ปีเตอร์ กาญจนพาสน์
"ในเมืองไทยทุกวันนี้คุณพ่อผมรู้จักแค่ที่นี่เมืองทองธานี ธนาซิตี้ กับบ้าน เมื่อวันก่อนผมพาเขาไปที่ดิเอ็มโพเรียม เพิ่งไปมาครั้งแรกมั้ง ได้เสื้อมาตั้งหลายตัว ท่านสนุกมาก" ปีเตอร์ ลูกชายคนโต วัย 31 ปี ของอนันต์ กาญจนพาสน์ เล่าให้ฟังถึงพ่อของเขาด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความรักและผูกพัน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547)
"Challenger" The big game
Exhibition & Convention Center ที่กำลังก่อสร้างในเมืองทองธานี ได้ทำสถิติใหม่ของการเป็นศูนย์ใหญ่ระดับโลก และเป็น "Hub" แห่งใหม่ของเอเชีย แน่นอน อนันต์ กาญจนพาสน์ ไม่เคยทำอะไรเล็กๆ และครั้งนี้เขามีปีเตอร์ กาญจนพาสน์ ลูกชายคนโตช่วยสร้าง "big game" ครั้งใหม่อย่างน่าสนใจ
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2547)
มงคล กาญจนพาสน์
ตลอด 20 ปีของนิตยสารผู้จัดการ ได้บันทึกประวัติศาสตร์ชีวิตธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลอย่าง
"อึ้ง จือ เม้ง" หรือ "มงคล กาญจนพาสน์" และลูกๆ ไว้ตลอดในแต่ละความเคลื่อนไหวที่สำคัญของเขา
นับจากครั้งแรกในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2, 9 และ ฉบับที่ 21 เดือนพฤษภาคม
2528 ในเรื่องปก "ศึกชิงสำนักน่ำไฮ้"
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2546)
"เมืองทองธานี" รอวันปิดฉาก?
ชื่อของอนันต์ กาญจนพาสน์ เป็นที่รู้จักของคนไทย
เมื่อประมาณ 15 ปีก่อนมานี้เอง ด้วยการเข้ามาสร้าง
อภิมหาอาณาจักรด้านที่อยู่อาศัยในเมืองทองธานี
ท่ามกลางข่าวลือที่กระหน่ำซ้ำเติมตลอดเวลาว่า คงไปไม่รอด และสักวันหนึ่งอาจจะถึงวันจบที่น่าหวาดเสียว
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2545)
บางกอกแลนด์กับสมประสงค์กรุ๊ปต้องเร่งสร้างศรัทธาครั้งใหม่
ประสงค์ พานิชภักดี กรรมการผู้จัดการบริษัทสมประสงค์แลนด์จำกัด (มหาชน)
กับอนันต์ กาญจนพาสน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) มีอะไรที่เหมือน
ๆ กันหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่เกิดในไทย แต่ไปโตและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ฮ่องกงเมื่อลอดลายมักรจากเกาะฮ่องกงมาลงทุนที่เมืองไทย
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2539)
โสภณพนิช ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เกิดมาใหญ่แต่โตยาก
ตระกูลโสภณพนิช มีความช่ำชองเป็นพิเศษในธุรกิจการค้าเงินตราแต่การวางแผนรุก
ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาที่ผ่านมานับ 10 ปี ดูเหมือนว่าจะก้าวไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้า
มา ณวันนี้ เมื่อมีบริษัทพัฒนาที่ดินในตลาดหลักทรัพย์หลายราย มีสภาพเหมือนคนอ่อนแอ
ที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่เข้มแข็งกว่า โอกาสที่จะเข้าไปเป็นยักษ์ใหญ่ของพวกเขาดูง่ายขึ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538)
"บ้านยับปี้ เน้นรูปลักษณ์หรือคุณภาพ ?"
ธุรกิจบ้านจัดสรรถึงยุคที่แข่งขันกันในเรื่องการออกแบบมากขึ้น บ้านหน้าตาแปลกๆ
ที่โฆษณากันว่า คือตัวแทนของความคิดที่ทันสมัยกำลังกลายเป็นจุดขายใหม่ นอกเหนือจากราคา
ทำเล และสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือชนชั้นกลางรุ่นใหม่ ที่ต้องการความแตกต่าง
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2537)
บ้านปลอดดอกเบี้ยลูกเล่นบางกอกแลนด์
ในยุทธจักร นักพัฒนา ที่ดินของไทย อนันต์ กาญจนพาสต์ คนโตแห่งค่ายบางกอกแลนด์
ดูจะเป็นคนที่มีแนวคิดและการทำธุรกิจทีล่ำหน้า คนหนึ่งของวงการ โครงการต่าง
ๆ ที่ออกมาจากหนึ่งสมอง สองมือของเขา ดูจะไม่ธรรมดา
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2536)
"บ้านทรงอิสระ" ทำอนันต์ฝันสลาย 560 ล้าน"
"บ้านทรงอิสระ" ของบางกอกแลนด์ที่อนันต์ใฝ่ฝันว่าจะยิ่งใหญ่ทำกำไรมหาศาลถึงประมาณ
560 ล้าน กลับพังทลายลงมาด้วยคำพิพากษาจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินว่าไม่สามารถที่จะจดทะเบียนเป็น
"คอนโดมิเนียมแนวราบ" ได้ บางกอกแลนด์ต้องได้รับความเสียหายสูงถึง
600 ล้าน
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)