พรานทะเลเน้นอีโมชันนัล สื่อสารผ่านแบรนด์ไอคอน
พรานทะเล ปรับกลยุทธ์การตลาดหันมาชูกลยุทธ์สื่อสารอีโมชันนัล ผ่านแบรนด์ไอคอน สร้างความใกล้ชิดแบรนด์ รองรับการขยายไลน์สินค้ากลุ่มชิลล์ฟูดพร้อมปรุงเข้าสู่ช่องทางใหม่ในตู้แช่ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีเนื้อหมูไก่วางขายเท่านั้น
(ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กุมภาพันธ์ 2553)
สังเวียนแช่เย็นพร้อมกินมาแรงปี'53 แบรนด์หน้าใหม่-เก่าปรับทัพรบชิง 6 พันล.
จับกระแสมาแรงอาหารพร้อมกินตอบโจทย์ด้านความสะดวสบาย ที่เก็บรักษาในตู้เย็นได้นานกว่า 20 วัน จุดชนวนแบรนด์หน้าใหม่ เพิ่มทัพสินค้าใหม่เพื่อมาเปิดเกมรบกับผู้เล่นรายหลักของตลาดคือ ซีพีเอฟ พรานทะเล และเอสแอนด์พี ในสังเวียนรบของโฟรเซ่นฟู้ด และชิลด์ฟู้ด ทั้งกลุ่มพร้อมกินและพร้อมปรุง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 มกราคม 2553)
สังเวียนรบใหม่พรานทะเล เฮาส์แบรนด์ เพิ่มแชร์โฟรเซนฟู้ดพร้อมกิน
แผนชิงเค้กตลาดโฟรเซนฟู้ดพร้อมกิน 'พรานทะล' พลิกเกมรบปี'53 ปรับแนวรุกสู่สังเวียนการแข่งขันใหม่ โดยเพิ่มบทบาทเป็นผู้ลิตสินค้าเฮาส์แบรนด์ กับโมเดิร์นเทรด ซูเปอร์มาร์เกต ทั้งนี้เพื่อสร้างแต้มต่อจากซีพีเอฟ และเอสแอนด์พี ที่เป็นคู่แข่งรายสำคัญในตลาดนี้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 ธันวาคม 2552)
จับคู่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กลยุทธ์เซกเมนต์ใหม่ "พรานทะเล"
พรานทะเล หลบฉากการแข่งขันร้อนแรงในตลาดอาหารแช่แข็งพร้อมกินที่เป็นเรดโอเชี่ยน มุ่งสู่น่านน้ำทะเลสีคราม มองเห็นโอกาสแจ้งเกิดสินค้า ที่จับคู่ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งมีการเติบโตต่อเนื่องด้วยตลาดรวมมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท เดินเกมสร้างเซกเมนต์ใหม่ลงตลาดอาหารแช่แข็งพร้อมกิน เปิดตัวแบรนด์ "คลิ๊ก" ขยายฐานสู่ตลาดแมส จับกลุ่มลูกค้านักเรียนนักศึกษา กลุ่มคนทำงาน พ่อบ้านแม่บ้าน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 กันยายน 2551)
"พรานทะเล" เปิดเกม เหวี่ยงแหตามกระแสสุขภาพสกัดคู่แข่งบุกหนัก "อาหารแช่แข็งพร้อมทาน"
นับว่าตัวเลขยอดขายของพรานทะแลที่มีการเติบโตมาตลอดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น เป็นการประกาศชัยชนะในการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคได้สำเร็จ โดยความนิยมที่ผู้บริโภคได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มมากขึ้น ด้วยตำแหน่งสินค้าสอดคล้องกับยุคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว สะอาด และปลอดภัย ที่สำคัญคือการตอกย้ำทางด้านคุณค่าของอาหารทะเลซึ่งตอบสนองกับกระแสรักษ์สุขภาพที่กำลังมาแรง โดยผลประกอบการในปีที่ผ่านมา มียอดขาย 1,000 ล้านบาท เติบโต 25% ส่วนผลประกอบการปีนี้ตั้งเป้ายอดขายรวมไว้ที่ 1,200 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโต 20%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 11 กุมภาพันธ์ 2551)
พีเอฟพี ผนึกกำลังมัลติแบรนด์ รอจังหวะเปิดเกมชนแบรนด์ใหญ่
ยุคบูมของอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) ที่อยู่ในกระแสความนิยมจากผู้บริโภคในปัจจุบัน เป็นแรงผลักดันทำให้แบรนด์ "พีเอฟพี" ซึ่งกำลังเปลี่ยนบทบาทจากเป็นผู้เล่นในตลาดอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อส่งออก ปรับสัดส่วนมาทำตลาดในประเทศมากกว่า ต้องเร่งสร้างสินค้า แบรนด์ และระบบการจำหน่ายสินค้าให้มีความเข้มแข็งขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะเพื่อต่อกรกับยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งรายอื่นๆ ซึ่งประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับ พีเอพพี และได้เริ่มปรับแนวทางหันมาจับตลาดในประเทศ เปิดเกมด้วยการให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ใหม่ เพื่อเข้าไปช่วงชิงในตลาดอาหารพร้อมรับประทานในประเทศ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 ธันวาคม 2550)
'พรานทะเล' เพิ่มจุดขายชูแฟรนไชส์ทะลวงตลาด
โฟรเซ่น ฟู้ดส์ แข่งเดือด พรานทะเลต่อยอดธุรกิจเพิ่มช่องทางการจำหน่ายชูกลยุทธ์แฟรนไชส์ บุกตลาดหัวเมืองต่างจังหวัด หวังแจ้งเกิดโมเดลธุรกิจพร้อมลุยต่างประเทศปี 2550 ชี้จุดแข็งโปรดักส์อาหารทะเลรับเทรนด์ผู้บริโภคห่วงใยต่อสุขภาพเป็นจุดขาย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 กันยายน 2549)