ส่องยุทธศาสตร์ 3 แบรนด์ขายตรงนู สกิน-แอมเวย์-กิฟฟารีน ลุยโค้งสุดท้าย
สงครามขายตรงร้อนระอุทุกตารางนิ้ว เมื่อ 3 ผู้เล่นหลักเปิดเกมรุกจนโค้งสุดท้ายหวังโกยยอด-ชิงคน ล่าสุด “นู สกิน” วาง 3 ยุทธศาสตร์ นวัตกรรม-ขยายเครือข่าย-การให้ผลตอบแทน เพื่อปิดยอดขายระดับริจินัล 10,000 ล้านบาท ใน 5 ปีนับจากนี้ และติด Top 5 ขายตรงทั้ง 6 ประเทศ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2553)
กิฟฟารีนขยายแนวรบ งัดไลเซ่นส์ ชอปบุก
ศึกขายตรงร้อนแรงไม่หยุด กิฟฟารีนเร่งสร้าง P ตัวที่ 3 ด้วยการผุดโมเดล 'กิฟฟารีน ไลเซ่นส์ ชอป' เป็นครั้งแรก พร้อมวางคอนเซ็ปต์Choose & Shop เป็นไฮไลต์การจัดศูนย์ หลังผลวิจัยชี้ช่วยเพิ่มโอกาสการตัดสินใจซื้อมากขึ้น นอกเหนือจากการขยายช่องทางการกระจายสินค้า เพื่อรองรับจำนวนสมาชิกใหม่ที่เพิ่มขึ้นทุกเดือนเฉลี่ย 3-4 หมื่นราย และการตั้งเป้าขยับรายได้สู่ 8,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีแล้ว การรุกในเกมนี้กิฟฟารีนคงหนีไม่พ้นต้องแข่งขันกับ'แอมเวย์ ชอป' ของค่ายแอมเวย์อย่างแน่นอน
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 มิถุนายน 2552)
"กิฟฟารีน" ต่อจิ๊กซอว์คนด้วยวัฒนธรรมไทยแบบอินเตอร์
- เปิดกลยุทธ์ปั้นคน สู่ปลายทางที่ชัดเจน พัฒนาการ 13 ปีของ "กิฟฟารีน"
- แบรนด์ไทยในจังหวะก้าวผ่าน สู่องค์กรผสมผสานไทย - ตะวันตก
- สกัดดีเอ็นเอพนักงานยุคใหม่ ต้องมีสายพันธุ์ นักบริหาร-นักจิตวิทยา-นักการตลาด
- HR กลไกสำคัญต่อเติมบรรยากาศให้น่าอยู่ ด้วยแนวทางเชิงรุก
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 15 กันยายน 2551)
กิฟฟารีนแตกแบรนด์ WIS เพิ่มยอดขายสมาชิกชาย
กิฟฟารีนเปิดตัวแบรนด์น้องใหม่ WIS for MEN by Giffarine รับกระแสผู้ชายเจ้าสำอาง ที่ตลาดมีการเติบโตมากขึ้น ประกอบกับสมาชิกนักขายที่เป็นชายมีมากขึ้น
กิฟฟารีนรุกตลาดเครื่องสำอางผู้ชายวัย 25-40 ปีภายใต้แบรนด์ WIS หลังจากพบว่าสินค้าดังกล่าวกำลังได้รับความสนใจจากตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ในอดีตกิฟฟารีนได้มีการทำเครื่องสำอางสำหรับผู้ชายภายใต้แบรนด์หลักก็คือกิฟฟารีนอยู่แล้วซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีพอสมควร ทว่ายังมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ยังลังเลไม่กล้าใช้เนื่องจากรูปลักษณ์และแพกเกจจิ้งถูกดีไซน์ให้เหมาะกับผู้หญิงมากกว่า แต่ก็ยังมีสินค้าบางประเภทที่ได้รับการยอมรับจากผู้ชาย เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ลบริ้วรอยสำหรับผู้หญิงซึ่งมีริ้วรอยมากกว่าเพศชาย อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่ใช้ในบ้านมากกว่าจะพกติดตัวออกมาใช้นอกบ้าน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)