ฮอนด้า มอเตอร์ยิ่งสูงยิ่งเหน็บหนาว
ความสำเร็จและเติบโตอย่างรวดเร็วของฮอนด้า จนกลายเป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์การพัฒนารถยนต์และจักรยานยนต์ในระยะเวลาเพียง
4 ทศวรรษเป็นเรื่องน่าทึ่งฉันใด ? ความสำเร็จของรถยนต์ฮอนด้าในตลาดรถยนต์เมืองไทยที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีแม้เป็นเรื่องเหลือเชื่อก็ต้องเชื่อกันไปแล้วจริง ๆ
(นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2532)
ศึกชิงตำแหน่ง "เจ้าถนน" ระอุอีกครั้ง
ตลาดรถยนต์นั่งนั้นตกอยู่ใต้ภาวะ "พักรบ" ติดต่อกันมานานหลายปี อันเนื่องมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยกำลังซื้อตก ถ้าจะยกเว้นกลุ่มฮอนด้าคาร์ที่เข็นแอคคอร์ดและซีวิคออกมาอย่างเกรียวกราวในช่วง 4-5 ปีที่แล้ว ก็แทบจะพูดได้เลยว่าทุกค่ายล้วนดำเนินกลยุทธ "พักรบ" ด้วยกันทั้งสิ้น
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2531)
พรมแดนสงคราม
จากข่าวของ THE ASIAN WALL STREET JOURNAL เมื่อพ่อค้าปลีกรถโตโยต้าในรัฐนอร์ทคาโรน่าจำนวนหนึ่ง ถูกจำกัดด้วยข้อตกลงในสัญญาค้าว่าด้วยการขายรถกับรัฐเพื่อนบ้านใกล้เคียงเช่นเวอร์จิเนีย ก็พากันไปตั้งเต๊นท์ขายรถลดราคาที่เขตพรมแดน ส่งเครื่องบินออกประกาศข่าวถึงพลเมืองข้ามรัฐ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531)
เบนซ์แวนที่ทำเอาไทยรุ่งฯ เสียววาบ !? !
ถ้าจะว่าไปแล้ว เบนซ์แวนกับสเตชั่นแวกอน ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างแนบแน่นอย่างนี้ไปได้ เรื่องของเบนซ์แวนเริ่มจากบริษัท DAIMLER-BENZ ในเยอรมันผลิตรถเบนซ์แวนรุ่น 300 TD ออกมา 500 คัน และจะขายในราคาถูกเป็นพิเศษเป็นชุดสุดท้ายก่อนทิ้งโมเดลชุดนี้ไป
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2531)
กรรณสูต เจนเนอรัลแอสเซมบลี จวบจนถึงจุดอวสานก็ยังดูไม่จืด
ก่อนถึงจุดอวสานของ บริษัท กรรณสูต เจนเนอรัล แอสเซมบลี จำกัด มีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นตัวบ่งบอกสาเหตุแห่งความล้มเหลว สิ่งเหล่านั้นได้ถูกบันทึกไว้ในตำนานของบริษัทเอง ถูกสะสมมาหลายปี และเมื่อแก้ไขกันด้วยการที่ต่างคนต่างคิดว่าความคิดตัวเองเท่านั้นที่เลอเลิศ
(นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2530)
นิวเอร่าจะขึ้นยุคใหม่อีกหรือไม่เมื่ออารี สันติพงษ์ชัย ถอนตัว
"เรื่องหุ้นในนิวเอร่าตอนนี้กำลังเจรจาถอนหุ้นอยู่...ถ้าเราไม่มีส่วนในการตัดสินใจแล้วก็ควรให้โอกาสคนอื่นบ้าง"
อารี สันติพงษ์ชัย กล่าวภายหลังการวางมือจากตำแหน่งกรรมการบริหารฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์บริษัทนิวเอร่า
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2529)
กรณีศึกษา ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
ตามหลักศีลธรรมแล้ว ผู้ผลิตควรจะมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ในกรณีที่สินค้าของตนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคและในทางกฎหมายผู้บริโภคก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ผลิตได้ถ้าหากได้รับอันตรายจาการบริโภคสินค้านั้น ผู้ผลิตไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่จะเลี่ยงความรับผิดชอบได้เลยแม้ว่าบางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเหตุสุดวิสัยก็ตาม ความรับผิดชอบที่พูดถึงในที่นี้ หมายถึงความรับผิดชอบในแง่ของการชดเชยค่าเสียหาย แต่ไม่ได้หมายถึงความรับผิดชอบที่ผู้บริโภคจะสามารถฟ้องร้องเอาความผิดทางอาชญากรรมแก่ผู้ผลิตได้
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2528)
โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลรถปิกอัพต้องชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสียให้รอบคอบ
โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถปิกอัพเป็นโครงการที่มีข้อดีตรงที่ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโลหการของไทย
แต่มันเหมาะสมแล้วหรือที่คนไทยอาจจะต้องซื้อรถปิกอัพใช้ในราคาที่สูงขึ้นอย่างน้อย
10-20% จากต้นทุนของเครื่องยนต์ดีเซล "เมดอินไทยแลนด์"
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2528)
เงื่อนไขการส่งเสริมของ บีโอไอ
การให้การส่งเสริมการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กหรือที่เรียกกันตามภาษาตลาดว่า
"รถปิกอัพ" นั้น บีโอไอหรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2528)