Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
News Article Profile Photo

industry
company
a - e
f - l
m - r
s - z
ก - ง
จ - ฌ
ญ - ฑ
ฒ - ถ
ท - ป
ผ - ภ
ม - ว
ศ - ฮ
0 - 9

people
internet
brand


View Results by Group
นิตยสารผู้จัดการ160  
Positioning46  
ผู้จัดการรายวัน146  
ผู้จัดการรายสัปดาห์30  
PR News808  
Web Sites2  
Total 1162  

Listed Company
Manager Lists
 
Company > ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.


ผู้จัดการรายสัปดาห์ (11 - 20 of 30 items)
กสิกรฯฟุ้งเบี้ยปีแรกโต145%หันรุกประกันแบบสะสมทรัพย์ กสิกรไทยเผยรายได้จากการขายประกันผ่านแบงก์พุ่งกระฉูดสวนทางเศรษฐกิจชะลอ ล่าสุดไตรมาสแรกกวาดเบี้ยประกันรับปีแรกถึง 600 ล้านบาท หรือขยายตัวเพิ่มขึ้น 145%ขยับมาร์เก็ตแชร์อยู่อันดับ 2 ในธุรกิจขายประกันผ่านแบงก์ มั่นใจปีนี้จะกวาดเบี้ยประกันปีแรกได้ถึง 2,000 ล้าบาท จากฐานลูกค้าใหม่ 5 หมื่นราย พร้อมเดินหน้ารุกขายประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์มากขึ้น(ผู้จัดการรายวัน 26 มิถุนายน 2550)
"เคแบงก์" ต่อยอดสินเชื่อด่วน SME ลดความเสี่ยงกระจุกตัวพอร์ตรายใหญ่ ในภาวะที่ความเชื่อมั่นลด การบริโภคหดตัว "แบงก์กสิกรไทย" มิได้หวั่นไหวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตรงข้ามยังเดินหน้าปล่อยสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ล่าสุดต่อยอดบริการเงินกู้ให้ภาคธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการที่มิอาจปฏิเสธได้ว่ามีความเสี่ยงสูง และอาจทำให้ตัวเลขเอ็นพีแอลของ แบงก์แห่งนี้เพิ่มขึ้นด้วย แต่แล้วดูเหมือนว่างานนี้ "กสิกรไทย" จะมิได้วิตกกับเรื่องดังกล่าวมากนัก(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
“พันธมิตรการเงิน” จิ๊กซอว์ใหม่ เสริมความแกร่ง LPN สู่ยุคที่ 3 LPN เสริมความแกร่งสู่ยุคที่ 3 จับมือ KBANK เป็นพันธมิตรการเงินปล่อยสินเชื่อคอนโด 6 แสน งัดสารพัดวิธีรักษาลูกค้า ใช้บริการแบงก์เป็นตัวช่วยแก้ปัญหายอดปฏิเสธสินเชื่อบ้านพุ่ง(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2550)
ตามรอยยุทธศาสตร์"ตระกูลKฮีโร่"สร้างรากฐาน-ปฎิวัติประเพณีแบงก์ ผู้นำ "เคแบงก์" บัณฑูร ล่ำซำ เชื่อว่า "ยุทธศาสตร์ธุรกิจ" ต้องเฝ้ามอง "ภูมิทัศน์"โดยรอบ ตั้งแต่ผู้เล่นหน้าใหม่มากบารมีจากอีกฟากโลก และสนามรบที่กำลังทะลุถึงจุดเดือด ซึ่งได้กลายมาเป็น "ตัวแปร" เร่งให้แบงก์เทน้ำหนัก สร้าง"แบรนด์" ฉีกตัวเองให้แตกต่าง มองหาโอกาส และเนื้อหาเพื่อจับใจลูกค้า ...หลังการ "รีเอ็นจิเนียริ่ง" มาได้ร่วม 10 ปี ดูเหมือน "ค่ายKฮีโร่" จะเป็นแบงก์ใหญ่รายเดียว ที่ปฏิวัติวัฒนธรรม "แบงเกอร์" ดูได้จากการเจาะตลาด "SME" แบบแหวกประเพณี จนทำเอาคู่แข่งตื่นตะลึง ...ว่ากันว่า นับจากนี้ "เคแบงก์" กำลังเข้าสู่ยุค "สร้างรากฐาน" เพื่ออนาคต ...เป็นการเปิดยุทธศาสตร์รุกทุกหัวเมือง ขยายฐานลูกค้าผ่านไปในตลาดที่เคยถูกหมางเมิน ด้วยรูปแบบที่ไม่มีแบงก์ไทยรายไหนเคยทำมาก่อน...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 4 ธันวาคม 2549)
