‘แอ๊ดด้า’ จับ ‘อาร์เอส’ ตรึงตลาดวัยรุ่นภูธร
แอ๊ดด้ารุกเข้มตลอดรองเท้าแตะ ลุยโครงการ “ADDA Design Contest” ครั้งที่ 4 เฟ้นหาดีไซน์โดนใจและตอกย้ำภาพแบรนด์วัยรุ่น คว้า “อาร์เอส” เสริมเขี้ยวช่วยเป็นสื่อออนไลน์โปรโมตแบรนด์และจัดกิจกรรมจับวัยรุ่นภูธร พร้อมผูกปิ่นโต ททท. เสริมแกร่งแบรนด์อิมเมจภายใต้คอนเซ็ปต์ “ไปเที่ยวด้วยกันมั้ย...กับแอ๊ดด้า”
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 2 ตุลาคม 2553)
‘ททท.’ บุกมาเลย์ใช้ Price War ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย
สำหรับกลยุทธ์สำคัญที่ ททท.จะใช้ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว คือ Price War หรือสงครามราคา เนื่องจากเป็นตัวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้มูลค่าเพิ่มขึ้น จึงได้จับมือกับบัตรมาสเตอร์การ์ดเพื่อร่วมมือในการกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านแคมเปญ “Bangkok Welcomes You”
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 10 กันยายน 2553)
ฝ่าวิกฤตท่องเที่ยวไทยหลังต่างชาติหาย งัด "อีสาน" เปิดเกมรุกดึงตลาดในประเทศแทน
การโฟกัสและมีความชัดเจนเกี่ยวกับตัวแบรนด์ประเทศ ไทยคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีหลายประเทศนิยมสร้างแบรนด์ท่องเที่ยวเหมือนกันต่อ เนื่องมาอย่างยาวนาน โดยไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวเกิดความสับสนในตัวแบรนด์ของ ประเทศ
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 12 เมษายน 2553)
กลเกมซื้อเวลา "อีลิทการ์ด" บัตรเทวดาที่ฆ่าไม่ตาย
ผ่านไปแล้วกว่า 4 สัปดาห์ที่คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (บอร์ด ททท.) จะมีมติเสนอ 2 ทางเลือก สำหรับการดำเนินงาน บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด (ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์ อีลิทการ์ด เพื่อเสนอให้เจ้ากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา "ชุมพล ศิลปอาชา" ไปพิจารณาแล้วก็ตาม
(ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์ 31 สิงหาคม 2552)
ฝ่าวิกฤติท่องเที่ยวไทย ททท.กำลังหลงทาง
ผู้ประกอบการท่องเที่ยวหลายฝ่ายต่างเห็นตรงกันว่า นับวันแนวโน้มการท่องเที่ยวของประเทศคู่แข่งอย่าง จีน มาเลเซีย เกาหลี และเวียดนาม มีการเติบโตในลักษณะที่สามารถเข้ามาเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของรายได้ นับตั้งแต่ในปี 2533 ที่ผ่านมาประเทศจีน มีส่วนแบ่งรายได้จากนักท่องเที่ยวในสัดส่วน 5%เท่านั้น แต่ปัจจุบันสัดส่วนรายได้กลับเพิ่มเป็น มากกว่า 21% แล้ว
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 7 กรกฎาคม 2551)
ทัวร์โดแมสติกคิดนอกกรอบดิ้นหนีนโยบายขายฝันททท.
การยกเครื่องรื้อแผนมาร์เก็ตติ้งใหม่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ที่ผ่านมาของปี 2008 ส่งผลให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต่างปรับตัวงัดกลยุทธเจาะตลาดเพื่อมารองรับกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทนำเที่ยวไทยเตรียมปรับทัพเร่งขายช่วงไตรมาส3 และไตรมาส 4 ด้วยการงัดกลยุทธ์ชูจุดขายโปรแกรมทัวร์ที่เร้าใจพร้อมออปชั่นราคาถูกสำเร็จรูปออกมาใช้
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 23 มิถุนายน 2551)
สทท.ชู 7 ทางออกแก้ยุทธศาสตร์ “หลงทาง” ได้เวลายกเครื่องกระทรวงท่องเที่ยวฯ
- ต้อนรับรมต.ใหม่ ทบทวนกระบวนยุทธ์บริหารท่องเที่ยวไทยที่ยังหลงทาง
- ปรับใหญ่ทั้งยุทธศาสตร์ โครงสร้าง กระทรวงที่รับผิดชอบ และกลไกที่เกี่ยวข้อง
- สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ เตรียมยื่น 7 ทางออกด่วนให้รมต.ท่องเที่ยวและกีฬาคนใหม่ เร่งสางปัญหา และฟื้นท่องเที่ยวให้แข่งกับต่างชาติได้อย่างยั่งยืน
- จับตาการปรับกระบวนยุทธ์เที่ยวนี้จะพาการท่องเที่ยวไทยไปสู่แสงสว่างได้หรือไม่
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 16 ตุลาคม 2549)
“บัตรพรีเพด”กระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกส์....ทางเลือกใหม่ท่องเที่ยว-แอร์ไลน์
ตัวเลขของผู้ใช้บัตรเดบิตของวีซ่าในรอบปี 48 ที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนกว่า 95%ใช้เพื่อกดเงินสดเท่านั้นส่วนที่เหลือเป็นการใช้จ่ายซื้อของผ่านบัตรประมาณ 5% ทำให้เกิดกระแสที่ว่าทำอย่างไรจะให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่หันมาใช้บริการผ่านบัตรเดบิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวและบริการส่งผลต่อการจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านบัตรเดบิตที่เรียกกันว่า “บัตรพรีเพด”ได้เช่นกัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 13 กุมภาพันธ์ 2549)
ททท.หืดจับ…สู้ศึกท่องเที่ยวครึ่งปีหลัง
เปิดแผนการตลาดท่องเที่ยวประจำปี 2549 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ที่เน้นคุณภาพของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ พร้อมกับขยับตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวคุณภพาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 15.12 ล้านคน นั่นหมายถึงรายได้กว่า 5.33 แสนล้านบาทที่จะเข้ามา ขณะที่เป้านักท่องเที่ยวคนไทยมีมากขึ้น 79.33 ล้านคนต่อครั้ง รายได้ประมาณ 3.8 แสนล้านบาท ตัวเลขดังกล่าวทั้งหมดที่ ททท.ตั้งขึ้นมากำลังทวนกระแสความเป็นจริงต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
(ผู้จัดการรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2548)