เกมรุกชาพร้อมดื่มระลอกใหม่ "ลิปตัน" ปรับแบรนด์ทวงบัลลังก์
"ลิปตัน" เปิดสงครามช่วงชิงตลาดชาเขียวกับ "โออิชิ" ด้วยลิปตันไนน์ ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเปิดเกมรุกเข้าสู่ "ตลาดชาเขียว" ที่โออิชิครองอยู่นั้น เพื่อขยายการเติบโตจากตลาด "ชาแดง"และ "ชาดำ"ที่ลิปตันแข็งแกร่งอย่างมาก มาสู่ตลาดชาเขียว นั่นเพราะตลาดชาดำและชาแดง มีมูลค่าเพียง 15% ของตลาดรวมมูลค่า 4.5 พันล้านบาท ดังนั้นวิธีที่จะผลักดันให้ยอดขายเติบโตได้ก็คือ การข้ามมากินยอดขายของคู่แข่งนั่นเอง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 กุมภาพันธ์ 2552)
"ทวิสเตอร์” ระเบิดศึกรอบใหม่ปล่อยหมัดตรง ขยายตลาดขวดคืน กวาดแชร์ "สแปลช”
ทวิสเตอร์”จุดชนวนสงคราม ในตลาดน้ำผลไม้ต่ำกว่า 100% ระลอกใหม่ เบนเข็มทิศปลุกตลาด "น้ำส้ม” เป็นสินค้าเรือธง แก้เกมสแปลช ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดคืน และคอนเซ็ปต์การตลาดใหม่ "เปรี้ยวหวานลงตัวเป๊ะ " แตกต่างจากคู่แข่งที่เน้นสื่อสารด้านรสชาติด้วย "ความสดชื่นแบบรสเข้มเต็มรสส้ม”
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 24 มีนาคม 2551)
น้ำสีแข่งดุ "แฟนต้า vs มิรินด้า" เปิดศึกชิงเค้ก 6.6 พันล้านบาท
ศึกน้ำสี หรือน้ำอัดลมกลิ่นผลไม้เป็นตลาดที่มีการแข่งขันร้อนแรงไม่แพ้ตลาดน้ำดำ แม้ว่าข้อมูลเอซี นีลเส็นจะระบุว่า กลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมกลิ่นผลไม้มีมูลค่าตลาดสูงถึง 6.8 พันล้านบาท จากตลาดรวมน้ำอัดลมปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท มีผู้เล่นในตลาดหลักเพียง 2 ค่าย โดยแฟนต้าเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 77 เปอร์เซ็นต์ และมิรินด้าตามเป็นเบอร์สองของตลาด ครองส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 20% ก็ตาม ทว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การทำตลาดของน้ำสีต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เป็นปัจจัยลบนานาประการ
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 พฤษภาคม 2550)
ลิปตัน พลิกเกมรบส่งชาแดงทวงบัลลังค์ชาเขียวในยุคขาลง
มูลค่าตลาดชาพร้อมดื่ม 5 พันล้านบาท ในปีที่ผ่านมามีการเติบโตที่ลดลง 36% ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมมีขนาดเล็กลงเหลือประมาณ 3 พันล้านบาท ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อตัวเลขการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนั้นก็เพราะว่า ตลาดชาเขียว ซึ่งมีสัดส่วนถึง 80% ของตลาดชาพร้อมดื่มที่เป็นแฟชั่นผ่านมาเพียงชั่วคราว ได้หมดยุคฟีเวอร์ไปแล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มีนาคม 2550)
ผ่าทางตันตลาดน้ำอัดลม“เป็ปซี่ แมกซ์” กู้ภาพน้ำดำแปลงร่างลุยเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
“เป็ปซี่ แมกซ์”ปิดจุดอ่อนส่วนผสมน้ำตาลและปริมาณแคลอรี่ที่สูงออกไป แปลงร่างกลายเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ “น้ำอัดลมไร้แคลอรี่” สนองตอบพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วง 2 -3 ปี ที่ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพตามกระแสสุขภาพ โดยหันไปนิยมเครื่องดื่มอื่นๆที่ไม่มีคาร์บอเนตเช่นชาเขียว น้ำผลไม้มากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น ส่งผลต่ออัตราการเติบโตของตลาดน้ำอัดลมไม่หวือหวาเหมือนก่อน โดยปีนี้คาดว่าโต 4-5% จากมูลค่าตลาดรวม 3 หมื่นล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 9 ตุลาคม 2549)
กลยุทธ์บริหารยักษ์ใหญ่ "เป๊ปซี่"ต้องขยันสร้างความจงรักภักดี
- เปิดกระป๋องกลยุทธ์บริหารจัดการแบรนด์ยักษ์ใหญ่ "เป๊ปซี่"
- ยิ่งอยู่นานยิ่งต้องขยันสร้างความจงรักภักดี ไม่มีวันฟอร์มตก
- วิธีคิดของแบรนด์แถวหน้า หมั่นสร้างกระแสให้ "เธอปันใจ" ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
- 3 กลยุทธ์สื่อสารแบบฮิพฮอพ "ดนตรี-กีฬา-บันเทิง" สีสันธุรกิจน้ำอัดลม
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กรกฎาคม 2549)
เป็ปซี่ ปัดฝุ่น ชาลิปตันพร้อมรบเครื่องดื่มสุขภาพ
เป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) ผู้นำตลาดน้ำดำในไทยด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 60% ในตลาดรวมประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท เสริมหัวรบใหม่ ประเดิมตลาดปีจอ ด้วยการส่งลิปตัน 3 รสชาติ พร้อม Re-positioning เปลี่ยนจุดขายสินค้า ภายใต้แนวคิดผลิตภัณฑ์ระดับโลก“ ที แคน ดู อิท” หรือ ชาทำได้” คาดหวังการกลับมาปลุกปั้นครั้งนี้ จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดในสิ้นปีนี้เพิ่มขึ้น 20% จากมูลค่าตลาดรวมประมาณ 4,800 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
เป๊ปซี่ สร้างฮีโร่วัยรุ่น ผ่านมิวสิคมาร์เก็ตติ้ง เปิดศึกดันยอดกระป๋องแคน
การแข่งขันในตลาดน้ำดำ เพื่อชิงความเป็นหนึ่ง ระหว่าง โค้กและเป๊ปซี่ ที่มีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท นอกจากการนำเสนอ (product)สินค้าใหม่ๆ เข้ามาในตลาด เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไปแล้ว การออกมาเคลื่อนไหวสร้างสีสีนด้วย (promotion) กิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง การดึงซูเปอร์ในแวดวงดนตรีและฟุตบอล ทั้งระดับโลกและในประเทศมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ยังถือเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ค่ายน้ำอัดลมนำมาเดินเกมผสมผสานควบคู่กันไป ดังนั้นเมื่อกระแสสตาร์ มาร์เก็ตติ้ง ดึงความแรงของดารานักร้อง มาเป็นแม่เหล็กในการโปรโมทสินค้าเฟื่องฟู เป๊ปซี่จึงโดดเข้าร่วมแจม จัดแคมเปญระดับท้องถิ่น ดันยอดขายเป๊ปซี่แคน ดึงนักร้องดังจากค่ายอาร์เอส ยิงยาวโฆษณา 3 เดือน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 ตุลาคม 2548)