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 ตุลาคม 2549)
ประกันชีวิตทุนนอกเปิดฉากไล่บดขยี้AACPเป่ารายได้พอร์ตลงทุนท้าทายพี่เบิ้ม
หากปีที่ผ่านมาคือ การสะสางปัญหาขาดทุนสะสม และลดความตรึงเครียดภายในองค์กรของ อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต(เอเอซีพี) ในปีนี้ก็จะเป็นปีที่ถูกจัดวางตำแหน่งให้พร้อมขยายการลงทุนในทุกๆด้านเพิ่มเติม เสมือนการปิดล้อมและบดขยี้คู่แข่งในตลาด เพื่อช่วงชิงอาณาจักรเบี้ยประกันชีวิต โดยไม่พลาดการประกาศเปิดศึกรบ ท้าทายผู้นำในตลาดอย่าง เอไอเอ และไทยประกันชีวิต ด้วยรูปแบบที่เป็นขั้นตอนมากที่สุดครั้งหนึ่ง นับจาก "เอเอซีพี" เริ่มตั้งหลักในตลาดเมืองไทย ขณะที่ผู้คนในวงการประกันชีวิตมองว่า สงครามครั้งนี้คือ การเผชิญหน้า ฟาดฟันกันเองระหว่างทุนฝั่งตะวันตก แต่ความเสียหายก็ยังลุกลามไปทั่วทุกหย่อมหญ้า....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 พฤษภาคม 2549)
เอเอซีพีจัดทัพชิงลุยตลาดเทเลมาร์เกตติ้ง
เทเลมาร์เก็ตติ้ง อีกหนึ่งวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาบุกตลาดแทนตัวแทนขาย และเป็นอีกช่องทางที่บริษัทประกันภัยหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจ และเข้ามาเล่นในตลาดนี้มากขึ้น แต่ใช่ว่าทุกคนที่ลงมาเล่นในตลาดนี้จะประสบความสำเร็จเหมือนกันหมด เพราะสำหรับช่องทางการขายผ่านโทรศัพท์แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่างเป็นตัวผลักดัน โดยเฉพาะชื่อเสียง และความมั่นคง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มกราคม 2549)
เอเอซีพีฉวยโอกาสดอกเบี้ยขึ้น ออกอยุธยาออมทรัพย์มั่นคง 10
อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต (เอเอซีพี) ฉวยจังหวะในช่วงของดอกเบี้ยขาขึ้นออกกรมธรรม์ใหม่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 5.7% เพื่อกระตุ้นตลาดประกันชีวิต และเสริมทางเลือกให้นักลงทุนที่ต้องการทำประกันชีวิตควบคู่สะสมทรัพย์ใช้โอกาสทองดังกล่าวเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 พฤศจิกายน 2548)
AACPเปิดแนวรบฤดูกาลเงินเฟ้อ ฉีดเงินกระตุ้น"เบี้ย"โค้งสุดท้าย
หากการหว่านเงินกระตุ้น "ตัวแทนขาย" ประกันชีวิต เปรียบดั่ง "สารเร่งการเติบโต" ของเบี้ยประกัน การหันมายึดแนวทางแต่ดั้งเดิม ที่กลายเป็นประเพณีปฎิบัติ โดยการอัดฉีดเงินค่าหัวให้กับ "นักรบ" ในสนามก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับคนในวงการนี้...
วิลฟ์ แบล็คเบิร์น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต (AACP) เลือกใช้วิธีนี้ก่อนใคร เพื่อเร่งให้เบี้ยปีแรกทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงโค้งสุดท้ายที่เหลือเวลาไม่ถึง 3 เดือนดี
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 พฤศจิกายน 2548)
เปิดพอร์ตนักลงทุนรายใหญ่"AACP"
ธุรกิจประกันชีวิต ในอีกสถานภาพหนึ่งก็คือ "นักลงทุนสถาบัน" ที่จำเป็นต้องพึ่งพารายได้จากการลงทุน ในขณะที่ภาวะแวดล้อมโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญกำลังสร้างปัญหาให้กับพอร์ตลงทุน เพราะการเหวี่ยงขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลโดยตรงต่อดอกผลที่ธุรกิจจะต้องจ่ายคืนกลับให้ลูกค้า...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กันยายน 2548)