ปิดปูม Lehman Brothers (ตอนที่ 2)
Pete Peterson เรียกได้ว่าเป็น CEO คนแรก ที่พลิก Lehman Brothers ให้พ้นจากการขาดทุนต่อเนื่องมาเป็นกำไรติดต่อกันถึง 5 ปีซ้อน เขานำ Lehman เข้าเทกโอเวอร์ Abraham & Co. และควบกิจการกับ Kuhn, Loeb & Co. ทำให้ Lehman กลายเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551)
ปิดปูม Lehman Brothers (ตอนที่ 1)
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2008 เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ คือ การล่มสลายของสถาบันการเงินสัญชาติอเมริกัน Lehman Brothers วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ อันเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญบนเวทีเศรษฐกิจโลกมาช้านาน
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
กรรมเก่า
ว่ากันว่าเรื่องร้ายๆ มักจะมาตอนที่ไม่ทันตั้งตัว วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ก็คงอยู่ในข่ายนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะระหว่างที่ผู้คนในสังคมต่างเฝ้ารอการตรวจสอบและดำเนินคดีกับอดีตผู้มีอำนาจและผู้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดก่อนชนิดตาแทบไม่กะพริบ อยู่ๆ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ก็ไปขุดเอาเรื่องราวขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เมื่อเกือบ 10 ปีก่อนมาสะสาง โดยการออกหมายเรียกวิชรัตน์ ในฐานะอดีตเลขาธิการ ปรส.มารับทราบข้อกล่าวหาชนิดที่ไม่มีเค้าลางมาก่อน เปรียบเหมือนฟ้าผ่ากลางแดดยังไงยังงั้น
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2550)
LEHMAN BROTHERS เลแมน บราเดอร์ส ว่าด้วยเรื่องปรส. ปริศนาที่ยังคาใจ
จากที่ไม่มีใครสนใจอยากจะรู้จัก แต่มาวันนี้ชื่อของเลแมน บราเดอร์ส กลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงนับจากวันที่ชนะการประมูลพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก
ปรส. เพราะอีกภาคหนึ่งสวมหัวโขนเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วย งานแห่งนี้ คำถามทั้งหลายจึงพรั่งพรูออกมาถึงความโปร่งใสในการใช้ข้อมูลภายในและลามไปถึง
ปรส. เกี่ยวกับการเปิดเผยรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมประมูลในพอร์ตนั้น และยิ่งเหมือนเป็นการตอกย้ำเมื่อเลแมนยืนยัน
เข้าร่วมประมูลสินทรัพย์หลัก ปรส. 4.6 แสนล้านบาท คำเฉลยที่ยังไม่กระจ่างชัดได้กลายเป็นปริศนาคาใจของคนไทยจนถึงบัดนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2541)
ก้าวสำคัญของเลแมน บราเดอร์ส ปักธงในไทย
ในภาวะที่ไม่ใคร่มีใครเชื่อมั่นประเทศไทยแม้แต่คนในประเทศเอง แต่ เลแมน
บราเดอร์ส-อินเวสเมนท์ แบงก์ยักษ์ใหญ่ระดับ TOP 5 ของตลาดหุ้นวอลล์สตรีท
กลับประกาศลงหลักปักฐานเปิดสำนักงานตัวแทนอย่างเป็นทางการในไทย
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541)