คัมภีร์ "รายย่อย"ก่อนจะรุ่งโรจน์หรือปิดฉาก
เงินทุน
การตัดสินใจจะลงทุนมีร้านเป็นของตัวเองสักร้าน คงไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจกันได้เพียงแค่ชั่วคืนเดียวเสียแล้ว
เพราะทุกวันนี้มีศูนย์การค้าเกิดขึ้นมากมายทั้งในเขตกลางเมือง ชานเมือง และนอกเมือง
ซึ่งแต่ละศูนย์ล้วนเป็นตัวแปรหลักให้เกิดร้านค้าย่อยมากมายนับร้อยเท่าต่อหนึ่งศูนย์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538)
มาบุญครอง: กว่าจะพ้นพงหนาม!!
ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะกอบกู้ชื่อเสียง และผลกำไรของกิจการที่แทบจะล่มจมเสื่อมสบายจากปัญหาหนี้สินจำนวนมาก
ให้ฟื้นนกลับเข้ามาอยู่ในสถานะทางธุรกิจเช่นเดิมได้ ภารกิจนี้เป็นการท้าทายความเป็นมืออาชีพของ
ม.ร.ว.ชีโวสวิชากร วรวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ และ ดร.เชิดเกียรติ เชี่ยวธีรกุล
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็ม บี เค พร็อมเพอร์ตี้ส์ แอนด์ ดีเวลล็อปเม้นท์
จำกัด หรือบริษัทมาบุญครองพืชและไซโลเดิมเป็นอย่างยิ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534)
ธนชาติและเบื้องหลังบริษัทกำจัดหนี้โสมชบา
โสมชบาเป็นบริษัทเพื่อการลงทุนในเครือของบงล.ธนชาติจัดตั้งเมื่อเดือนตุลาคม
2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้น 4 ราย ซึ่งต่างเป็นบริษัทในเครือของบงล.ธนชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายที่คล้ายคลึงกับโสมชบา
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2534)
สมเกียรติ ทวีผล "ผู้จัดการ 4 เดือน"
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผานมามาบุญครองไซโลและอบพืชเจ้าของศูยน์การค้ามาบุญครองก็มีผู้จัดการทั่วไปคนใมห่อีกครั้งเป็นคนที่
3 สำหรับปีนี้ หลังจากที่ผู้จัดการคนที่แล้วคือ สมเกียรติทวีผล ลาออกไปเมื่อ
12 กันยายน หลังจากทำงานอยู่เพียง 4 เดือนกว่า ๆ เท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2532)
ศิริชัย บูลกุล ไม่มีวันที่จะยอมจำนน
ดูเหมือนจะมีคนเป็นจำนวนมากอยากจะให้มาบุญครองเซ็นเตอร์กลายเป็นอนุสรณ์ของศิริชัย
บูลกุล ไปจริง ๆ อย่างน้อยที่สุดก็คงจะเป็นบรรดาเจ้าหนี้ที่ร่วม "สามัคคีบีฑา"
เพื่อขจัดศิริชัยให้พ้นไปจากวงจรของมาบุญครองเสียที
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2531)
"ศิริชัย บูลกุล เหนียวกว่าที่คิด"
ศิริชัยเริ่มประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงตั้งแต่กลางปี 2529 มีหนี้สินกว่า
2,000 ล้านบาท ในรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีประกอบงบการเงิน แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโลจนถึงวันที่
30 มิถุนายน 2529 ระบุไว้ว่า บริษัทจะดำเนินกิจการต่อไปได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจากับธนาคารและสถาบันการเงิน
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2531)
เมื่อสนอง ตู้จินดา ปะทะ ศิริชัย บูลกุล
ใคร ๆ ก็รู้จักสนอง ตู้จินดาในฐานะนักกฎหมายนักธุรกิจมือเอกของเมืองไทย
วันนั้น (4 พ.ย. 2530) สนองรับหน้าที่จากเจ้าหนี้คือธนาคารไทยพาณิชย์ให้เป็นผู้จัดการขายหุ้นจำนวน
3,787,465 หุ้นของบริษัทเครือข่ายมาบุญครอง 5 บริษัท
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2530)
มาบุญครอง ท่ามกลางความทุลักทุเล
ช่วงเดือนที่ผ่านมาเป็นอีกช่วงหนึ่งที่เรียกได้ว่า เป็นช่วงแห่งความทุลักทุเลและเป็นช่วงแห่งหัวเลี้ยวหัวต่อของมาบุญครอง
แม้ว่า ศิริชัย บูลกุล จะขายหุ้นที่มีอยู่ไปเกือบทั้งหมดแล้วก็ตาม แต่ปัญหาระหว่างเจ้าหนี้และกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมก็ยังมีให้เห็นอยู่เป็นระลอก
ๆ ให้เจ้าหนี้และศิริชัยได้ปวดหัวกันเล่น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2530)
ธุรกิจในเครือมาบุญครอง
1. บริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล (2517) เป็นบริษัทเดียวในเครือมาบุญครองที่เป็นหลัก
ทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2521) ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2529)