PFP ปรับแผนรุกตลาดใหม่ หวังรักษายอดขาย 2.9 พันล้าน
PFP เผยยอดการผลิตและจำหน่ายอาหารแปรจากซูริมิ ยอดขายปีหนูไฟลดลง 15% ปัจจัยจากราคาน้ำมันดันต้นทุนการผลิตสูง และถูกแรงกระแทกซ้ำจากวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐอเมริกา ทำให้กระทบต่อตลาดส่งออกหลักอย่างเช่นญี่ปุ่น ปีฉลู ปรับกลยุทธ์ใหม่ลุยตลาดต่างประเทศ ทั้งเกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ รวมถึงตลาดล่างภายในประเทศ พร้อมเตรียมหันมาใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเพื่อลดต้นทุน และรักษายอดขายคงที่ 2.9 พันล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มกราคม 2552)
"ทวี ปิยะพัฒนา" กับการนำพา "PFP" ฝ่าวิกฤตค่าเงิน-ไฟใต้
"ทวี ปิยะพัฒนา" ในฐานะผู้กุมบังเหียนกลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปครบวงจรเครือ PFP ที่มีฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ชายแดนใต้ ก็สามารถนำพาอาณาจักรธุรกิจแห่งนี้ให้ก้าวพ้นนานาวิกฤตเหล่านั้นไปได้ด้วยดี แถมยังสามารถเผื่อแผ่ไปเล่นบทผู้นำภาคเอกชนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาและคลี่คลายปัญหาให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้อย่างชนิดที่ต้องจับตามมองอีกด้วย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 26 กุมภาพันธ์ 2550)
พีเอฟพี หนีตายส่งออก ปรับแนวรบในประเทศ เร่งสร้างแบรนด์ตลาดบน
น้ำมันพ่นพิษ ต้นทุนสูง สร้างอุปสรรคการแข่งขันในตลาดส่งออก ส่งผลปี 2549 ธุรกิจอาหารแปรูปทะเลแช่แข็ง หันหัวรบมาสร้างแบรนด์ เข้ามาโฟกัสตลาดในประเทศ
แม้จะก้าวขึ้นสู่ปีที่ 5 ที่พีเอฟพี ได้เริ่มเข้ามาบุกเบิกทำตลาดธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งซูริมิ ( ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาบด เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก ปลาเส้น เนื้อปลาเทียม เนื้อกุ้งเทียม เนื้อปูเทียมหรือปูอัด ) ภายในประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2543 ที่หันมาทำตลาดซูริมิ เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคในตลาดระดับบนลงไปถึงระดับล่าง โดยวางระบบการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางค้าปลีกในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และรถเข็นเสียบไม้ ในพื้นที่ภาคใต้ ส่งผลทำให้พีเอฟ เป็นผู้นำตลาด ครองส่วนแบ่งตลาด 50%
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 พฤศจิกายน 2548)