แบงก์รุมตอม"SME"เถ้าแก่เนื้อหอม"Kฮีโร่"ฉีกประเพณีปฏิวัติสินเชื่อด่วน "SME"ธุรกิจเถ้าแก่ เริ่มเป็นที่หมายปอง และกลายเป็นชิ้นเค้กก้อนใหญ่ ที่มีการยื้อแย่ง ช่วงชิงจากบรรดา "แบงเกอร์" อย่างเอาเป็นเอาตายเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง เกือบจะทุกแบงก์ถึงกับเอาจริงเอาจังกับการปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเตรียมตะครุบเหยื่อรายใหม่ๆ ที่อยู่ในมือ "สินเชื่อนอกระบบ" และยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนอีกร่วม 5 แสนราย ...ค่ายบัวหลวง ทหารไทย ไทยพาณิชย์ กรุงไทย หรือแม้แต่ เคแบงก์ กลายเป็นเจ้าใหญ่ในตลาด โดยฝ่ายหลังสุด ตระกูล "Kฮีโร่" ถึงกับจัดตั้งสายงานเฉพาะ พร้อมปฎิวัติระบบการให้สินเชื่อแบบ ด่วน เร็วทันใจภายใน 3 วัน ไม่ต่างจากเงินกู้ด่วนที่ดึงความสนใจชาวบ้านร้านตลาดจนแพร่หลาย...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 14 สิงหาคม 2549)
แพลทินั่ม:"ไฮโซเทียม"หรือ"ผู้ดีแท้" พรีเมี่ยมเซ็กเม้นท์ที่แบงก์ไม่เคยวางตา สมัยก่อนถ้าใครถือ "บัตรเครดิตสีดำ" อยู่ในมือ บุคคลนั้นจะถูกจัดชั้นให้อยู่ในกลุ่ม "อภิคหบดี" เป็นที่นับหน้าถือตา บ่งบอกถึงสถานภาพทางสังคม...แต่วันนี้เจ้าของ "บัตรแพลทินั่ม"ไม่จำเป็นต้องเป็นนักการเมือง ผู้ลากมากดี นามสกุลดัง มีสกุลรุนชาติ แค่มีรายได้ระดับสูง ก็เพียงพอจะเอื้อมถึง "การ์ดสีดำ"ได้ ขณะที่แบงก์ต่างๆจะเอาอกเอาใจประหนึ่ง"ราชา"... "แพลทินั่ม"ในความหมายใหม่ ในเซ็กเม้นท์ไฮ-เอนด์ จึงแยกไม่ออกว่า แท้จริงแล้วเจ้าของบัตรถูกจัดอยู่ในกลุ่มไหนระหว่าง "ไฮโซเทียม" หรือ "ผู้ดีแท้" เพราะเวลานี้การได้ครอบครองบัตรสีดำเกือบจะไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจเหมือนในอดีต....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 สิงหาคม 2549)
เครือญาติ"ล่ำซำ"พาเหรดปลุกแบรนด์"ภัทรฯ"น้องเล็กตามรอย"เมืองไทยฯ-เคแบงก์" การเกาะกุมยึดกันอย่างเหนียวแน่นภายใต้ชายคาเดียวกันของธุรกิจตระกูล "ล่ำซำ" มีพี่ใหญ่ แบงก์กสิกรไทย "เคแบงก์" ถือธงนำในการประกาศ "รีแบรนดิ้ง" จากนั้นสัญลักษณ์ตัว "K" ก็กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เมืองไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันภัยคือ "ล่ำซำ" พี่น้องอีกสายที่กระตือรือร้นไล่หลังตามมาติดๆ ไม่นานนักชื่อของ"ภัทรประกันภัย" น้องสุดท้อง ก็ก้าวขึ้นมาอยู่ในทำเนียบ "ล่ำซำ" ที่พยายามกระเสือกกระสนจะเปิดประตูบ้านให้ลูกค้ารายย่อยได้ทำความรู้จักอย่างใกล้ชิด....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มิถุนายน 2549)
