เมื่อกรุงเทพฯ อายุ 300 ปี
นับจากวันที่เริ่มสร้างกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ.2325 มาถึงวันนี้ เมืองหลวงแห่งนี้มีอายุถึง 226 ปีแล้ว กรุงเทพฯ ก่อกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางไฟกรุ่นของสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่ยังคงดำเนินอยู่ไม่เสร็จสิ้น การวางแผนสร้างเมืองในช่วงเริ่มแรกจึงไม่ได้เกิดจากการคิดเพ้อฝันขึ้นมาลอยๆ หากทว่ามีแรงบันดาลใจจากอาณาจักรอยุธยาอันรุ่งเรืองมาก่อนหน้านี้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2552)
BABYMINE เล่าเรื่องผ่านความเงียบปนความว่าง
เมื่อพูดถึง "ละครใบ้" สำหรับคนที่ไม่เคยชมมาก่อน บางคนอาจนึกถึงภาพคนหน้าขาวทำท่าหุ่นยนต์อยู่ริมถนน บ้างก็คิดถึงโชว์ตลกโปกฮาที่ไม่ต้องมีบทพูด ดูไม่มีแก่นสาร และมักดูไม่รู้เรื่อง แต่หลังจากได้สัมผัสกับละครใบ้ของนักแสดงหนุ่มจากคณะ "BABYMIME" ความคิดเหล่านี้ของใครหลายคนอาจเปลี่ยนไป
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2552)
"ความไม่เที่ยง" แท้จริงแล้วเป็นโอกาส
พุทธศาสนิกชนต่างก็คุ้นเคยกับสัจธรรมที่ว่า "ใดๆ ในโลก ล้วนอนิจจัง" ทุกสรรพสิ่งในโลกหนีไม่พ้นกับดักเวลาที่ทำให้เกิดวัฏจักรของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่เพราะโหยหาความจีรัง "อจีรัง" จึงกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจของคนที่เห็นความงามบนความร่วงโรย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2552)
ความต่างของเวลาในโลกศิลปะ
หากเปรียบ "งานศิลปะ" คือหน้าต่างที่เปิดให้เห็นความศิวิไลซ์ของคนในชาติแล้ว งานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติก็คือหน้าต่างที่เผยถึงความก้าวหน้าของวงการศิลปะ ถ้าเช่นนั้นแล้วความศิวิไลซ์ของไทย ก็ได้ปรากฏต่อสายตาชาวโลกผ่านงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมากว่า 60 ปีแล้ว
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2551)
Order by Jude…เสพงานศิลป์บนรสชาติอาหาร
ปลายฝนต้นหนาวกำลังมาเยี่ยมเยือน ท้องฟ้าแจ่มใส หากได้ไปนอนกางเต็นท์อยู่บนยอดดอย ผมอาจมองเห็นวงแหวนดาวเสาร์ที่สวยงามและริ้วรอยความสุกสกาวของหมู่ดาวระยิบบนทางช้างเผือกก่อนแสงอรุณจะมาบดบัง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2551)
วินมอเตอร์ไซค์ หัวใจศิลปิน
หนุ่มผิวคล้ำวัย 33 ปี กำลังจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหวหุ่น "เจ้าเงาะ" หุ่นสายแบบ Rod Marionette ที่มีขนาดใหญ่เทอะทะ ให้ดูมีชีวิตชีวาและมีอารมณ์สนุกสนาน ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์เจ้าเงาะตามจินตนาการของผู้ที่กำลังให้ลมหายใจแก่หุ่นผิวดำด้านหน้า
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
หุ่นสายเสมา จิตวิญญาณไทยในศิลปะโลก
ชัยชนะบนเวทีหุ่นโลกเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยสำหรับคณะหุ่นสายเสมาของไทยในการไขว่คว้าให้ได้มา แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ยากกว่ากลับเป็นการให้ได้มาแค่การยอมรับจากคนไทย ถึงจิตวิญญาณคนไทยที่พวกเขาอุทิศไว้เพื่อรับใช้ศิลปะอันบริสุทธิ์...ที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งเชื้อชาติและชนชั้น
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
กว่าจะมาถึงวันนี้ของหอศิลปวัฒนธรรม กทม.
ศิลปะเป็นเรื่องของความงาม แต่เบื้องลึกของมันคือการเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของคนในสังคมร่วมกัน แต่สำหรับสังคมไทยแล้ว พลังแห่งศิลปะในแง่มุมนี้ดูจะอ่อนกำลังยิ่งนัก
(นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2551)
เทพเจ้าและสนิมสังคมในภาพเขียนกาลีกัต
ภาพเขียนกาลีกัตแม้จะมีต้นกำเนิดจากศิลปะพื้นบ้าน วาดโดยช่างฝีมือท้องถิ่น วางขายตามซอกซอยละแวกวัดกาลีกัต ทั้งสืบทอดฝีไม้ลายมืออยู่เพียงศตวรรษเศษ แต่ด้วยความที่มีเส้นสายเฉพาะตัว มีเรื่องราวที่เป็นดั่งกระจกสะท้อนสังคมของเมืองกัลกัตตาครั้งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ศิลปะข้างถนนที่เทียบค่าได้กับโปสต์การ์ดในปัจจุบัน จึงกลายเป็นของสะสมเป็นความภาคภูมิใจของเมือง ทั้งเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินรุ่นใหม่ อะไรคือเสน่ห์ในภาพเขียนเหล่านี้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2551)
Trompe l' Oeil "ศิลปะเพื่อธุรกิจ" ตลอดกาล
ศิลปะการวาดภาพเหมือน trompe l'oeil มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและสร้างความอัศจรรย์ใจในหมู่ผู้รักศิลปะแบบไม่เสื่อมคลายมาเป็นเวลากว่า 3,000 ปีแล้ว แถมยังอยู่ยงคงกระพันจนถึงทุกวันนี้ต่อเนื่องไปถึงอนาคตแบบปราศจากข้อกังขาและข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551)