การสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ความพยายามของสังคมไทยที่จะหนุนนำให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ creative economy ดูจะเป็นกรณีที่มีนัยความหมายเป็นเพียงประหนึ่งวาทกรรมที่เกิดขึ้นและเสื่อมถอยวาบหายไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่สามารถนำมาประกอบส่วนให้เกิดผลจริงจังได้มากนัก
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
วิสัยทัศน์ CJ Group: Asian Cultural Platform
หากความสำเร็จของภาพยนตร์ AVATAR รวมถึง Transformer III ที่นำเสนอด้วยเทคนิค 3D จะมีส่วนเสริมให้ลมหายใจที่รวยรินของอุตสาหกรรมภาพยนตร์กลับมาอยู่ในภาวะตื่นตัวและคึกคักขึ้น ทำให้โรงภาพยนตร์สามารถคงสถานะของการเป็นสถานที่ในการเสพรับความรื่นรมย์ของภาพยนตร์ได้อีกครั้ง
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
วิชา พูลวรลักษณ์ Creative Entertainer
ชื่อของวิชา พูลวรลักษณ์ ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เป็น lifestyle trendsetter คนสำคัญของเมืองไทย ภายใต้อาณาจักรธุรกิจเครือเมเจอร์ของเขา ไม่แปลกเลยที่เขาจะเป็นผู้นำเข้านวัตกรรมใหม่ล่าสุดว่าด้วยโรงภาพยนตร์แบบ 4 มิติหรือ 4D Plex มานำเสนอต่อสายตาผู้ชม
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2554)
ชีวิตที่ไร้รวงรัง... “โจหลุยส์” ดั่งฝูงนกพเนจร
จากชีวิตลูกสาวเศรษฐีอันแสนสุขสบายในคฤหาสน์หลังงาม เพียงข้ามคืนที่ครอบครัวเจอวิกฤติการเงินกลายเป็นคนล้มละลายไร้บ้านหลังโต ชีวิตเธอหลังจากนั้นต้องผ่านความลำบาก แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดีเพราะมีพระเอกคอยช่วยเหลือ กระทั่งรักกัน แล้วไม่นานทุกอย่างก็จบแบบ Happy Ending
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2554)
ก่อน “สยาม” จะเลือนหายไปในหมอกควัน...
ร่วม 44 ปีที่โรงหนังสยามสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ คราบน้ำตา และความสุขแก่ผู้มาเยือน โดยที่หลายคนไม่เคยรู้เลยว่า ที่นี่ถือเป็นต้นกำเนิดของสยามสแควร์ ผู้วางเพลิงคงไม่รู้เลยว่าไฟนั้นไม่เพียงทำลายโรงหนัง แต่ยังเผาผลาญรากเหง้าแห่งจิตวิญญาณของสยามสแควร์ให้หายไปพร้อมกับหัวใจที่บอบช้ำของใครอีกหลายคน
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553)
วิชา พูลวรลักษณ์ Recovery Mission
สำหรับบริษัทในตลาดหุ้นแล้ว วลีที่บอกว่า "สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ" อาจมีความสำคัญน้อยกว่าวลี "วีรบุรุษตัวจริงจำเป็นต้องอยู่ในทุกสถานการณ์" โดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจผลิกผันจนเกินคาดเดา
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553)
"เวลา" สินทรัพย์มีค่าของวิชา
คงไม่ผิดนักที่จะเรียก "วิชา พูลวรลักษณ์" ว่าเป็นนักบริหารชั้นเซียน เพราะไม่ว่าสินทรัพย์ใดๆ เขาสามารถบริหารจัดการให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ ไม่เว้นแม้แต่ "สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน (intangible asset)" อย่างฐานลูกค้าที่เขายังสามารถเอาไปขายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเมเจอร์ฯ ได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550)
วิชา พูลวรลักษณ์ King of Entertainment & Lifestyle
การจะเป็นเบอร์หนึ่งในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งย่อมไม่ง่าย ทว่าสำหรับเบอร์หนึ่งในธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ไลฟ์สไตล์ ความง่ายคงไม่มี กว่าจะมีวันนี้ของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป แม่ทัพใหญ่อย่าง "วิชา พูลวรลักษณ์" ต้องทุ่มเททำงานหนักมาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี แต่เหนือสิ่งอื่นใด "สิ่งที่อยู่ภายในตัว" ทั้งหมดของชายคนนี้มากกว่าที่ทำให้เมเจอร์ฯ มาถึงจุดที่มีวันนี้
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2550)
รายได้เติบโต
แม้วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) จะเปิดเผยว่าคนไทยไม่ได้ดูหนังเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมามากนัก แต่ด้วยปัจจัยด้านบวกหลายประการทั้งในแง่ของภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะภาพยนตร์ไทย รวมถึงการขยายโรงภาพยนตร์ที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้รายได้และกำไรสุทธิของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ในไตรมาสแรกของปี 2550 นั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550)
เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ จับวินเซนต์ แวนโกะ มาฉายหนัง
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว วิชา พูลวรลักษณ์ พาเดินชมเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ปิ่นเกล้า โรงหนังมัลติเพล็กซ์ สแตนอโลน แห่งแรกของเขา ซึ่งสร้างบนพื้นที่ของห้างสรรพสินค้าเวลโก้ที่ถูกไฟไหม้ วันนั้นไม่มีใครมั่นใจว่าโรงหนังแบบนี้จะเติบโตได้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นคำตอบที่ชัดเจนแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2550)