ทีเอ งานนี้ไม่ต้องรอฤกษ์
ดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ และผู้บริหารของ เทเลคอมเอเซีย
คอร์ปอเรชั่น จะไม่ต้องรอฤกษ์ อันเป็นธรรมเนียมสำหรับซีพีกรุ๊ป ที่เมื่อจะลงนามในโครงการ
หรือกิจกรรมใดก็ตาม จะต้องรอฤกษ์เมื่อเข็มนาทีลงท้ายด้วยเลข 9 ผู้บริหารจะจรดปากกาเซ็นชื่อทันที
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542)
ศุภชัย เจียรวนนท์ วิกฤตมาพร้อมกับโอกาส
ความเปลี่ยนแปลงในเทเลคอมเอเซีย เป็นเรื่องราวที่ไม่อาจเลี่ยงได้ วิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาหนี้สินก้อนใหญ่ครั้งสำคัญ
การผ่องถ่ายอำนาจจากมืออาชีพสู่ทายาทของตระกูลเจียรวนนท์ จากเจเนอเรชั่นที่สองสู่เจนเนอเรชั่นที่สาม
เพราะนี่คือสิ่งที่ธนินท์ เจียรวนนท์ เขื่อว่า ความยากลำบากจะสร้างโอกาสให้กับทายาทใหม่ขึ้นสู่เก้าอี้ใหญ่
ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ศุภชัย เจียรวนนท์ เขาก็คือเดิมพันของเรื่องราวทั้งหมดนี้ กับอนาคตของทีเอ ที่จะก้าวต่อไปใน
อนาคต
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2542)
พีซีทีไปไม่ถึงฝั่ง งานนี้ธนินท์อาจต้องถอดใจ
แม้ว่าธนินท์ เจียรวนนท์ บอสใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะย้ำอยู่ตลอดถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อธุรกิจโทรศัพท์
2.6 ล้าน เลขหมาย ที่สู้ลงทุนลงแรงไปไม่ต่ำกว่าหลายหมื่นล้านบาท
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2541)
ไอบีซีผนึกยูทีวี เดิมพันครั้งใหญ่ของทีเอ
ทันทีที่ผู้บริหารของบริษัทไอบีซีและยูทีวี จรดปากกาลงบนสัญญาการรวมกิจการของทั้งสองเสร็จสิ้นลง
บันทึกบนหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของธุรกิจเคเบิลทีวีก็กำลังเริ่มต้น ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนจากคู่แข่งมาเป็นทองแผ่นเดียวกัน
อะไรคือสาเหตุทำให้ทีเอเป็นผู้กำหนดชะตาของไอบีซี ในขณะที่ชินวัตรกลับเป็นฝ่ายถอยไปจากเส้นทางนี้
ทีเอจะวางอนาคตของธุรกิจนี้ภายใต้เศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจ และจะรับมือกับการค้าเสรีที่จะเกิดในอีกไม่ถึง
2 ปีข้างหน้านี้อย่างไร?
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541)
เมื่อธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องขี่หลังเสือ!
สิ่งที่สะท้อนความยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของซี.พี ก็คือ การมีเครือข่ายอาณาจักรที่ครอบคลุมไปเกือบทุกแขนงของธุรกิจที่มีอยู่
หากเปรียบเทียบกับนิยามของอัลวิน ทอล์ฟเลอร์ เจ้าตำรับคลื่นลูกที่สามแล้ว ซี.พี. นับเป็นเจ้าของธุรกิจไม่กี่รายที่มีธุรกิจอยู่บนคลื่นธุรกิจทั้ง 3 ลูก ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2540)
"เฮ้อ! เกือบไป "PCT"
ในที่สุดผู้บริหารของเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น (ทีเอ) ก็ต้องถอนหายใจเฮือกใหญ่
เมื่อกรมไปรษณีย์โทรเลขอนุมัติคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ มาใช้กับบริการโทรศัพท์พื้นฐานพกพา
พีเอชเอส หรือ พีซีที (เพอร์ซันแนล คอมมูนิเคชั่น เทเลโฟน) เสียที หลังจากที่รอลุ้นตัวโก่งมาพักใหญ่ แม้ว่าทีเอจะได้ไฟเขียวเปิดให้บริการพีซีทีจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
(ทศท.) แต่ก็ใช่ว่าจะเปิดให้บริการได้ทันที
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2540)
ภาวะหุ้นปี 2540 ยังเป็นปีที่ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ
เป็นธรรมเนียมประเพณีไปแล้วเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปีเลยไปจนถึงย่างเข้าปีใหม่เหล่าบรรดาเซียนหุ้นและโหรเศรษฐกิจทั้งหลาย
จะต้องออกมทำนายทายทักถึงแนวโน้มหุ้นและภาวะเศรษฐกิจในปีต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540)
ติดโทร 4.1 ล้านเลขหมายเสร็จแค่จุดสตาร์ทของทีเอและทีทีแอนด์ที
แม้ว่าเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือทีเอ และไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น
จำกัด หรือทีทีแอนด์ที จะสามารถส่งมอบโทรศัพท์จำนวน 4.1 ล้านเลขหมายได้ทันตามกำหนดที่
ทศท. ขีดเส้นตายเอาไว้ในวันที่ 30 กันยายน 2539 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้หมายความว่า
ภารกิจของทั้งทีเอและทีทีแอนด์ทีจะสิ้นสุด แต่กลับเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้น
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2539)
กิตติ กีรติธรรมกุล ทัพหน้าเอาใจนักลงทุนหุ้นซีพี
กิตติ กีรติธรรมกุล เพิ่งมาเป็นน้องใหม่ของบริษัทเทเลคอมเอเซีย ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า ซีพี ได้ไม่นานในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักลงทุนสัมพันธ์ (VICE PRESIDENT INVESTOR RELATIONS OFFICE) ซึ่งหน่วยงานนี้เพิ่งเปิดมาได้ประมาณ3 ปีเล็กน้อย แต่ก็ถือว่าใหม่สำหรับในประเทศไทยที่มีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมา นับได้ในบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่จะมีหน่วยงานแบบนี้นับได้คงไม่เกิน 3 แห่ง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)
พีเอชเอส บทพิสูจน์สุดยอดฝีมือ 'ไพศาล'
ชื่อของ 'ไพศาล พืชมงคล' ปรากฎอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกวัน เมื่อเขาเล่นบท
"ตัวกลาง" เจรจาในสงครามโทรศัพท์ระบบพีเอชเอส หรือ PERSONAL HANDY PHONE SYSTEM ที่บอร์ด ทศท. อนุมัติให้ทีเอ และทีทีแอนด์ทีเป็นผู้ให้บริการ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2539)