Metropolitan Lifestyle Business
หลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2545 เสริมความแข็งแกร่งด้านเงินทุนให้มั่นคงแล้ว เมเจอร์ฯ เริ่มมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจจนวิชามีโอกาสมาพบกับนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
Re-positioning
- การขยายธุรกิจเป็นโลว์คอสซีนีม่า
เรื่องนี้ผมตั้งคำถามมานานแล้ว ในอเมริการะบบโรงหนังไม่เหมือนกับเราตีตั๋วเป็นแบบไม่ระบุที่นั่ง (free seating) แต่เมืองไทยต้องระบุ (fixed seating) ผมก็มองว่า ถ้าเราไม่ต้องใช้คนขายตั๋ว 15 คน ลดเหลือ 10 คน แค่ 10 จุด เราลดได้ 50 คนแล้ว แล้ววันธรรมดาคนดูก็ไม่เต็ม ผู้บริโภคไม่ต้องการตั๋วระบุที่นั่งในวันธรรมดาหรอก เขาอยากเลือกที่นั่งได้ไปนั่งแล้วไม่ชอบก็เปลี่ยนได้ เราก็ถามตัวเองมาตลอดว่าทำไมไม่มีคนทำ นั่นคือโจทย์อันที่หนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
CRM ในความหมายของ Major
- เมเจอร์ฯ มีการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างไรบ้าง
ผมไม่ชอบการทำรีเสิร์ชเป็นเรื่องเป็นราว ผมจะให้มาร์เก็ตติ้งผมทำมา แต่ละสาขาเก็บข้อมูลมาเอาแค่ 100 ตัวอย่างก็พอ ตั้งคำถามง่ายๆ เดือนหนึ่งดูหนังกี่ครั้ง มาดูที่นี่กี่ครั้ง เดินทางมาอย่างไร แล้วคุณก็เอามาดูก็จะเข้าใจว่าโพรไฟล์ลูกค้าคุณเป็นอย่างนี้ โบว์ลิ่งก็เหมือนกัน ถามดูว่าเป็นลูกค้าเก่าหรือลูกค้าใหม่ อันนี้ต่างกันนะ ถ้าเคยเล่นแล้วกลับมาเล่นอีก ใช้ได้ แต่ถ้าเป็นลูกค้าเก่าหมด เอ๊ะ ลูกค้าใหม่หายไปไหน ทำไมมีแต่ลูกค้าเก่า ต้องคิดอย่างนี้
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
The Lifestyle Setter
จากธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ที่พัฒนามาสู่การทำธุรกิจ โดยยึดไลฟ์สไตล์ของคนเป็นที่ตั้ง ณ วันนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้กลายเป็นกลุ่มธุรกิจ
ที่สามารถสร้างสรรค์วิถีชีวิตใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม สิ่งที่ต้องติดตามในอนาคต คือไลฟ์สไตล์ของคน อาจต้องเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางธุรกิจของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ หรือไม่ !!!
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2548)
ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ
เป็นความเคลื่อนไหวที่เรียกความฮือฮาได้มากพอควร กับข่าวการประกาศควบรวมกิจการซึ่งกันและกันของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กับค่ายอีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่ทั้งคู่ต่างก็เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2547)
102 ปีกับธุรกิจโรงภาพยนตร์ไทย
2436 เป็นปีที่ภาพยนตร์ได้เกิดขึ้นมา โดยโทมัสอัลวา เอดิสัน คือผู้ที่ประดิษฐ์ภาพยนตร์สำเร็จเป็นรายแรกของโลกที่
เรียกกันว่า "ถ้ำมอง" คือเผยแพร่ด้วยเครื่องดูที่เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป"
เป็นตู้ให้ผู้ชมหยอดเหรียญลงในรูเพื่อเดินเครื่อง แล้วแนบตาดูที่ช่องดู ดูได้ทีละคน
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542)
IMAX THEATRE
ในวันที่ 1 มกราคมปี 2000 นี้โรงภาพยนตร์ IMAX จะฉายภาพยนตร์ เรื่อง
"แฟนตาเซีย 2000" พร้อมกันทั่วโลกเป็นหนังเพลงการ์ตูนของวอลท์ดิสนีย์เรื่องแรกที่ลงทุนสร้างขึ้นมาฉายในโรง
ของ IMAX อย่างเดียว
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542)
"โกลด์คลาส" โรงภาพยนตร์ในความคิดฝัน
โรงภาพยนตร์ในความคิดใหม่คนี้การทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ มันไม่ได้แข่งขันกันที่ตัวโรงหนังหรือระบบเทคโนโลยีหรือระบบ
ดิจิตอล แต่มันแข่งกันที่ระบบความคิดมากกว่า" วิชัย พูลวรลักษณ์ ให้ความเห็นกับ
"ผู้จัดการ"
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542)
พิสูจน์ฝีมือ "วิชา พูลวรลักษณ์" ธุรกิจโรงหนังไฮเทคยังรุ่ง?
"พูลวรลักษณ์" กลายเป็นตระกูลธุรกิจที่เข้าครอบครองความเป็นผู้นำของกิจการโรงภาพยนตร์ยุคใหม่ในประเทศไทย
ธุรกิจบันเทิงสาขาหนึ่งที่ยังคงเดินหน้าเติบโตได้ เกือบจะเรียกได้ว่าสวนกระแสกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย
ขั้นตอนยาวนานของความสำเร็จนี้ง่ายดาย หรือยากเย็น บทพิสูจน์ฝีมือของทายาทจำเริญ
พูลวรลักษณ์ กำลังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงฐานอาณาจักรรุ่นพ่อว่าสร้างไว้มั่นคงเพียงใด
กับการสานต่อที่ต้องใช้มากกว่าเวลา ประสบการณ์ และฝีมือ
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541)
ค่าย EGV วันนี้ถอยทัพแล้วหรือ?
อีจีวี เป็นผู้บุกเบิกโรงหนัง ระบบมัลติเพล็กซ์ ในเมืองไทย แห่งแรกคือที่
ฟิวเจอร์ ปาร์ค บางแค ซึ่งบริหารร่วมโดยวิสูตร และวิชัย พูลวรลักษณ์ กับกลุ่ม
โกลเด้น ฮาร์เวสต์ จากฮ่องกง และ วิลเลจ โรดโชว์ จากออสเตรเลีย
(นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2541)