ยอดขายรถยนต์ขยายตัวเกินคาด
แม้จะต้องเผชิญกับวิกฤติความรุนแรงทางการเมืองภายในประเทศ และปัญหาเศรษฐกิจในต่างประเทศจากวิกฤติหนี้ในกลุ่มยูโรโซนและมาตรการชะลอความร้อนแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน แต่ยอดการจำหน่ายรถยนต์ทั้งภายในประเทศและส่งออกในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สามารถขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกินระดับที่ผู้ประกอบการเคยคาดการณ์ไว้
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553)
รู้จัก Volvo... รู้จัก Geely... รู้จัก “หลี่ ซูฝู”
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2553 ณ เมืองโกเตนเบิร์ก ประเทศสวีเดน และแล้วข่าวลือชิ้นใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีของแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์จีนก็กลายเป็นความจริง หลังเสร็จสิ้นการลงนามในสัญญาซื้อขายกิจการมูลค่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 59,000 ล้านบาท) เลวิส บูท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (CFO) ของบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ ก็เข้าสวมกอดกับชายชาวจีนวัยกลางคน ประธานกรรมการบริหารของกลุ่มบริษัทเจ้อเจียง จี๋ลี่ โฮลดิ้ง ที่ชื่อ "หลี่ ซูฝู (Li Shufu)"
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553)
ตลาดรถยนต์ไทยฟื้นตัว?
ยอดการจองรถยนต์ที่มีมากถึงกว่า 25,000 คัน ในงาน Motor Expo ที่ผ่านมา อาจได้รับการตีความหรือให้ความหมายไปอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นดัชนีชี้วัดสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นของภาพรวมทางเศรษฐกิจ หากแต่อีกด้านหนึ่ง ตลาดรถยนต์ภายในประเทศกำลังฟื้นตัวขึ้นจริงหรือไม่และมีแนวโน้มอย่างไรเป็นกรณีน่าสนใจไม่น้อย
(นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2553)
ตลาดรถยนต์...ตื่น
ผลพวงของภาวะเศรษฐกิจซบเซาและสถานการณ์การเมืองที่ยังขาดความชัดเจน อาจส่งผลให้ภาคธุรกิจหลากหลายแขนงต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน แต่สำหรับตลาดรถยนต์ในประเทศไทย ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการแต่ละรายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ว่านี้นานนัก
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2551)
New kids on the road
แม้ส่วนต่างการขายรถยนต์หนึ่งคันจะลดลงจาก 20% เป็น 5% แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยกลับมีผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นหลายราย ไม่ว่าจะเป็นทาทา มอเตอร์ส บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่แห่งอินเดีย ซึ่งเข้ามาเปิดสายการผลิตในเมืองไทยผ่านการร่วมทุนกับกลุ่มธนบุรีประกอบรถยนต์
(นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2551)
กิจกรรมเพื่อสังคมของฮอนด้า Together for Tomorrow
"DREAM" คำเดียวสั้นๆ ของโซชิอิโร ฮอนด้า บ่งบอกถึงแรงบันดาลใจอันเป็นฝันอันยิ่งใหญ่ (The Power of Dreams) ที่มีพลังขับเคลื่อนจินตนาการให้กลายเป็นจริงได้ โดยปรากฏความหมายสำคัญเป็น the top company of mobilities ของนวัตกรรมยานยนต์หลากหลายภายใต้แบรนด์ Honda
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2551)
โปรตอน ลุยตลาด ECO car
ตั้งท่ารีรอมานาน สุดท้ายรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย โปรตอน ก็ตัดสินใจขอเข้าร่วมศึกรถยนต์ในบ้านเราอย่างเต็มตัวเสียที อย่างน้อยก็ทำให้รู้สึกว่าคนซื้อรถมีทางเลือกมากขึ้น แต่เลือกที่จะดู หรือเลือกที่จะซื้อก็ต้องดูกันต่อไป
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
ความบังเอิญที่น่ากลัว
เข้ามารับตำแหน่งได้ประมาณ 4 เดือน สำหรับประธานบริษัทฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) คนใหม่ เคนจิ โอตะกะ ก็ได้เวลาแนะนำตัวและกำหนดทิศทางนโยบายการทำงานของฮอนด้าในยุคของเขาว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
(นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2550)
Eco-car เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมจริงหรือ?
"นโยบาย Eco-car คลอดออกมาแล้ว สร้างความฮือฮามิใช่น้อยให้กับวงการรถยนต์บ้านเรา กระทรวงอุตสาหกรรมตั้งข้อกำหนดให้ Eco-car มีคุณสมบัติในการใช้น้ำมันไม่เกิน 5 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร (หรือ 20 กม. ต่อลิตร) มีการปล่อยไอเสียให้ได้ตามข้อกำหนดของ Euro 4 และมีมาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานของ EU..."
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550)
Captiva กับงานเปิดตัวที่แพงที่สุด
ถ้าจะนับค่ายรถที่มีสีสันตื่นตาตื่นใจ มีลูกเล่นแปลกๆ ใหม่ๆ ให้เห็นอยู่เป็นระยะ ต้องยกให้ค่ายรถจากฝั่งยุโรป อเมริกา ที่รู้ตัวเองดีว่าตกเป็นรองรถจากค่ายญี่ปุ่น จึงต้องหาทางสอดแทรกและช่วงชิงตำแหน่งในใจของผู้บริโภคให้ได้ แต่จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2550)