"ภัทรประกันภัย" ล้างภาพ "กงสี" ล่ำซำ
น้องเล็กตระกูล "ล่ำซำ" ภัทรประกันภัย เลือกจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเหมือนกับ "ล่ำซำ" สายอื่น ด้วยการปรับสไตล์การบริหารองค์กรให้วิ่งทันกระแสโลกมากขึ้น แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือ "ภัทรประกันภัย" ยังคงยึดแนวทางการเติบโตแบบ "โลว์ โพรไฟล์" นั่นคือ เกาะเกี่ยวเครือญาติ "ล่ำซำ" ด้วยกันเองน้อยลง ขณะเดียวกันก็พยายามสร้างโอกาสจากพันธมิตรใหม่มากขึ้น...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 19 มีนาคม 2550)
เครือญาติ"ล่ำซำ"พาเหรดปลุกแบรนด์"ภัทรฯ"น้องเล็กตามรอย"เมืองไทยฯ-เคแบงก์"
การเกาะกุมยึดกันอย่างเหนียวแน่นภายใต้ชายคาเดียวกันของธุรกิจตระกูล "ล่ำซำ" มีพี่ใหญ่ แบงก์กสิกรไทย "เคแบงก์" ถือธงนำในการประกาศ "รีแบรนดิ้ง" จากนั้นสัญลักษณ์ตัว "K" ก็กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เมืองไทยประกันชีวิต และเมืองไทยประกันภัยคือ "ล่ำซำ" พี่น้องอีกสายที่กระตือรือร้นไล่หลังตามมาติดๆ ไม่นานนักชื่อของ"ภัทรประกันภัย" น้องสุดท้อง ก็ก้าวขึ้นมาอยู่ในทำเนียบ "ล่ำซำ" ที่พยายามกระเสือกกระสนจะเปิดประตูบ้านให้ลูกค้ารายย่อยได้ทำความรู้จักอย่างใกล้ชิด....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 มิถุนายน 2549)
"ภัทรประกันภัย"เปิดหน้าร้านเจาะทุกช่องทางสร้างฐานรายย่อย
เท่าที่ผ่านมา "ภัทรประกันภัย" ถือเป็นธุรกิจวินาศภัยสายตระกูล "ลำซ่ำ" อีกแขนงหนึ่ง ที่ค่อนข้างเก็บเนื้อเก็บตัว ต่างจาก "ล่ำซำ" สายอื่นที่เริ่มเปิดตัว ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ให้ผู้คนทั่วไปได้รู้จัก แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การแข่งขันในสนามรบร้อนแรงเพิ่มทวีคูณ การโอบอุ้มค้ำชูของแบงก์แม่ที่เคยช่วยซัพพอร์ตให้เฉพาะฐานลูกค้าสถาบัน กลับช่วยไม่ได้ถ้าจะขยายฐานตลาดรายย่อยที่ค่อนข้างใหญ่โต และตกเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจวินาศภัยแทบทุกแห่ง ที่เริ่มประกาศตัว "รีแบรนดิ้ง" และพร้อมจะเจาะเข้าถึงฐานลูกค้ารายย่อยได้ทุกเมื่อ...
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 20 กุมภาพันธ์ 2549)
ภัทรประกันภัยลองตลาดเทเลฯ ดึงจุดแข็งจากฐานลูกค้าพันธมิตร
เทเลมาร์เก็ตติ้ง ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดในธุรกิจประกันภัย ที่ผ่านมามีผู้เล่นน้อยรายที่จะลงมาเล่นในตลาดนี้ ด้วยเห็นว่าช่องทางดังกล่าวยังสร้างผลตอบแทนได้ไม่โดดเด่นนัก แต่สำหรับการทำธุรกิจการเพิ่มช่องทางใหม่ ๆ คือโอกาสที่ดี แม้ช่องทางดังกล่าวจะไม่ใช่ทางหลักก็ตาม ซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ "ภัทรประกันภัย" สนใจอยากทดลองตลาดดังกล่าว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 พฤศจิกายน 2548)