หุ้นปูนใหญ่แข็งไม่ไหวตามพื้นฐาน
หุ้นปูนใหญ่มีราคาต่ำสุดในรอบ 3 ปี ต่างชาติเทขาย เพราะธุรกิจหลักของปูนใหญ่ตกต่ำ ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างใกล้ถึงจุดอิ่มตัว เหล็กและกระดาษเจอสงครามราคา กำไรหาย ความหวังของปูนใหญ่หันหากลุ่มยานยนต์ เครื่องจักรกล และปิโตรเคมี พร้อมขยายการลงทุนโครงการขนาดยักษ์ในต่างแดน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2539)
สงครามเซรามิกร้อนระอุ กดดันปูนใหญ่ ออกนอกประเทศ
แนวทางการรุกสร้างฐานการผลิตในต่างประเทศของเครือซิเมนต์ไทย หรือปูนใหญ่ เด่นชัดมากขึ้น ในยุคของชุมพล ณ ลำลียง ซึ่งอาจเพระถือเป็นนโยบายหลักประการหนึ่งของเครือข่ายแห่งนี้ในยุคโลกไร้พรมแดน
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
ไปชมสยามการ์เดียน โรงงานทำกระจกน้องใหม่เครือซิเมนต์ไทย
ปริมาณความต้องการใช้กระจกของเมืองไทยนับวันจะมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการก่อสร้างตึกรามสมัยนี้
นิยมใช้กระจกในการตกแต่งภายนอกอาคารมากกว่าเดิม มีผลให้อุตสาหกรรมผู้ผลิตกระจกในประเทศได้ผู้ผลิตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536)
"ปูนใหญ่ลงทุนในฟิลิปปินส์เกมรับในเกมรุก"
มาริซาวา แมนูแฟคเจอริ่ง อิงค์ เป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเซรามิกของฟิลิปปินส์
ปัจจุบันมีกำลังการผลิตปีละ 3 ล้านตารางเมตร และมีส่วนแบ่งตลาดในฟิลิปปินส์ถึง
50% ทั้งยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มะนิลาด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2536)
ปูนซิเมนต์ไทยยังไม่มีอะไรตื่นเต้น
" ชุมพล ณ ลำเลียง" ถูกประกาศให้เขาขึ้นเป็นเบอร์หนึ่ง ของปูนใหญ่
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ท่ามกลางการคาดหวังว่า จากนี้ไป คงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ครั้งใหญ่ขึ้น ในเครือซิเมนต์ไทย ตามบุคลิกของเขา
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
"การบุกนอกอย่างมีแบบแผนของปูนใหญ่"
"เครือซิเมนต์ไทยนับเป็นหนึ่งในภาคเอกชนที่ไปลงทุนในต่างประเทศเป็นรายแรกๆ หลังจากที่รัฐบาลเชิญชวนให้เอกชนไทยขยายการลงทุนไปต่างประเทศ ด้วยการเปิดบริษัทการค้าระหว่างประเทศขึ้นมาเมื่อทศวรรษก่อน แต่จากนี้เป็นต้นไป บทบาทของปูนใหญ่จะเริ่มเปลี่ยนไปด้วยการหันมาด้านการลงทุนมากขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536)
"ปูนใหญ่ควักพันล้านแลกอนาคตกระดาษ"
กลางปีนี้ ข่าวใหญ่เรื่องสิ่งแวดล้อม คือเรื่องเกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียของโรงงานกระดาษฟินิกซ์พัลพ์แอนด์เพเพอร์ที่ขอนแก่น
จนกระทั่งน้ำในแม่น้ำพองบริเวณโรงงาน ไม่สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้และส่งผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมในอาณาบริเวณด้วย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535)
ทวี บุตรสุนทร รองผู้จัดการใหญ่คนแรกของปูนใหญ่
นับแต่ตั้งปูนซิเมนต์ไทยมาจนครบ 80 ปีในปีนี้ ทวี บุตรสุนทร จะเป็น "รองผู้จัดการใหญ่"
(Executive Vice President) คนแรกของบริษัทอันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ของปูนซิเมนต์ไทย
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"ชุมพล ณ ลำเลียง CEO/PRESIDENT ใหม่ของปูนใหญ่"
เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ชุมพล ณ ลำเลียง คือกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ ซึ่งจะเป็นผู้รับภารกิจต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ของปูนซิเมนต์ไทยกิจการขนาดยักษ์ใหญ่ที่มีวัฒนธรรมการบริหารยาวนานถึง
80 ปี สืบต่อจาก พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ซึ่งสิ้นสุดอายุงานที่บริหารยาวนานตั้งแต่ปี
2528-2535 ในสิ้นปีนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2535)
"ใบหุ้นปูนใหญ่หาย!! กำไรสุทธิลดต่ำในรอบ 6 ปี"
ใบหุ้นเปรียบดังตราสารทางการเงินสำคัญของผู้ถือกรรมสิทธิ์ การที่ใบหุ้นของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยสูญหายไปจากศูนย์รับฝากใบหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้ความสนใจอย่างมาก มีการพูดคุยกันอย่างจริงจังในวาระประชุมเมื่อ
21 กุมภาพันธ์ 2535ที่ผ่านมา
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2535)