แบงก์"ยอมงอ"ยืดหยุ่นสินเชื่อบุคคลอนุมัติเร็วกระชากมาร์จิ้นขยายฐานช่วงกำลังซื้อวูบ "แบงก์"เปลี่ยนท่าที ยอมผ่อนปรน ยืดหยุ่นอนุมัติ "สินเชื่อบุคคล" ขยายพอร์ตในช่วงที่กำลังซื้อหล่นวูบ "เคแบงก์" เปิดรับกลุ่มที่เคยถูกปฏิเสธการขออนุมัติ ด้วยสินเชื่อที่เข้มงวดน้อยลง เพราะเห็นกำไรมหาศาลอยู่ตรงหน้า "นครหลวงไทย" พลิกลำเริ่มรุกไล่ตลาดรายย่อย ด้วยสินเชื่อที่อนุมัติไวยิ่งกว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงภายใน 1 ชั่วโมง ขณะที่แบงก์ใหญ่หลายแห่งเลือกที่จะกระโดดลงสนามรบด้วยท่าทีที่ค่อนข้างระวัง.....(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤษภาคม 2549)
สินเชื่อกู้บ้าน"พระเอก"ตลอดกาล"Kฮีโร่"ปล่อยหมัดชุดยาวถึงสิ้นปี ถึงแม้สนามรบในงาน "มันนี่ เอ็กโป 2006" ที่เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ จะบ่งบอกถึงแนวโน้มการประกาศสงครามฉกชิงฐานลูกค้าเงินฝากของแบงก์ต่างๆอย่างถึงพริกถึงขิง แต่ที่มองข้ามไปไม่ได้ก็คือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ยังคงครองแท่นผู้นำ หรือ "พระเอกตลอดกาล" อยู่เช่นเดิม เพราะสำหรับแบงก์ต่างๆการลดตัวลงมาจับตลาด "รีเทล" หรือ ลูกค้ารายย่อย ธงนำหรือตัวชูโรงเรียกรายได้เข้ากระเป๋า ยังหนีไม่พ้น "สินเชื่อบ้าน" ขณะที่บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล ยังถือเป็นเรื่องใหม่ และในสนามแข่งขันก็มีผู้เล่นมากหน้าหลายตาจนเกินไป การควบคุมความเสี่ยงก็ทำได้ยากกว่า...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 22 พฤษภาคม 2549)
"เครือแบงก์"ออกไล่ล่าเงินออม "ล่ำซำ"ปล่อยกรมธรรม์"UL"ดัก"เงินฝาก"กระโดดข้ามแบงก์ ธุรกิจภายใต้ชายคา"แบงก์" ไม่ว่า ประกันชีวิต หรือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เริ่มหันมาระดมกำลังสกัดลูกค้าฐานบัญชี"เงินฝาก" ไม่ให้ไหลทะลักออกจากแบงก์ในช่วงที่ดอกเบี้ยไต่เพดานบินสูงแทบทุกประตู พร้อมกับใช้กำลังภายในทุกวิถีทางออกไล่ล่าเงินออมทุกรูปแบบ ด้วยดอกเบี้ยล่อใจเจ้าของเงินก้อนโต "เมืองไทยประกันชีวิต" เครือ"ล่ำซำ" ตระกูลเคแบงก์ คือรายล่าสุด ที่ปล่อยกรมธรรม์ "ยูนิเวอร์แซลไลฟ์"(UL) ออปชั่นใหม่ที่มีทั้ง การออม ดอกผลจากการลงทุนและคุ้มครองชีวิต "ขวาง"เงินฝากไม่ให้กระโดดข้ามแบงก์...(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)

Page: 1 | 2 | 3





upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 

home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us