From Ruins to Standard Chartered Nakornthon
ท่ามกลางซากปรักหักพังของสถาบันการเงินไทยที่ต่างล่มสลายจากผลของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ
เมื่อปี 2540 การเติบโตและความสำเร็จของ Standard Chartered Nakornthon ในช่วงปีที่ผ่านมา
กำลังบ่งบอกทิศทางและมาตรฐานใหม่ของธุรกิจสถาบันการเงินไทยในอนาคต
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2546)
อาทิตย์ นันทวิทยา "เราต้องเป็นที่หนึ่ง"
ฝีมือการผลักดันบทบาทของสแตนชาร์ด ขึ้นสู่การเป็นผู้นำตลาดตราสารหนี้ไทยจากการจัดอันดับของนิตยสารและ
สถาบันชั้นนำ เป็นความสำเร็จของทีมตลาดทุนและตราสารหนี้ นำโดย อาทิตย์ นันทวิทยา
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2546)
สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กำลังมาแรง
หากพิจารณาถึงกลยุทธ์การขยาย ธุรกิจของกลุ่มธนาคารอย่างลึกซึ้งจะพบว่า
ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด มุ่งเน้นการ ลงทุนในประเทศเกิดใหม่หรือประเทศกำลัง
พัฒนาเป็นหลัก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2544)
บริหารเงินสด สนามนี้ไม่ง่ายสำหรับหน้าใหม่
cash management ถือเป็นธุรกิจที่รุ่งเรืองและเริ่มมีการแข่งขันกันสูงมาก เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ให้วิสาหกิจต่าง ๆ ใช้นโยบายดูแลบริหารเงินสดอย่างเข้มงวด บวกกับความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี และความแอคทีฟของผู้เล่นรายใหม่ ๆ ในวงการธนาคาร
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543)
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
10 กันยายน 2542 เป็นวันสิ้นสุดความเป็นธนาคารท้องถิ่นอีกแห่งของไทย เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
เข้าซื้อหุ้น 75% จากกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF)
ด้วยเม็ดเงินจำนวน 12,377 ล้านบาท แล้วเปลี่ยนชื่อธนาคารนครธน เป็นธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน
(SCNB)
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2542)
สถานการณ์ล่าสุดของตระกูลหวั่งหลี
วิกฤติการณ์สังคมไทยครั้งนี้ มิได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญเท่านั้น
ยังรวมไปถึงแนวคิดในการอรรถาธิ-บายพัฒนากลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ ของไทยที่นักวิชาการเรียกกันว่า
"กลุ่มทุน" ด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542)
ธนาคารนครธน
ปี 2476 ธนาคารหวั่ง หลีจั่น ตั้งขึ้นเป็นธนาคารแห่งที่ 2 ของไทย (แห่งแรกคือ
สยามกัมมาจล หรือไทยพาณิชย์ปัจจุบัน)
ปี 2516 สุวิทย์ หวั่งหลี นำ CITIBANK เข้ามาถือหุ้น 40% ในธนาคาร เพื่อต้องการ
BANKING KNOW-HOW ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญ มาก
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2542)
บันทึกประวัติศาสตร์ ธ.นครธน ยังลอยคออยู่กลางมหาสมุทร
หลังจากผ่านการเสาะหาผู้ร่วมลง ทุนมานานถึง 2 ปีเต็มและผ่าน การเจรจามาหลายเดือนกับผู้ร่วมทุนที่น่าสนใจหลายราย
ในที่สุดธนาคาร นครธน ซึ่งเป็นกิจการที่ก่อตั้งและบริหารโดยตระกูลหวั่งหลี
ก็ได้ผู้ร่วม ทุนคือธนาคารสแตนดาร์ดชาร์-เตอร์ด และมีการลงนามในบันทึก ความเข้าใจร่วมกันไปแล้วเมื่อ
28 เมษายนที่ผ่านมา แต่การลงทุนในธ.นครธนของธ.สแตนดาร์ดชาร์-
เตอร์ดจะสำเร็จหรือไม่นั้น แผนการร่วมลงทุนครั้งนี้ต้องได้รับการยอมรับและอนุมัติจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูสถาบันการเงิน
ซึ่งในวันลงนามนั้นยังไม่ได้รับการอนุมัต
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2542)
จุดจบแบงเกอร์ไทย โฉมใหม่อุตสาหกรรมธนาคาร
14 สิงหาคม เป็นวันที่หลายคนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ แม้จะมีข้าวแพลมออกมาเป็นระยะๆ
เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงินที่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ด้วยตัวเอง
และแนวทางการดำเนินการธนาคาร 4 แห่ง ที่รัฐบาลประกาศเข้ายึดอำนาจการบริหารและการถือหุ้นเมื่อ
23 ม.ค. (ธ.ศรีนคร) และ 6 ก.พ. 2541 (ธ.นครหลวงไทย, ธ.มหานคร และ ธ.กรุงเทพฯ
พาณิชย์การ) แต่ปฏิบัติการจริงๆ เริ่มได้หลังเจรจาปรึกษากับเจ้าที่ไอเอ็มเอฟและเอดีบี
- เจ้าของเงินกู้รายใหญ่ของประเทศไทยตอนนี้
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2541)
"จามิกร บูรณะนนท์ จากซิตี้แบงก์ ถึงสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์"
จามิกร บูรณะนนท์ นับเป็นคนไทยคนแรกที่ก้าวขึ้นมานั่งในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของกิจการเครือสแตนดาร์ด
ชาร์เตอร์ในประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บริษัทสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นกิจการทางด้านวาณิชธนกิจของกลุ่มสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ เขาคือผู้ที่จะต้องเป็นแม่ทัพในการบุกเบิก พัฒนาธุรกิจวาณิชธนกิจของสแตนดาร์ด
ชาร์เตอร์ในประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2537)