"เอสเอ็มอีแบงก์"จัดระเบียบ"ลูกหนี้"จ่ายหนี้ตรงรักษาเครดิตล้างเอ็นพีแอล
"เอสเอ็มอีแบงก์" ปลุกจิตสำนึกลูกหนี้ สร้างวินัยจ่ายหนี้ตรงเวลา เพื่อรักษาเครดิตตัวเอง ด้วยการปรับพฤติกรรมให้เป็นผู้ประกอบการมีระเบียบวินัยในการจ่ายชำระหนี้ หวังผลอนาคตสร้างความมั่นใจให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อด้วยความไม่ลำบากใจ ขณะเดียวกันก็ส่งผลพลอยได้ในการสะสางหนี้เอ็นพีแอลให้กับเอสเอ็มอีแบงก์ โดยประเมินปี 2551 เอ็นพีแอลจะลดลงไม่เกิน 10% ในขณะที่ปัจจุบันกลายเป็นแบงก์รัฐที่มีสัดส่วนหนี้เอ็นพีแอลสูงถึง 19% และเคยสูงสุดถึง 22.52% ในปี 2547....
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 เมษายน 2549)
สินเชื่อ SME BANK ต่อยอดปั้นฝันผู้ประกอบการ
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ยังคงเดินหน้าสานนโยบายสนับสนุนสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยในปี 2549 นี้ตั้งเป้าตัวเลขการปล่อยสินเชื่อกว่า 43,600 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 38,000 ล้านบาท
(ผู้จัดการรายวัน 13 มีนาคม 2549)
เอสเอ็มอีแบงก์ซุกปีก"บัวหลวง" ปล่อยสินเชื่อ"ครัวไทย-โอทอป"
ด้วยนโยบายสนับสนุน"ครัวโลก" ทำให้"เอสเอ็มอีแบงก์"ต้องมีฐานลูกค้าที่กว้างขึ้น ซึ่งไม่เฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้นแต่หมายถึงฐานลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศด้วย แต่ด้วยข้อจำกัดของเครือข่ายหรือสาขาที่เชื่อมโยงเข้าถึงลูกค้า ทำให้เอสเอ็มอีแบงก์มีอุปสรรคด้านช่องทางในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นการจับมือเป็นพันธมิตรกับธนาคารกรุงเทพจึงเป็นทั้งทางออกที่ลงตัว และปิดจุดอ่อนด้านแขนขาหรือเครือข่ายที่มีอยู่น้อย
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 30 กันยายน 2548)
"เอสเอ็มอีแบงก์"ปล่อยกู้สะดุด แปลงสินทรัพย์เป็นทุนคลุมเครือ
การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการรายย่อยยังเป็นเรื่องไม่ง่ายในทุกวันนี้ แม้ภาครัฐจะมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้นก็ตาม ความไม่ง่ายดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายที่ยังไม่ชัดเจนในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ให้กู้จะสนับสนุน ส่วนอีกเรื่องเกิดจากความเข้าใจของผู้ประกอบการที่บิดงอไปบ้าง
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 สิงหาคม 2548)